วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ปลากับคน

สัญชาติญาณการเอาตัวรอดคือคุณสมบัติพื้นฐานของชีวิต ทั้งพืช-สัตว์ต่างมีวิธีการเอาตัวรอดเพื่อให้ตัวเองยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ อาจเหมือนกันบ้าง คล้ายกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมแล้วทั้งพืช-สัตว์ทุกชนิดจะมีมัน
เช่นเดียวกันกับปลา
ความสามารถในการดมกลิ่นเป็นหนึ่งอย่างในความพิเศษของสัตว์จำพวกนี้
ปลาแซลมอน สามารถจับกลิ่นในความเจือจางถึงหนึ่งต่อแปดพันล้านส่วน (หรือน้อยกว่าเศษหนึ่งส่วนสองร้อยหยดต่อน้ำ 23000 แกลลอน)
ฉลามสามารถสัมผัสกลิ่นเลือดได้ด้วยความเจือจางหนึ่งต่อร้อยล้านส่วน
คุณสมบัติการดมที่ดีของปลาบางชนิด ยังพัฒนาต่อจนสามารถแยกเยอะกลิ่นใดได้ว่า กลิ่นใดเป็นมิตรกลิ่นใดเป็นศัตรู ดังนี้ถ้ามีกลิ่นที่มันไม่พึงประสงค์มันจะไม่เข้าใกล้เป็นอันขาด
จากการทดลองที่สร้างทางน้ำสองสายให้ปลาแซลมอลเลือกว่ายไปทางใดก็ได้ ในครั้งแรกปลาเลือกใช้ทางทั้งสองเส้น แต่พอเอาอุ้งตีนหมีซึ่งเป็นศัตรูของมันหย่อนลงไปในช่องน้ำช่องหนึ่ง ปลาทั้งฝูงก็จะหันไปใช้ทางอน้ำอีกช่องหนึ่งทันที
คุณสมบัติอีกประการที่น่าสนใจคือ การฟังที่ยอดเยี่ยม ปลาไม่มีหู แต่มีอวัยวะสำหรับฟังอยู่ในหัว เสียงจะถูกส่งผ่านน้ำไปที่ผิวหนังและกระดูก อ่อนจะเข้าสู่หูภายในโดยตรง (ปลาบางพันธุ์อาศัยถุงรับลมรับแรงสั่นสะเทือน จากนั้นส่งสัญญาณไปยังหู)
อวัยวะอีกอย่างที่ช่วยปลาในการจับเสียง คือสิ่งที่เรียกว่า “เส้นข้างลำตัว” เส้นข้างลำตัวนี้จะจับเสียงได้ในระยะประมาณ 20-50 ฟุต ทั้งยังสามารถกำหนดจุดได้ว่าที่ใดเป็นแหล่งที่มาของเสียง
คุณสมบัติ ทั้งการดมกลิ่น และการรับฟัง แม้จะยอดเยี่ยม แต่บางคราวก็เป็นดาบสองคม เพราะนักตกปลาที่ทราบดีจะใช้คุณสมบัตินี้ย้อนรอยมัน เช่น ทำให้เกิดเสียงที่มันพึงประสงค์ หรือทำให้เกิดกลิ่นที่มันพึงประสงค์จนมันเข้ามาใกล้ ๆ ก่อนจะถูกจับไปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
บ่อยครั้งชีวิตมนุษย์ก็ไม่ต่างจากปลาสักเท่าไร เพราะบางทีก็ถูกกลิ่นและเสียงที่พึงประสงค์นำพาไปสู่การติดเบ็ด

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการโจโฉ (ย่อ)

โจโฉยังแค้นเล่าปี่และม้าเท้งอยู่ เมื่อครั้งที่เคยลงชื่อกำจัดตนร่วมกับขุนนางคนอื่น แต่ด้วยเมืองเสเหลียงมีกำลังทหารแข็งแกร่งยากแก่การปราบปราบโดยง่าย ดังนั้นโจโฉจึงยกทัพไปตีเมืองชีจิ๋วของเล่าปี่แทน
เล่าปี่กับเตียวหุยอยู่เมืองเสียวพ่าย เมื่อทราบข่าวโจโฉยกมาบุก นำกำลังออกไปรบแต่ปรากฏว่าแตกทัพ เล่าปี่หนีไปหาอ้วนเสี้ยว ฝ่ายเตียวหุยนำทหารที่เหลือตีฝ่าออกมา
เมื่อครั้งรวมกำลัง 17 หัวเมืองต่อสู้ตั๋งโต๊ะ กวนอูได้แสดงฝีมือเอาชนะนายทัพคนหนึ่ง(ฮัว- หยง) โจโฉรู้สึกพอใจกวนอูเป็นอันมาก ครานี้มีโอกาส สั่งเตียวเลี้ยวไปเกลี่ยกล่อมกวนอู(ใช้อุบายล่อกวนอูออกมาและยึดเมืองแห้ฝือ) กวนอูตรึกตรองผลดี-เสีย ที่เตี้ยวเลี้ยวชี้แจง เห็นว่ามีเหตุผล แต่ขอคำสัญญาไว้สามประการ
๑.ขอเป็นข้าพระเจ้าเหี้ยนเต้
๒.ขออยู่ดูแลพี่สะใภ้
๓.เมื่อรู้ว่าเล่าปี่อยู่ที่ใดจะไปหาทันที
ฝ่ายโจโฉลังเลแต่สุดท้ายยอมรับเงื่อนไขทั้งหมด
โจโฉทำนุบำรุงดูแลกวนอูไม่ได้ขาด ให้ทั้งเงินทอง เสื้อผ้า ม้า(เซ๊กเธาว์) ฯลฯ แต่กวนอูคงแสดงความซื่อสัตย์ที่ตนมีต่อเล่าปี่เสมอ
ที่ปรึกษาคนหนึ่งชื่อซุนฮกออกอุบาย ด้วยกวนอูเป็นผู้รู้คุณคน ต้องตอบแทนน้ำใจก่อนจากไปเป็นแน่ เช่นนั้นหากมีกิจอันใดจงอย่าให้กวนอูอาสา
ครั้งหนึ่งอ้วนเสี้ยวยกทัพไปตีโจโฉที่ฮูโต๋ เล่าปี่มาด้วย กวนอูขออาสาออกรบ โจโฉไม่ยินยอม แต่เมื่อแม่ทัพฝ่ายตนพ่ายแพ้ กวนอูจึงออกไป ฆ่างันเหลียง และบุนทิวตาย
อ้วนเสี้ยวรู้ว่ากวนอูเป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเล่าปี่ก็โกรธ แต่เล่าปี่อธิบายเหตุผลจนอ้วนเสี้ยวเปลี่ยนใจ
ต่อมาเกิดโจรร้ายที่เมืองยีหลำ กวนอูอาสาไปปราบ และได้พบกับซุนเขียนคนสนิทของเล่าปี่ ซุนเขียนเล่าว่าเมื่อเล่าปี่แตกทัพ ได้ไปอยู่อาศัยกับอ้วนเสี้ยวที่กิจิ๋ว
เมื่อเสร็จกิจกลับไปหาโจโฉเพื่อบอกลา แต่โจโฉแสร้างเป็นป่วย กวนอูเขียนจดหมายอำลา ก่อนพาพี่สะใภ้ทั้งสองเดินทางไปหาเล่าปี่ นายด่านหลายคนไม่ทราบ ขัดขวางกวนอู กวนอูจำต้องสังหารทหารและนายทัพไปจำนวนหนึ่ง
ฝ่ายเตียวหุยอยู่เมืองเก๋าเซีย กวนอูทราบข่าวก็ยินดีเป็นอันมาก ในตอนแรกเตียวหุยเข้าใจผิดคิดว่ากวนอูเข้าด้วยกับโจโฉ แต่เมื่อรู้ความจริงจึงยกทหารไปต้อนรับ
เล่าปี่คราดกับกวนอูไป-มาหอยู่หลายครั้ง เมื่อรู้ว่าอยู่เมืองเก๋าเซีย ออกอุบายบอกแก่อ้วนเสี้ยวจะไปเกลี้ยกล่อมเล่าเปียวเจ้าเมืองเกงจิ๋วมาเป็นพวก แต่แท้จริงกลับเดินทางไปกวนอู
แต่เมืองเก๋าเซียเป็นเมืองจัตวา ไม่เหมาะเป็นที่ตั้งมัน ทั้งหมดจึงพากันไปอยู่เมืองยีหลำ

