วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ปลากับคน

สัญชาติญาณการเอาตัวรอดคือคุณสมบัติพื้นฐานของชีวิต ทั้งพืช-สัตว์ต่างมีวิธีการเอาตัวรอดเพื่อให้ตัวเองยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ อาจเหมือนกันบ้าง คล้ายกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมแล้วทั้งพืช-สัตว์ทุกชนิดจะมีมัน
เช่นเดียวกันกับปลา
ความสามารถในการดมกลิ่นเป็นหนึ่งอย่างในความพิเศษของสัตว์จำพวกนี้
ปลาแซลมอน สามารถจับกลิ่นในความเจือจางถึงหนึ่งต่อแปดพันล้านส่วน (หรือน้อยกว่าเศษหนึ่งส่วนสองร้อยหยดต่อน้ำ 23000 แกลลอน)
ฉลามสามารถสัมผัสกลิ่นเลือดได้ด้วยความเจือจางหนึ่งต่อร้อยล้านส่วน
คุณสมบัติการดมที่ดีของปลาบางชนิด ยังพัฒนาต่อจนสามารถแยกเยอะกลิ่นใดได้ว่า กลิ่นใดเป็นมิตรกลิ่นใดเป็นศัตรู ดังนี้ถ้ามีกลิ่นที่มันไม่พึงประสงค์มันจะไม่เข้าใกล้เป็นอันขาด
จากการทดลองที่สร้างทางน้ำสองสายให้ปลาแซลมอลเลือกว่ายไปทางใดก็ได้ ในครั้งแรกปลาเลือกใช้ทางทั้งสองเส้น แต่พอเอาอุ้งตีนหมีซึ่งเป็นศัตรูของมันหย่อนลงไปในช่องน้ำช่องหนึ่ง ปลาทั้งฝูงก็จะหันไปใช้ทางอน้ำอีกช่องหนึ่งทันที
คุณสมบัติอีกประการที่น่าสนใจคือ การฟังที่ยอดเยี่ยม ปลาไม่มีหู แต่มีอวัยวะสำหรับฟังอยู่ในหัว เสียงจะถูกส่งผ่านน้ำไปที่ผิวหนังและกระดูก อ่อนจะเข้าสู่หูภายในโดยตรง (ปลาบางพันธุ์อาศัยถุงรับลมรับแรงสั่นสะเทือน จากนั้นส่งสัญญาณไปยังหู)
อวัยวะอีกอย่างที่ช่วยปลาในการจับเสียง คือสิ่งที่เรียกว่า “เส้นข้างลำตัว” เส้นข้างลำตัวนี้จะจับเสียงได้ในระยะประมาณ 20-50 ฟุต ทั้งยังสามารถกำหนดจุดได้ว่าที่ใดเป็นแหล่งที่มาของเสียง
คุณสมบัติ ทั้งการดมกลิ่น และการรับฟัง แม้จะยอดเยี่ยม แต่บางคราวก็เป็นดาบสองคม เพราะนักตกปลาที่ทราบดีจะใช้คุณสมบัตินี้ย้อนรอยมัน เช่น ทำให้เกิดเสียงที่มันพึงประสงค์ หรือทำให้เกิดกลิ่นที่มันพึงประสงค์จนมันเข้ามาใกล้ ๆ ก่อนจะถูกจับไปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
บ่อยครั้งชีวิตมนุษย์ก็ไม่ต่างจากปลาสักเท่าไร เพราะบางทีก็ถูกกลิ่นและเสียงที่พึงประสงค์นำพาไปสู่การติดเบ็ด

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการโจโฉ (ย่อ)