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ดาวพลูโต

พลูโต
อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เกือบ 7000 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบถึง 248 ปี มีขนาด 2390 กิโลเมตร อุณหภูมิอยู่ระหว่าง- 23 5 ถึง –213 พื้นผิวประกอบด้วยไนโตรเจนแข็งและมีเทนแข็ง และมีโครงสร้างภายในที่เป็นหิน 70 และเป็นน้ำแข็ง 30 เปอร์เซ็น
ดวงจันทร์ของดาวพลูโต
แครอน มีขนาดครึ่งหนึ่งของดาวพลูโต

ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน
อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 4500 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลยาวนาวถึง 165 ปี มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50000 กิโลเมตร ลักษณะโครงสร้างภายคล้ายกับยูเรนัส
นักดาราศาสตร์เชื่อว่าแกนกลางของดาวคือแกนแข็ง ที่ประกอบด้วยเหล็กและซิลิคอนเป็นส่วนใหญ่
การที่ดาวเนปจูนมีลักษณะที่เห็นได้ชัดในบรรยากาศทำให้สามารถวัดความเร็วลมได้ และพบว่าเป็นดาวที่มีลมพัดเร็วที่สุด คือ 2000 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ดาวเนปจูนแผ่ความร้อนออกมาจากภายในตัวดาวถึง 2.6 เท่าของพลังงานความร้อนที่รับจากดวงอาทิตย์ การค้นพบนี้ทำใดต้องทบทวนแนวคิดที่ใช้อธิบายโครงสร้างของดาวใหม่ รวมถึงเหตุใดที่ดาวยูเรนัสจึงแทบจะไม่แผ่ความร้อนออกมาเลย ทั้งๆที่ควรจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน
มีวงแหวน 4 วงที่จางมาก วงที่กว้างที่สุดมีความกว้างประมาณ 5800 กิโลเมตร แต่หนาเพียง 10 เซนติเมตร
สนามแม่เหล็กเบาบาง และมีลักษณะคล้ายกับดาวยูเรนัส 2 ประการคือ มุมของแกนแม่เหล็กทำมุมกว้างมากกับแกนของดาว และสนามแม่เหล็กไม่ได้เกินขึ้นจากแกนกลาง
ดวงจันทร์ของดาวเนปจูน
มีดวงจันทร์ที่รู้จักกันแล้ว 11 ดวง ในจำนวนนี้ตั้งชื่อแล้ว 8 ดวง ส่วนดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุด 5 ดวงแรกคือ ไทรตัน โปรทีอุส เนอร์ริด ลาร์ริซา และกาลาเทีย ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 2700 กิโลเมตร
ไทรตัน มีขนาด 2700 กิโลเมตร และโคจรอยู่ห่างจากดาว ประมาณ 354760 มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาร –235 องศาเซลเซียส มีหุบเหวและร่องลึกมากมาย สันนิษฐานว่าเกิดจากการแข็งตัว และละลายของน้ำแข็งกลับไปกลับมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แต่ลักษณะที่ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องตะลึงคือ ภูเขาไฟน้ำแข็ง ที่พ่นไนโตนเจนเหลว มีเทนแข็ง และฝุ่นที่เย็นจัดขึ้นไปกว่า 8 กิโลเมตรและกระจายไปไกลถึง 140 กิโลเมตร

ดาวยูเรนัส

ยูเรนัส
มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ใน 3 ของดาวพฤหัสบดี โคจรอยู่ห่างจากตัวอาทิตย์เกือบ 3 พันล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจร 84 ปี ลักษณะการโคจร(ตะแคงข้าง)ส่งผลให้ฤดูกาลยาวนานมาก ซีกหนึ่งของดาวจะอยู่ในฤดูหนาวนาน ถึง 42 ปี และอีกซีกหนึ่งจะอยู่ในฤดูร้อน 42 ปีแต่ด้วยอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก อุณหภูมิจึงต่างกันเพียง 2 องศาเซลเซียส
โครงสร้างภายในของดาวยูเรนัส
บรรยากาศชั้นนอกประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่ แต่นักดาราศาสตร์เชื่อว่าโครงสร้างภายในจะต้องประกอบด้วยแอมโมเนียและมีเทน เพราะหากประกอบด้วยไฮโดรเจนหรือฮีเลียมแล้ว มวลของดาวจะต้องน้อยกว่านี้
มีสนามแม่เหล็กเบาบาง แต่ไม่ได้เกิดจากแกนกลาง แต่อยู่เหนือขึ้นไปประมาณ 10000 กิโลเมตร

วงแหวนของดาวยูเรนัส
วงแหวนส่วนใหญ่มีความกว้างไม่เกิน 10 กิโลเมตร และหนา 300-500 เมตร และประมาณกันว่าวัตถุที่ประกอบกันเป็นวงแหวนน่าจะมีขนาดไม่เกิน 10 เมตร
ดวงจันทร์ของดาวยูเรนัส
มีที่รู้จักกันแล้ว 21 ดวง (สิงหาคม 2003) ในจำนวนนี้มีดวงจันทร์ 5 ดวงหลักที่มีรัศมีมากกว่า 200 กิโลเมตร คือ ไททาเนีย โอบีรอน อัมเบรียล แอเรียล และมิแรนดา

ดาวเสาร์

ดาวเสาร์
เป็นดาวเคราะห์ก๊าซ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 10 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์(ล้านกิโลเมตร) องค์ประกอบหลังคือ ไฮโดรเจน และฮีเลียม (75 และ 25 เปอร์เซ็น) ดาวเสาร์มีความหนานแน่นเฉลี่ยทั้งดวงต่ำที่สุดในระบบสุริยะคือ 0.7 กรัม/ลบ.ซม. (นั่นคือดาวเสาร์สามารถลอยน้ำได้หากมีอ่างน้ำใหญ่พอที่จะลอย)
ใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 10.7 และใช้เวลาโคจรรอบด้วยอาทิตย์ 29.5 ปี
บรรยากาศของดาวเสาร์
นักดาราเชื่อว่าศูนย์กลางของดาว เป็น แกนที่เป็นหินโลหะ ซึ่งแกนชั้นในเป็น แอมโมเนีย มีเทนและน้ำมีความดันหลาย 10 ล้านบาร์ ถัดมาจากคือชั้นโลหะไฮโดรเจน และถัดจากนั้นจึงเป็นชั้นไฮโดรเจนเหลว และบรรยากาศชั้นนอก
ดาวเสาร์มีสนามแม่เหล็กมากกว่าโลกถึงพัน เท่าจึงมีปรากฏการณ์แสงเหนือใต้เช่นเดียวกัน
วงแหวนของดาวเสาร์
แท้จริงนั่นวงแหวนของดาวเสาร์เบาบางมาก คือ มีหนาวหนาเฉลี่ยประมาณ 500 เมตรเท่านั้น แต่เพราะเศษวัตถุที่ประกอบกันเป็นวงแหวนสามารถสะท้อนแสงได้ดีและมีความกว้างรวม 80000 กิโลเมตร
นักดาราศาสตร์เชื่อวงแหวนของดาว เกิดจากดาวเคราะห์น้อย หรือดวงจันทร์ที่โคจรเข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปทำให้ถูกแรงไทดัล ฉีกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ชั้นของวงแหวน และช่องว่าง(ลำดับอักษรจากในสุด)
วงแหวน ดี
วงแหวน ซี มีความกว้าง 17500 กิโลเมตร
วงแหวน บี เป็นวงแหวนที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีความกว้าง 25500 กิโลเมตร เศษวัตถุที่อยู่ในวงแหวนมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าชั้นอื่นๆ คือ ประมาณ 1-10 เมตร
ช่องแคสสินี เป็นช่องระหว่างวงแหวนบี และวงแหวนเอ ขนาด 4200 กิโลเมตร
วงแหวนเอ เป็นวงแหวนที่มีความสว่าง แต่ยังน้อยกว่าชั้นบี
ช่องเองเก้ เป็นช่องว่งความกว้าง 325 กิโลเมตร ที่บริเวณขอบนอกของวงแหวนเอ
วงแหวนเอฟ จีและอี เป็นวงแหวนชั้นนอกที่จางจนแทบไม่สามารถสังเกตได้ ทั้งสามมีความกว้างรวมกว่า 308000 และหนาน 100-1000 กิโลเมตร แต่ด้วยอนุภาคที่เล็กเบาบางและสะท้อนแสงน้อยมาก
ดวงจันทร์ของดาวเสาร์
มีดาวจันทร์ที่รู้จักแล้ว 31 ดวง (มีนาคม ค.ศ.2004)ตั้งชื่อแล้ว 18 ดวง
ไททัน มีขนาด 5150 กิโลเมตร โคจรอยู่ห่างเฉลี่ย 1221830 กิโลเมตร เป็นดวงจันทร์ดวงเดียวที่มีบรรยากาศหนาแน่น องค์ประกอบมีก๊าซไนโตรเจน เป็นส่วนใหญ่ นักดาราเชื่อว่าเบื้องล่างของชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นเป็น มหาสมุทร
เรีย ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากไททัน สั้นผ่านศูนย์กลาง 1530 โคจรอยู่ห่างเฉลี่ย 527040 กิโลเมตร
ไอแอพพิทัส มีขนาด 1460 อยู่ห่างประมาณ 3561300 กิโลเมตร
ไอโอนี มีขนาด 1120 กิโลเมตร อยู่ห่าง 377400
ทีดิส มีขนาดประมาณ 1060 กิโลเมตร อยู่ห่างเฉลี่ย 294660

ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดี
เป็นดาวเคราะห์ก๊าซอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 5.2 หน่วยดาราศาสตร์ (777 ล้านกิโลเมตร)
* 1 หน่วยดาราศาสตร์คือระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ มีค่า 149597870 กิโลเมตร
บรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม เป็นส่วนใหญ่ (75 และ 25 เปอร์เซ็น)นอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียมแล้ว บรรยากาศของดาวพฤหัสบดียังมี มีเทน แอมโมเนีย ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ดาวพฤหัสบดีปรากฏมีสีแดงเรื่อๆในบริวเณต่างๆ บรรยากาศของดาวเต็มไปด้วยลมแรงทั้งดวง หลายบริเวณมีความเร็วสูงถึง 650 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเกิดจากที่ดาวพฤหัสบดีใช้เวลาหมุนรอบตัวเองเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น
โครงสร้างภายในดาวพฤหัสบดี
ที่ความลึก 14000 กิโลเมตร ก๊าซจะมีความดัน 2 ล้านบรรยากาศ (บาร์) อุณหภูมิ 5000 เคลวินและมีความหนาแน่น 1 กรัม/ลบ.ซม. ที่สภาวะนี้ไฮโดรเจนจะอยู่ในสถานะ โลหะไฮโดรเจน ชั้นนี้มีความหนาประมาณ 45000 กิโลเมตร
* โลหะไฮโดรเจน คือ สถานะที่อะตอมต่างๆในเนื้อสารจะแบ่งปันอิเล็กตรอนร่วมกันคล้ายกับโลหะ
ที่แกนกลาง(ล่างของชั้นโลหะไฮโดรเจน)ประกอบด้วย หิน เหล็ก และสารประกอบไฮโดรเจน มีขนาดมีความดัน 100 ล้านบาร์ ความหนาแน่นของก๊าซประมาณ 25กรัม/ลบ.ซม. (มากกว่าทองคำขาวที่เป็นโลหะที่หนาแน่นที่สุดในโลก) และมีอุณหภูมิสูงถึง 20000 เคลวิน
*เราอาจมองดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวเคราะห์ก๊าซเป็นดาวเคาระห์แข็งซึ่งมีบรรยากาศหนามากก็ได้
ความแปรปรวนและปรากฏการณ์ต่างๆ ในบรรยากาศของดาวได้รับพลังงานมาจากแหล่งความร้อนภายใน นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเกิดจาการที่ดาวพฤหัสบดียุบตัวลงเรื่อยๆ พลังงานศักย์ของเนื้อสารจึงเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนภายใน และแผ่ออกสู่บรรยากาศ
ดาวพฤหัสบดีมีสนามแม่เหล็กเช่นเดียวกับโลก แต่มีความเข้มข้นสูงกว่า 19000 เท่า สนามแม่เหล็กนี้ช่วยปกป้องดาวและบริวารที่อยู่ใกล้ทั้งหมดจากลมสุริยะและอนุภาคพลังงานสูง ลมสุริยะจะเป่าให้ ฟอง แม่เหล็กของดาวพฤหัสบดียืนออกไปไกลกว่า 650 ล้านกิโลเมตร สำหรับด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กถูกลมสุริยะพัดอย่างรุนแรงจึงมีความหนาเพียงไม่กี่ล้านกิโลเมตร สนามแม่เหล็กจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ แสงเหนือแสงใต้ เช่นเดียวกับโลกแต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์จะปะทะเข้ากับแนวเส้นแรงเหล็กของดาว และถูกพาให้ไหลมาตามเส้นแรงเหล็กและเข้าสู่บรรยากาศ จนอะตอมของก๊าซเรืองแสงขึ้น
ดาวพฤหัสบดีมีวงแหนบางๆที่ประกอบด้วยฝุ่น วงแหวนมีความหนาเฉลี่ยน้อยกว่า 10 เซนติเมตรจึงจางมากจนแทบสังเกตไม่ได้จากโลก
วงแหวนหลักอยู่ที่ระยะ 123000-129000 กิโลเมตรมีความกว้างประมาณ 6400 กิโลเมตร จาการศึกษาชี้ให้เห็นว่า อนุภาคขนาดเล็กและฝุ่นผงที่ประกอบกันเป็นวงแหวนจะตกลงสู่ดาวเรื่อยๆ แต่อนุภาคเหล่านี้ก็ไม่หมดไปเพราะฝุ่นที่เกิดจากการชนของอุกกาบาตขนาดเล็กกับดวงจันทร์ชั้นในของดาวจะ เติม วงแหวนอยู่เรื่อยเช่นกัน
ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
มีดวงจันทร์ที่นักดาราศาสตร์รู้จักแล้ว 61 ดวง (สิงหาคม ค.ศ. 2003) ตั้งชื่อแล้ว 27 ดวง
ไอโอ อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีประมาณ 420000 กิโลเมตร เป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียวที่มีภูเขาไฟระเบิดจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ ภายในยังมีความร้อยอยู่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3630 กิโลเมตร สาเหตุที่ภายในของยังร้อนอยู่เพราะกลไกความร้อนไทดอล ซึ่งเกิดจากแรงไทดอล อันมหาศาลของดาวพฤหัสบดีที่บิดไอโอเปลี่ยนรูปไปมาได้ถึง 100 เมตรตลอดเวลาที่ดาวโคจร การเสียดสีจากการเปลี่ยนรูปทำให้ไอโอยังคงร้อนอยู่ คล้ายกับการผิดลวดไปมาซึ่งจะร้อนขึ้น จุดที่ร้อนที่สุดของดาวมีอุณหภูมิ 2000 เคลวิน และเย็นที่สุด คือ 130 เคลวิน
*แรงไทดอล คือ แรงเสมือนที่เกิดจากความต่างของแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อบริเวณต่าง ของวัตถุไม่เท่าเทียมกัน
ยุโรปา อยู่ห่างประมาณ 68000 กิโลเมตร มีขนาด 3138 กิโลเมตร มีพื้นผิวเป็นน้ำแข็งเรียบ มีเนินเขาไม่สูงนักและหลุมอุกาบาตเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวเป็นพื้นที่ค่อยข้างใหม่ และยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่จนถึงทุกวันนี้เชื่อกันว่าภายใต้ชั้นน้ำแข็ง คือมหาสมุทรที่ลึกถึง 100 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ได้ด้วยความร้อนจากกลไกไทดอล
แกนีมีด เป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีประมาณ 1 ล้านกิโลเมตร มีขนาด 5262 กิโลเมตร พื้นผิวเย็นตัวลงบ้างแล้ว เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต และมีสนามแม่เหล็กอยู่แต่เบาบางมาก
คัลลิสโต อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดี 1.9 ล้านกิโลเมตร มีขนาด 4800 กิโลเมตร มีลักษณะคล้ายแกนีมีด แต่ยังมีปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาหลงเหลืออยู่มากกว่า

ดาวอังคาร

ดาวอังคาร
เป็นดาวเคราะห์สีแดง ใช้เวลาหมุนรอบตัวเองประมาณ 24.7 ชั่วโมง และโคจรรอบด้วยอาทิตย์ประมาณ 687 วัน
มีบรรยากาศหนาแน่นไม่ถึง 1 ใน 100 ของบรรยากาศโลก บรรยากาศประกอบด้วยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ จึงสร้างสภาพเรือนกระจกที่ทำให้พื้นดาวร้อนขึ้นประมาณ 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกว้างมาก คือตั้งแต่ 140 ไปจนถึง 303 เคลวิน แต่โดยเฉลี่ยแล้วคือ 218 เคลวิน
ภูมิประเทศของดาวอังคาร
เต็มไปด้วยร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาทุกรูปแบบ
โอลิมปัส มอนส์ เป็นภูเขาไฟที่สูงและมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีความสูงถึง 26000 เมตร จากระดับผิวดาวอังคาร กว้าง 650
ทางตอนใต้เป็นแอ่งขนาดใหญ่จากอุกกาบาต ส่วนทางตอนเหนือของดาวมีลักษณะเป็นที่ราบต่ำ
น้ำบนดาวอังคาร
ดาวอังคารมีร่องรอยการกัดเซาะและการไหลของน้ำปรากฏอยู่ทั้งดวง ทั้งนี้ด้วยเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อประมาณ 3.5 พันล้านปีมาแล้ว
ดวงจันทร์ของดาวอังคาร
มีสองดวงคือ โฟบัส และ ดีมอส ทั้งสองดวงไม่ได้เป็นวัตถุทรงกลม แต่เป็นดาวเคราะห์น้อยรูปร่างบูดเบี้ยวที่ถูกแรงดึงดูดของดาวอังคารจับเข้ามาเป็นบริวาร ประกอบด้วยน้ำแข็งและหินที่มีธาตุคาร์บอน พื้นผิวคล้ายกันคือมีหลุมอุกกาบาต