โจโฉยังแค้นเล่าปี่และม้าเท้งอยู่ เมื่อครั้งที่เคยลงชื่อกำจัดตนร่วมกับขุนนางคนอื่น แต่ด้วยเมืองเสเหลียงมีกำลังทหารแข็งแกร่งยากแก่การปราบปราบโดยง่าย ดังนั้นโจโฉจึงยกทัพไปตีเมืองชีจิ๋วของเล่าปี่แทน
เล่าปี่กับเตียวหุยอยู่เมืองเสียวพ่าย เมื่อทราบข่าวโจโฉยกมาบุก นำกำลังออกไปรบแต่ปรากฏว่าแตกทัพ เล่าปี่หนีไปหาอ้วนเสี้ยว ฝ่ายเตียวหุยนำทหารที่เหลือตีฝ่าออกมา
เมื่อครั้งรวมกำลัง 17 หัวเมืองต่อสู้ตั๋งโต๊ะ กวนอูได้แสดงฝีมือเอาชนะนายทัพคนหนึ่ง(ฮัว- หยง) โจโฉรู้สึกพอใจกวนอูเป็นอันมาก ครานี้มีโอกาส สั่งเตียวเลี้ยวไปเกลี่ยกล่อมกวนอู(ใช้อุบายล่อกวนอูออกมาและยึดเมืองแห้ฝือ) กวนอูตรึกตรองผลดี-เสีย ที่เตี้ยวเลี้ยวชี้แจง เห็นว่ามีเหตุผล แต่ขอคำสัญญาไว้สามประการ
๑.ขอเป็นข้าพระเจ้าเหี้ยนเต้
๒.ขออยู่ดูแลพี่สะใภ้
๓.เมื่อรู้ว่าเล่าปี่อยู่ที่ใดจะไปหาทันที
ฝ่ายโจโฉลังเลแต่สุดท้ายยอมรับเงื่อนไขทั้งหมด
โจโฉทำนุบำรุงดูแลกวนอูไม่ได้ขาด ให้ทั้งเงินทอง เสื้อผ้า ม้า(เซ๊กเธาว์) ฯลฯ แต่กวนอูคงแสดงความซื่อสัตย์ที่ตนมีต่อเล่าปี่เสมอ
ที่ปรึกษาคนหนึ่งชื่อซุนฮกออกอุบาย ด้วยกวนอูเป็นผู้รู้คุณคน ต้องตอบแทนน้ำใจก่อนจากไปเป็นแน่ เช่นนั้นหากมีกิจอันใดจงอย่าให้กวนอูอาสา
ครั้งหนึ่งอ้วนเสี้ยวยกทัพไปตีโจโฉที่ฮูโต๋ เล่าปี่มาด้วย กวนอูขออาสาออกรบ โจโฉไม่ยินยอม แต่เมื่อแม่ทัพฝ่ายตนพ่ายแพ้ กวนอูจึงออกไป ฆ่างันเหลียง และบุนทิวตาย
อ้วนเสี้ยวรู้ว่ากวนอูเป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเล่าปี่ก็โกรธ แต่เล่าปี่อธิบายเหตุผลจนอ้วนเสี้ยวเปลี่ยนใจ
ต่อมาเกิดโจรร้ายที่เมืองยีหลำ กวนอูอาสาไปปราบ และได้พบกับซุนเขียนคนสนิทของเล่าปี่ ซุนเขียนเล่าว่าเมื่อเล่าปี่แตกทัพ ได้ไปอยู่อาศัยกับอ้วนเสี้ยวที่กิจิ๋ว
เมื่อเสร็จกิจกลับไปหาโจโฉเพื่อบอกลา แต่โจโฉแสร้างเป็นป่วย กวนอูเขียนจดหมายอำลา ก่อนพาพี่สะใภ้ทั้งสองเดินทางไปหาเล่าปี่ นายด่านหลายคนไม่ทราบ ขัดขวางกวนอู กวนอูจำต้องสังหารทหารและนายทัพไปจำนวนหนึ่ง
ฝ่ายเตียวหุยอยู่เมืองเก๋าเซีย กวนอูทราบข่าวก็ยินดีเป็นอันมาก ในตอนแรกเตียวหุยเข้าใจผิดคิดว่ากวนอูเข้าด้วยกับโจโฉ แต่เมื่อรู้ความจริงจึงยกทหารไปต้อนรับ
เล่าปี่คราดกับกวนอูไป-มาหอยู่หลายครั้ง เมื่อรู้ว่าอยู่เมืองเก๋าเซีย ออกอุบายบอกแก่อ้วนเสี้ยวจะไปเกลี้ยกล่อมเล่าเปียวเจ้าเมืองเกงจิ๋วมาเป็นพวก แต่แท้จริงกลับเดินทางไปกวนอู
แต่เมืองเก๋าเซียเป็นเมืองจัตวา ไม่เหมาะเป็นที่ตั้งมัน ทั้งหมดจึงพากันไปอยู่เมืองยีหลำ