ดาวศุกร์

ดาวศุกร์
เป็นดาวที่สุกสว่างที่สุดบนท้องฟ้า ผู้คนสมัยโบราณเชื่อว่าเป็นเทพธิดาแห่งความงาม หากปรากฏขึ้นในเวลาเช้า เรียกว่า ดาวประกายพรึก และเรียก ว่าดาวประจำเมือง เมืองปรากฏในเวลาพลบค่ำ
ระยะห่างเฉลี่ยในการโคจรคือ 110 ล้านกิโลเมตรจากดวงอาทิตย์ ใช้เวลาประมาณ 224 วันของโลก แต่ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองถึง 243 วัน และยังหมุนตามเข็มนาฬิกาซึ่งต่างจากดาวดวงอื่นๆ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า สาเหตุที่แกนเอียงไปจนเกือบกลับหัวจนทำให้หมุนกลับข้าง น่าจะมาจากการชนของดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในช่วงที่ระบบสุริยะยังมีอายุน้อย
มีคำกล่าวว่าดาวศุกร์เป็น ดาวน้องสาวของโลก เนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพหลายประการที่คล้ายกัน ขนาดและมวลน้อยกว่าโลกเพียงเล็กน้อยและยังมีวงโคจรอยู่ใกล้โลกมากคือ 40 ล้านกิโลเมตร นอกจากนี้พื้นผิวยังมีภูเขาไฟระเบิด และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกดาว ต่างจากดาวเคราะห์แข็งดวงอื่นๆ
ดาวศุกร์แทบไม่มีสนามแม่เหล็กอยู่เลย สาเหตุคาดว่าน่าจะมาจาการที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองช้ามาก ผลอีกประการหนึ่งคือ พื้นผิวมีลมพัดเพียงเอื่อยๆเท่านั้น ทำให้พื้นผิวดาวยิ่งร้อนขึ้นไปอีก
บรรยากาศของดาวศุกร์
ชั้นบรรยากาศประกอบด้วยเมฆหนาทึบ สามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ได้เป็นอย่างดี พื้นผิวมีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ คือ 737 เคลวิน ซึ่งร้อนพอที่จะหลอมตะกั่วได้ และมีความดันสูงถึง 92 เท่าของความดันบรรยากาศโลก เทียบได้กับความดันของน้ำใต้ทะเลลึก 900 เมตร
ชั้นของเมฆประกอบด้วยกำมะถัน จากการระเบิดของภูเขาไฟ และหยดน้ำซึ่งกลั่นตัวได้ในบรรยากาศชั้นบนของดาวที่เย็นกว่าบริเวณพื้นผิวมาก กรดกำมะถันและหยดน้ำจะรวมตัวกันเป็นฝนกรดตกลงมา แต่ฝนกรดเหล่านี้ไม่มีโอกาสาที่จะตกลงถึงผิวดาวได้เลย เพราะเมื่อฝนกรดมาได้ระยะหนึ่งจะได้รับความร้อนจากผิวดาว ก่อนจะระเหยกลับกลายเป็นไอ เป็นวงจรหมุนเวียนไปเรื่อยๆ

ลักษณะภูมิประเทศของดาวศุกร์
เป็นที่ราบและภูเขาไฟคุกกรุ่น แทบไม่มีหุบเหวลึกหรือเทือกเขาสูงอยู่เลย ไม่มีหลุมอุกกาบาตมากนัก เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นจนเผาใหม่ชิ้นส่วนอุกกาบาตได้มากตามไปด้วย และยังมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาอยู่ตลอดเวลา
ปรากฏการณ์เรือนกระจกแบบกู่ไม่กลับ
ด้วยเหตุที่หมุนรอบตัวเองเป็นเวลานานและมีชั้นบรรยากาศหนาแน่น
ปรากฏการณ์เรือนกระจก เกิดจากก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศยอมให้แสงและพลังงานในช่วงคลื่นที่มองเห็นได้ ส่องทะลุลงมายังผิวดาว ในขณะที่ปิดกั้นพลังงานในช่วงคลื่นรังสีอินฟราเรดซึ่งมีความยาวคลื่นกว่าแผ่ออกจากผิวดาวแต่ไม่ให้แผ่กลับไปยังอวกาศ ผลคือพื้นผิวดาวมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ปรากฏการณ์เรือนกระจกทำให้อุณหภูมิผิวดาวระหว่างกลางวันและกลางคืนคงที่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อย
*หากโลกไม่มีปรากฏการณ์เรือนกระจก อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากระหว่างกลางวันและกลางคืน ดังเช่นดาวพุธหรือดวงจันทร์ที่กลางวันและกลางคืนต่างกันหลายร้อยองศา

ดาวพุธ

ดาวพุธ
คนโบราณเชื่อว่า ดาวพุธ คือ ผู้นำสาสน์ของเทพเจ้าและเทพแห่งการเดินทาง เพราะดาวพุธจะปรากฏให้เห็นสลับกันระหว่างช่วงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและช่วงหลังตกในเวลาอันสั้น
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 60 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์เพียง 88 วัน เป็นดาวค่อนข้างเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 4879 กิโลเมตร ผลการคำนวณมวลชี้ให้เห็นว่าดาวพุธมีความหนาแน่นเฉลี่ยถึง 5.4 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร เทียบได้กับความหนาแน่นของโลก คือ 5.5 กรัม/ลบ.ซม. ในขณะที่ดาวพุธมีขนาดเล็กกว่าถึง 1ใน3 แสดงให้เห็นว่า ดาวพุธมีแก่นกลางขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยธาตุเหล็ก ยังมีหลักฐานที่บ่งชี้ความเป็นไปได้อีก คือ การที่เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ธาตุสามารถรวมตัว ขึ้นเป็นดาวเคราะห์จึงต้องมีจุดหลอมเหลวสูงมาก เช่น เหล็ก หรือสารจำพวกออกไซค์ของธาตุต่างๆ
บรรยากาศของดาวพุธ
ด้วยดาวพุธมีมวลน้อย บรรยากาศจึงหนานแน่นเพียง 1 ในพัน ล้าน ล้านเท่าของโลกที่ระดับน้ำทะเล
ธาตุที่พบส่วนในบรรยากาศส่วนใหญ่ คือ ออกซิเจน โซเดียม ไฮโดรเจน และฮีเลียม (จากมาไปน้อย)
การที่ดาวพุธไม่มีบรรยากาศช่วยรักษาระดับอุณหภูมิให้คงที่ ทำให้พื้นผิวด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิสูงสุดถึง 740 เคลวิน ในขณะที่อีกด้านลดต่ำลงเหลือเพียง 90 เคลวิน
พื้นผิวของดาวพุธ
เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต เพราะก้อนอุกกาบากเหล่านั้นสามารถผ่านชั้นบรรยากาศโดยไม่ผ่านการเผาไหม้เลย
* หลุมอุกาบาตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนดาวพุธ คือ แอ่งคาโลริส คือ 1300 กิโลเมตร บริเวณซีกเหนือของดาวซึ่งเกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อยในช่วงถือกำเนิด
แนวผาชัน ปรากฏอยู่ทั่วไป มีความยาวหลายร้อย กิโลเมตร และมีความสูงถึง 3 กิโลเมตร แนวเหล่านี้ คือ รอยย่น ที่เกิดจากการยุบตัวของดาวพุธขณะที่ภายในของดาวเย็นตัวลงในช่วงเวลา 1000 ล้านปีแรก ซึ่งยุบตัวลงประมาณ 4- 8 กิโลเมตรจากเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม
ดาวพุธไม่มีดวงจันทร์บริวาร และมีสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็น ของโลก เนื่องจากสสารเหลวร้อนที่เคยไหลเวียนอยู่ภายในได้แข็งตัวลงเกือบหมดทั้งดวงแล้ว
วงโคจรของดาวพุธ
ในแต่ละรอบการโคจร ดาวพุธโคจรใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดที่ระยะ 46 ล้านกิโลเมตรเรียกว่า จุดเพอริฮีเลียน และออกห่างที่สุดคือ 70 ล้านกิโลมตรเรียกว่า จุดอะฟีเลียน วงโคจรของดาวพุธมีลักษณะ เป็นวงรีมากกว่าดาวดวงอื่นเนื่องจากระยะทางที่ห่างกันระหว่างสองจุด

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เต๋าเต็งเก็งบทที่ 26


ความหนักแน่นเป็นรากฐานของความไม่มั่นคง
ในท่ามกลางความไม่มั่นคงความหนักแน่นก็สูญสลาย
ความสงบเป็นนายของความรีบเร่งลนลาน
ในท่ามกลางความรีบเร่งลนลานความสงบก็สูญสลาย
(เต๋าเต็งเก็งบทที่ 26)

ญาณวิทยา

ญาณวิทยา คือ ทฤษฏีแห่งความรู้
สิ่งซึ่งญาณวิทยา ศึกษา หลัก ๆ ได้แก่
-กำเนิดความรู้
-ธรรมชาติของความรู้
-วิธีสร้างความรู้
ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะหัวข้อ กำเนิดความรู้ (บ่อเกิดความรู้)
1.บ่อเกิดแห่งความรู้
กำเนิดแห่งความรู้ของนักปรัชญาทางฝั่งตะวันตก มีทฤษฏีสำคัญ 6 ทฤษฏีคือ
1.เหตุผลนิยม ลักษณะของเหตุผลนิยม คือ
-เหตุผลเป็นบ่อเกิดของความรู้จริง
-ปฏิเสธความรู้จากประสบการณ์ เพราะเชื่อว่าประสบการณ์ที่ได้จากประสาทสัมผัสบางครั้ง ก็ให้ผลไม่ตรงกับความจริง เช่น การนั่งรถแล้วเห็นว่ากลางถนนมีน้ำ แต่พอไปถึงจริง ๆ กลับไม่มี
นักปรัชญาที่สนับสนุนทฤษฏีนี้คือ เรเน่ เดส์การ์ตส์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
ความรู้เกิดจากคิดหาเหตุผล โดยต้องอาศัยความสงสัยเป็นพื้นฐาน แล้วใช้เหตุผลเพื่อขจัดความสงสัย ดังนี้แล้วความจริงย่อมปรากฏ
ความคิดที่เป็นเครื่องทำให้เกิดความรู้ มี 3 ประเภทคือ
1.ความคิดจากประสบการณ์ ความคิดนี้ ใช้ประสบการณ์ภายนอกเข้ามาทำให้เกิดความคิด
2.ความคิดที่จิตสร้างขึ้น ความคิดนี้คือการคิดไปเอง โดยอุปมานบ้าง อนุมานบ้าง
3.ความคิดที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ความคิดประเภทนี้เป็นจริง เพราะเป็นความคิดที่พระเจ้าประธานมาให้
ลัทธินี้เน้นว่าความรู้ที่แท้จริงจะต้องเกิดจากเหตุผล แต่ต้องเป็นเหตุผลที่เกิดจากความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด

2.ทฤษฏีประจักษนิยม ลักษณะของลัทธิประสบการณ์นิยม
-เชื่อว่าบ่อเกิดของความรู้คือประสบการณ์
-เหตุผลจะเกิดไม่ได้หากไม่มีประสบการณ์เลย
-ไม่ยอมรับความรู้ที่ติดตัวมาแต่แรกเกิด
-ยอมรับความรู้หลังประสบการณ์ คือ ความรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีประสบการณ์
-ยอมรับความจริงแบบ สังเคราะห์ เพราะความจริงแบบวิเคราะห์ไม่ได้ทำให้ได้ความรู้ใหม่ ๆ แต่การสังเคราะห์ทำให้เกิดความรู้ใหม่
-ยอมรับวิธีการแบบอุปนัย คือ นำความจริงย่อย ๆ มาสรุปเป็นความจริงสากล เช่น นาย ก.เป็นมนุษย์ นาย ก.ตาย นาย ข.เป็นมนุษย์นาย ข. ตาย นาย ค.เป็นมนุษย์ นาย ค.ตาย เราก็สรุปว่า มนุษย์ต้องตาย
เมื่อใช้ทฤษฏี “พิสูจน์ว่าจริงได้” ของคาร์ล ปอปเปอร์ ความจริงนี้จะยังเป็นความจริงก็ต่อเมื่อ ยังไม่มีมนุษย์คนไหนไม่ตาย
นักปรัชญาที่สนับสนุนทฤษฏีนี้คือ จอห์น ล๊อค นักปรัชญาชาวอังกฤษ
จิตเปรียบเหมือนกระดาษสีขาว ไม่มีรอยขีดมาก่อน เมื่อมีประสบการณ์จึงค่อยเกิดรอยขีดข่วน หรือความรู้
ประสบการณ์มี 2 ชนิด
1ประสบการณ์ภายนอก คือการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ประสบการณ์ทางใจ คือ เมื่อมีการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้ว ก็นำมาคิดต่อภายในจิตใจ