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ดาวพลูโต

พลูโต
อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เกือบ 7000 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบถึง 248 ปี มีขนาด 2390 กิโลเมตร อุณหภูมิอยู่ระหว่าง- 23 5 ถึง –213 พื้นผิวประกอบด้วยไนโตรเจนแข็งและมีเทนแข็ง และมีโครงสร้างภายในที่เป็นหิน 70 และเป็นน้ำแข็ง 30 เปอร์เซ็น
ดวงจันทร์ของดาวพลูโต
แครอน มีขนาดครึ่งหนึ่งของดาวพลูโต

ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน
อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 4500 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลยาวนาวถึง 165 ปี มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50000 กิโลเมตร ลักษณะโครงสร้างภายคล้ายกับยูเรนัส
นักดาราศาสตร์เชื่อว่าแกนกลางของดาวคือแกนแข็ง ที่ประกอบด้วยเหล็กและซิลิคอนเป็นส่วนใหญ่
การที่ดาวเนปจูนมีลักษณะที่เห็นได้ชัดในบรรยากาศทำให้สามารถวัดความเร็วลมได้ และพบว่าเป็นดาวที่มีลมพัดเร็วที่สุด คือ 2000 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ดาวเนปจูนแผ่ความร้อนออกมาจากภายในตัวดาวถึง 2.6 เท่าของพลังงานความร้อนที่รับจากดวงอาทิตย์ การค้นพบนี้ทำใดต้องทบทวนแนวคิดที่ใช้อธิบายโครงสร้างของดาวใหม่ รวมถึงเหตุใดที่ดาวยูเรนัสจึงแทบจะไม่แผ่ความร้อนออกมาเลย ทั้งๆที่ควรจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน
มีวงแหวน 4 วงที่จางมาก วงที่กว้างที่สุดมีความกว้างประมาณ 5800 กิโลเมตร แต่หนาเพียง 10 เซนติเมตร
สนามแม่เหล็กเบาบาง และมีลักษณะคล้ายกับดาวยูเรนัส 2 ประการคือ มุมของแกนแม่เหล็กทำมุมกว้างมากกับแกนของดาว และสนามแม่เหล็กไม่ได้เกินขึ้นจากแกนกลาง
ดวงจันทร์ของดาวเนปจูน
มีดวงจันทร์ที่รู้จักกันแล้ว 11 ดวง ในจำนวนนี้ตั้งชื่อแล้ว 8 ดวง ส่วนดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุด 5 ดวงแรกคือ ไทรตัน โปรทีอุส เนอร์ริด ลาร์ริซา และกาลาเทีย ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 2700 กิโลเมตร
ไทรตัน มีขนาด 2700 กิโลเมตร และโคจรอยู่ห่างจากดาว ประมาณ 354760 มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาร –235 องศาเซลเซียส มีหุบเหวและร่องลึกมากมาย สันนิษฐานว่าเกิดจากการแข็งตัว และละลายของน้ำแข็งกลับไปกลับมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แต่ลักษณะที่ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องตะลึงคือ ภูเขาไฟน้ำแข็ง ที่พ่นไนโตนเจนเหลว มีเทนแข็ง และฝุ่นที่เย็นจัดขึ้นไปกว่า 8 กิโลเมตรและกระจายไปไกลถึง 140 กิโลเมตร