3.ทฤษฏีอนุมานนิยม เป็นทฤษฏีที่เชื่อว่า ความรู้ไม่ได้มีมาแต่กำเนิด หรืออาศัยประสบการณ์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากทั้งสองเหตุปัจจัยคือ
อนุมาน จากหลักการเดิม หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน โดยใช้หลักของเหตุผล เช่น ถ้าสมมุติเรายอมรับกันแล้วว่า การคิดถึง การมีทุกข์เมื่อไม่ได้เจอ การมีสุขเมื่อได้เจอ คือความรัก เราก็อนุมานได้ว่า การไม่คิดถึง การไม่ทุกข์เมื่อได้เจอ การไม่มีสุขเมื่อไดเจอ คือ ไม่ใช่ความรัก อาศัยความสัมพันธ์ที่เป็นด้านตรงข้ามของมัน
อุปมาน จากประสบการณ์ที่รับรู้มาแต่เดิม เช่น เราเคยเห็นว่า ผู้ชายที่นั่งซึม ๆ แล้วให้อาหารปลาพลาง ถอนใจพลาง และได้รับคำตอบจากเขาว่า เขากำลังเศร้า ดังนี้พอไปเห็นอาการเดียวกันนี้กับชายอีกคนหนึ่งเราอาจอุปมานได้ว่า ชายคนนี้ก็กำลังเศร้าเช่นกัน
นักปรัชญาที่สนับสนุนทฤษฏีนี้คือ ค้าน เยอรมัน
เขากล่าวว่า “สิ่งในตัวเอง ไม่มีตัวตน อยู่เบื้องหลังจิตได้สร้าง ความรับรู้หรือเพทนาการให้เกิดขึ้น
สิ่งตัวเอง คือช่างถ่ายภาพ อวัยวะที่ทำให้เกิดการรับรู้ คือกล้อง จิตคือ ฟิล์ม ส่วนเพทหนาการคือภาพถ่าย

4.ทฤษฏีสัญชาติญาณนิยม ลักษณะ ถือว่าสัญชาติญาณทำให้เกิดความรู้จริง โดยตรง ด้วยญาณวิเศษ ส่วนปัญญาสามารถทำให้ความรับรู้เปลี่ยนแปลงได้ กล่าวคือญาณให้ความรู้จริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนปัญญาทำให้ความรู้ที่คิดว่าจริงครั้งหนึ่งเปลี่ยนเป็นไม่จริงได้
นักปรัชญาที่สนับสนุนคือ ฮังรี แบร๊กซอง ฝรั่งเศส สนับสนุน
ความรู้ชนิดนี้ในพุทธศาสนาคอ การตรัสรู้ เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นในใจโดยตรง ไม่อาศัยสื่อกลาง

5.เพทนาการนิยม คือความรู้ที่เกิดจากการสัมผัสจนเกิดความตรึงตา ฮิวม์สนับสนุน บอกว่า ความรู้ทุกอย่างจะต้องเกิดจากความตรึงตราและความคิด

6.ทฤษฏีประกาศิตนิยม
แหล่งที่มาของความรู้เกิดจาก ได้รับการถ่ายทอดจากผู้รู้ หรือตำราที่น่าเชื่อถือ ผู้ที่สอนต้องมีความรู้จริง ๆ และตำราที่ให้ความรู้นั้นก็ต้องน่าเชื่อถือจริง ๆ เช่นกัน จึงทำให้ผู้ที่ศึกษาได้รับความรู้ที่จริงไปด้วย ความรู้ชนิดนี้อาจมีการครอบงำ เพราะต้องอาศัยความเชื่อ ความศรัทนาในตำรา และผู้สอนเป็นที่ตั้ง จึงจะสามารถเรียนรู้สิ่งที่เขาสอนได้

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

กระทงชีวิต


พระจันทร์กลมโตในเดือน 12 ดูสวยงามยิ่ง ทว่าต้องมองมันในแถบถิ่นร้างผู้คน...เพราะหาไม่แล้วพระจันทร์กลมโตดวงนั้น จะดูหมองลงไปบ้าง...ด้วยแสงไฟในที่ต่าง ๆ ที่ถูกจุดขึ้น ในงาน “ลอยกระทง”
งานลอยกระทงตรงกับเดือน 12 แต่เดือน 12 ที่ว่านี้ไม่ใช่เดือนธันวา เพราะตามของไทยแล้ว เดือน 12
คือเดือน พฤจิ
ในวัยยังเด็กตัวน้อยก็เคยคิดสงสัย เพราะเท่าที่รู้มาเดือน 12 คือเดือนธันวา
แต่สุดท้ายคำถามก็ถูกเฉลย โดยการไต่ถามผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง
จำไม่ได้ว่าเข้าใจมากน้อยแค่ไหน กับข้อมูลที่ท่านบอก แต่ก็พอจะสรุปได้ว่า
“เดือน 12 ของไทยคือพฤจิ”
ทว่า...กับวัยนั้นความเข้าใจแค่นี้ก็พอแล้ว สำหรับความอยากรู้อยากเห็น เพราะสิ่งที่สำคัญจริง ๆ คือการลอยกระทง ต่างหาก...

จำได้ลางเลือนว่าน่าจะมีมือของใครคนหนึ่งจับมือเราไว้...เพราะคนมาลอยกระทงที่ทะเลกันมาก
มือ ๆ นั้นคงกุมเราเอาไว้แน่นเชียว ทั้งฉุด ทั้งลาก ทั้งกระตุก คอยนำพาเราให้ไปถึงที่หมาย ซึ่งนั่นก็คือ...ท้องทะเล
ท้องทะเลที่ผิวน้ำดำทะมึน แต่กลับพราวด้วยจุดแสงนับร้อย-พัน ท้องทะเลที่ ราวกับท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว เพียงต่างกันตรง จุดแสงที่อยู่ในทะเล คือจุดแสงของเทียน และธูปของกระทง ก็เท่านั้น...
ไม่รู้ว่าครั้งนั้นใช้เวลาเท่าไรในการฝ่าฝูงมนุษย์ จำได้เพียงว่า อากาศคืนนั้นหนาวเย็นพอดู แต่เหงื่อก็พลั่งพรูออกมาจนเต็มแผ่นหลัง นี่ถ้าไม่มีมือ ๆ นั้นคอยจูงและนำทางแล้วละก็ การเดินทางคงเต็มไปด้วยอุปสรรค ยิ่งขึ้น อย่าว่าแต่เด็กตัวน้อยขนาดนั้น...จะพาตัวเองไปถึงทะเลหรือเปล่าก็ไม่รู้

พรายฟองจากคลื่นซาดเข้ามาหาฝั่ง ราวกับไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ลมกลางคืนแรง แทบจะปลิดปลิว แต่มือน้อย ๆ ก็ยังถือกระทงไว้แน่นส่วนสายตาก็จดจ่ออยู่กับเปลวไฟ ที่ปลายเทียน...
นานเท่านานที่สายตาถูกตรึงไว้ กับลีลาการร่ายรำของเปลวไฟ ที่ถูกแรงลมพัดพา จวบจนเมื่อได้ยินเสียงหนึ่งว่า
“อธิฐานสิ”
จึงค่อยถอนสายตาออกมา เห็นใครคนนั้นนั่งลงและทูนกระทงไว้เหนือหัว ทั้งดวงตาก็หลับพริ้ม
เด็กน้อยทำตามแบบอย่างที่เห็น ไม่ได้พูด ไม่ได้กล่าว แม้เพียงประโยค

เราเริ่มเหยียบลงไปในน้ำทะเล เมื่ออธิฐานเสร็จ เดินได้ระยะหนึ่ง ประมาณน้ำท่วมครึ่งแข้ง จึงค่อยหยุด...
และเริ่มปล่อยกระทงลงไปในน้ำ
กระทงลอยอยู่บนผิวน้ำที่กระเพื่อมขึ้น ๆ ลง ๆ
ดังนั้น...การเคลื่อนที่ของมัน จึงไม่ได้ไปข้างหน้า เพียงอย่างเดียว มันเดินหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง ยามเมื่อโดนแรงคลื่นซาดซัด...
และความจำก็มาหยุดลงตรงนี้ เรื่องหลังจากนั้นเลือนรางจน ไม่สามารถปะติปะต่ออะไรได้อีก แต่แค่นี้ก็ถือว่าจำได้มากแล้ว เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้น ก็ผ่านระยะเวลามากกว่า 10 ปี ซึ่งการที่หวนคิดถึงมันอาจจะเป็น เพราะการลอยกระทงได้ห่างหายไปจาก ชีวิตตัวเองเสียนาน ซึ่งถ้าจะกลับไปทำมันอีกครั้ง รายละเอียดคงแตกต่างจากวัยเด็กน้อย พอสมควร...ที่เห็น ๆ ก็คงจะ ไม่มีมือใดคอยจูง คอยประคอง คอยนำพา ให้ไปถึงทะเลอีก อย่าว่าแต่ถ้ามีอยู่จริง ๆ ตัวเราในวันนี้ก็คงไม่กระทำดังว่า
เราโตพอแล้วที่จะเดินไปได้โดยลำพัง
เช่นว่า...ในวัยที่สามารถเดินไปลอยกระทง ในทะเลได้เพียงลำพังนี้ ทบทวนดูให้ดี ถึงเรื่องราวในครั้งนั้น ก็ให้พบว่า...ชีวิตกับกระทง ก็มีบางด้านที่คล้ายคลึงกัน ที่ช่วงแรก ๆ ของเส้นทาง จะมีกระทงอื่น ๆ มากมายลอยเคียงกันไป แต่ทว่าหากกระทงยิ่งลอยไกล ออกไปในทะเล กระทงที่เคยมากมายบนเส้นทาง ก็จะลดจำนวนลง จนบางทีอาจไม่เหลืออีกเลย
ดังนี้ คงไม่เกินเลยไปนักที่จะเปรียบเทียบว่า “ชีวิตก็เหมือนกับการลอยไปของกระทงในทะเล ที่มักจะพบปะกระทงอื่น ๆ บนเส้นทางที่ลอยผ่าน อยู่เสมอ...อาจลอยเคียงกันใกล้ ๆ บ้าง ลอยตามหลัง นำหน้ากันไปบ้าง แต่เพราะชีวิตต่างมีเส้นทางเป็นของตัวเอง และมหานทีช่างกว้างใหญ่ การพลัดพรากจึงเกิดมีเป็นธรรมดา เช่นนั้น ถึงที่สุดแล้ว...บางห้วงยามกระทงจึงมักจะลอยไปเพียงลำพัง”
ใช่ ถึงที่สุดแล้วทั้งกระทงและชีวิต ก็ต้องมีช่วงเวลาที่ต้องเดินไปเพียงลำพัง


วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ชาวปะหร่อง


หนุ่มโสดชาวปะหร่อง เมื่ออายุประมาณ 17-25 ปี จะมีคนหนึ่งถูกคัดเลือกให้เป็น “ครู”
“ครู” ไม่ใช่ ครูที่สอนวิชาภาษาไทย ไม่ใช่ครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาสังคม ทว่า “ครู” คือผู้สอนวิชาจีบสาว
“ครู” หนุ่มที่ถูกคัดเลือก จะมีหญิงรุ่นเดียวกันอีกสองคนเป็นผู้ช่วย (ครู)
ลูกศิษย์ที่มาร่ำเรียนวิชาจีบสาว คือ เด็กอายุ 12 ขวบ
เด็กอายุ 12 ขวบ ก็จีบสาวแล้ว?
สำหรับชาวปะหร่องอายุ 12 ถือได้ว่า เป็นวัยที่แต่งงานได้แล้ว
วัตถุประสงค์ของการสอนวิชาจีบสาวก็เหมือนวิชาทั่ว ๆ ไป คือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เข้าใจจนสามารถนำไปปฏิบัติต่อในสถานการณ์จริงได้โดยไม่กระดากอาย หรือทำผิด ๆ ถูก ๆ
ร่ำเรียนจนจบภาคทฤษฏี จะมีการจับฉลาก ฉลากแต่ละใบเขียนชื่อหญิงสาวหนึ่งคน จับได้ใครก็ต้องไปฝึกภาคปฏิบัติกับคนนั้น ทั้งนี้จึงถือได้ว่าจบหลักสูตร
ผู้ร่ำเรียนจะได้ใช้วิชาฝีมือจริง ๆ ก็ต่อเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม ซึ่งจะเป็นช่วงเก็บใบชา
ช่วงเก็บใบชาหนุ่มสาวจะมีโอกาสได้พบปะกัน
พบปะแล้วไยจะปล่อยให้ผ่านเลย เพียงแค่เก็บใบชา

ธรรมเนียมการแต่งกางของชาวปะหร่องออกจะแปลกประหลาดทีเดียว คือ ฝ่ายหญิงต้องหนีตามผู้ชายไป
ผู้ชายจะพาเธอไปอาศัยบ้านญาติ
หญิงสาวจะทิ้งตลับแป้งซึ่งเป็นเครื่องหมายบอกแก่บิตา-มารดาว่า ตนเองได้หนีตามคนรักไปแล้ว
พ่อ-แม่ฝ่ายหญิงเมื่อพบเห็นตลับแป้ง ก็จะเริ่มจัดขบวนตามหาลูกสาว
ทว่าใช้คนเท่าไร ใช้เวลานานเท่าไรก็ไม่มีทางหาเจอ
หาไม่เจอเพราะ ไม่ได้ตั้งใจจะหาให้เจอ
ประเพณีนี้ คือ รู้อยู่แล้วว่าลูกสาวอยู่ที่ไหน แต่ก็แสร้างเป็นไม่รู้ ลูกสาวอยู่เหนือก็พากันลงใต้ ลูกสาวอยู่ตะวันออก ก็พากันไปตะวันตก
เมื่อ(แสร้าง)ตามหากันพอควรแล้ว ก็จะพากันกลับบ้านของตน
กลับบ้านเพื่อไปพบกับผู้ใหญ่ฝ่ายชาย
ผู้ใหญ่ทั้งสองจะทำการตกลงว่าจะเอาอย่างไร
ตกลงกันได้ก็เสร็จ ตกลงกันไม่ได้ก็อด
ทว่าถ้าตกลงกันได้ ค่าสินสอดไม่ต้องให้สักสตางค์เดียว รับเจ้าสาวกลับบ้านไปได้เลย