ดาวยูเรนัส

ยูเรนัส
มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ใน 3 ของดาวพฤหัสบดี โคจรอยู่ห่างจากตัวอาทิตย์เกือบ 3 พันล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจร 84 ปี ลักษณะการโคจร(ตะแคงข้าง)ส่งผลให้ฤดูกาลยาวนานมาก ซีกหนึ่งของดาวจะอยู่ในฤดูหนาวนาน ถึง 42 ปี และอีกซีกหนึ่งจะอยู่ในฤดูร้อน 42 ปีแต่ด้วยอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก อุณหภูมิจึงต่างกันเพียง 2 องศาเซลเซียส
โครงสร้างภายในของดาวยูเรนัส
บรรยากาศชั้นนอกประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่ แต่นักดาราศาสตร์เชื่อว่าโครงสร้างภายในจะต้องประกอบด้วยแอมโมเนียและมีเทน เพราะหากประกอบด้วยไฮโดรเจนหรือฮีเลียมแล้ว มวลของดาวจะต้องน้อยกว่านี้
มีสนามแม่เหล็กเบาบาง แต่ไม่ได้เกิดจากแกนกลาง แต่อยู่เหนือขึ้นไปประมาณ 10000 กิโลเมตร

วงแหวนของดาวยูเรนัส
วงแหวนส่วนใหญ่มีความกว้างไม่เกิน 10 กิโลเมตร และหนา 300-500 เมตร และประมาณกันว่าวัตถุที่ประกอบกันเป็นวงแหวนน่าจะมีขนาดไม่เกิน 10 เมตร
ดวงจันทร์ของดาวยูเรนัส
มีที่รู้จักกันแล้ว 21 ดวง (สิงหาคม 2003) ในจำนวนนี้มีดวงจันทร์ 5 ดวงหลักที่มีรัศมีมากกว่า 200 กิโลเมตร คือ ไททาเนีย โอบีรอน อัมเบรียล แอเรียล และมิแรนดา

ดาวเสาร์

ดาวเสาร์
เป็นดาวเคราะห์ก๊าซ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 10 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์(ล้านกิโลเมตร) องค์ประกอบหลังคือ ไฮโดรเจน และฮีเลียม (75 และ 25 เปอร์เซ็น) ดาวเสาร์มีความหนานแน่นเฉลี่ยทั้งดวงต่ำที่สุดในระบบสุริยะคือ 0.7 กรัม/ลบ.ซม. (นั่นคือดาวเสาร์สามารถลอยน้ำได้หากมีอ่างน้ำใหญ่พอที่จะลอย)
ใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 10.7 และใช้เวลาโคจรรอบด้วยอาทิตย์ 29.5 ปี
บรรยากาศของดาวเสาร์
นักดาราเชื่อว่าศูนย์กลางของดาว เป็น แกนที่เป็นหินโลหะ ซึ่งแกนชั้นในเป็น แอมโมเนีย มีเทนและน้ำมีความดันหลาย 10 ล้านบาร์ ถัดมาจากคือชั้นโลหะไฮโดรเจน และถัดจากนั้นจึงเป็นชั้นไฮโดรเจนเหลว และบรรยากาศชั้นนอก
ดาวเสาร์มีสนามแม่เหล็กมากกว่าโลกถึงพัน เท่าจึงมีปรากฏการณ์แสงเหนือใต้เช่นเดียวกัน
วงแหวนของดาวเสาร์
แท้จริงนั่นวงแหวนของดาวเสาร์เบาบางมาก คือ มีหนาวหนาเฉลี่ยประมาณ 500 เมตรเท่านั้น แต่เพราะเศษวัตถุที่ประกอบกันเป็นวงแหวนสามารถสะท้อนแสงได้ดีและมีความกว้างรวม 80000 กิโลเมตร
นักดาราศาสตร์เชื่อวงแหวนของดาว เกิดจากดาวเคราะห์น้อย หรือดวงจันทร์ที่โคจรเข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปทำให้ถูกแรงไทดัล ฉีกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ชั้นของวงแหวน และช่องว่าง(ลำดับอักษรจากในสุด)
วงแหวน ดี
วงแหวน ซี มีความกว้าง 17500 กิโลเมตร
วงแหวน บี เป็นวงแหวนที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีความกว้าง 25500 กิโลเมตร เศษวัตถุที่อยู่ในวงแหวนมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าชั้นอื่นๆ คือ ประมาณ 1-10 เมตร
ช่องแคสสินี เป็นช่องระหว่างวงแหวนบี และวงแหวนเอ ขนาด 4200 กิโลเมตร
วงแหวนเอ เป็นวงแหวนที่มีความสว่าง แต่ยังน้อยกว่าชั้นบี
ช่องเองเก้ เป็นช่องว่งความกว้าง 325 กิโลเมตร ที่บริเวณขอบนอกของวงแหวนเอ
วงแหวนเอฟ จีและอี เป็นวงแหวนชั้นนอกที่จางจนแทบไม่สามารถสังเกตได้ ทั้งสามมีความกว้างรวมกว่า 308000 และหนาน 100-1000 กิโลเมตร แต่ด้วยอนุภาคที่เล็กเบาบางและสะท้อนแสงน้อยมาก
ดวงจันทร์ของดาวเสาร์
มีดาวจันทร์ที่รู้จักแล้ว 31 ดวง (มีนาคม ค.ศ.2004)ตั้งชื่อแล้ว 18 ดวง
ไททัน มีขนาด 5150 กิโลเมตร โคจรอยู่ห่างเฉลี่ย 1221830 กิโลเมตร เป็นดวงจันทร์ดวงเดียวที่มีบรรยากาศหนาแน่น องค์ประกอบมีก๊าซไนโตรเจน เป็นส่วนใหญ่ นักดาราเชื่อว่าเบื้องล่างของชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นเป็น มหาสมุทร
เรีย ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากไททัน สั้นผ่านศูนย์กลาง 1530 โคจรอยู่ห่างเฉลี่ย 527040 กิโลเมตร
ไอแอพพิทัส มีขนาด 1460 อยู่ห่างประมาณ 3561300 กิโลเมตร
ไอโอนี มีขนาด 1120 กิโลเมตร อยู่ห่าง 377400
ทีดิส มีขนาดประมาณ 1060 กิโลเมตร อยู่ห่างเฉลี่ย 294660

ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดี
เป็นดาวเคราะห์ก๊าซอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 5.2 หน่วยดาราศาสตร์ (777 ล้านกิโลเมตร)
* 1 หน่วยดาราศาสตร์คือระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ มีค่า 149597870 กิโลเมตร
บรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม เป็นส่วนใหญ่ (75 และ 25 เปอร์เซ็น)นอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียมแล้ว บรรยากาศของดาวพฤหัสบดียังมี มีเทน แอมโมเนีย ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ดาวพฤหัสบดีปรากฏมีสีแดงเรื่อๆในบริวเณต่างๆ บรรยากาศของดาวเต็มไปด้วยลมแรงทั้งดวง หลายบริเวณมีความเร็วสูงถึง 650 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเกิดจากที่ดาวพฤหัสบดีใช้เวลาหมุนรอบตัวเองเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น
โครงสร้างภายในดาวพฤหัสบดี
ที่ความลึก 14000 กิโลเมตร ก๊าซจะมีความดัน 2 ล้านบรรยากาศ (บาร์) อุณหภูมิ 5000 เคลวินและมีความหนาแน่น 1 กรัม/ลบ.ซม. ที่สภาวะนี้ไฮโดรเจนจะอยู่ในสถานะ โลหะไฮโดรเจน ชั้นนี้มีความหนาประมาณ 45000 กิโลเมตร
* โลหะไฮโดรเจน คือ สถานะที่อะตอมต่างๆในเนื้อสารจะแบ่งปันอิเล็กตรอนร่วมกันคล้ายกับโลหะ
ที่แกนกลาง(ล่างของชั้นโลหะไฮโดรเจน)ประกอบด้วย หิน เหล็ก และสารประกอบไฮโดรเจน มีขนาดมีความดัน 100 ล้านบาร์ ความหนาแน่นของก๊าซประมาณ 25กรัม/ลบ.ซม. (มากกว่าทองคำขาวที่เป็นโลหะที่หนาแน่นที่สุดในโลก) และมีอุณหภูมิสูงถึง 20000 เคลวิน
*เราอาจมองดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวเคราะห์ก๊าซเป็นดาวเคาระห์แข็งซึ่งมีบรรยากาศหนามากก็ได้
ความแปรปรวนและปรากฏการณ์ต่างๆ ในบรรยากาศของดาวได้รับพลังงานมาจากแหล่งความร้อนภายใน นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเกิดจาการที่ดาวพฤหัสบดียุบตัวลงเรื่อยๆ พลังงานศักย์ของเนื้อสารจึงเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนภายใน และแผ่ออกสู่บรรยากาศ
ดาวพฤหัสบดีมีสนามแม่เหล็กเช่นเดียวกับโลก แต่มีความเข้มข้นสูงกว่า 19000 เท่า สนามแม่เหล็กนี้ช่วยปกป้องดาวและบริวารที่อยู่ใกล้ทั้งหมดจากลมสุริยะและอนุภาคพลังงานสูง ลมสุริยะจะเป่าให้ ฟอง แม่เหล็กของดาวพฤหัสบดียืนออกไปไกลกว่า 650 ล้านกิโลเมตร สำหรับด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กถูกลมสุริยะพัดอย่างรุนแรงจึงมีความหนาเพียงไม่กี่ล้านกิโลเมตร สนามแม่เหล็กจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ แสงเหนือแสงใต้ เช่นเดียวกับโลกแต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์จะปะทะเข้ากับแนวเส้นแรงเหล็กของดาว และถูกพาให้ไหลมาตามเส้นแรงเหล็กและเข้าสู่บรรยากาศ จนอะตอมของก๊าซเรืองแสงขึ้น
ดาวพฤหัสบดีมีวงแหนบางๆที่ประกอบด้วยฝุ่น วงแหวนมีความหนาเฉลี่ยน้อยกว่า 10 เซนติเมตรจึงจางมากจนแทบสังเกตไม่ได้จากโลก
วงแหวนหลักอยู่ที่ระยะ 123000-129000 กิโลเมตรมีความกว้างประมาณ 6400 กิโลเมตร จาการศึกษาชี้ให้เห็นว่า อนุภาคขนาดเล็กและฝุ่นผงที่ประกอบกันเป็นวงแหวนจะตกลงสู่ดาวเรื่อยๆ แต่อนุภาคเหล่านี้ก็ไม่หมดไปเพราะฝุ่นที่เกิดจากการชนของอุกกาบาตขนาดเล็กกับดวงจันทร์ชั้นในของดาวจะ เติม วงแหวนอยู่เรื่อยเช่นกัน
ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
มีดวงจันทร์ที่นักดาราศาสตร์รู้จักแล้ว 61 ดวง (สิงหาคม ค.ศ. 2003) ตั้งชื่อแล้ว 27 ดวง
ไอโอ อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีประมาณ 420000 กิโลเมตร เป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียวที่มีภูเขาไฟระเบิดจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ ภายในยังมีความร้อยอยู่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3630 กิโลเมตร สาเหตุที่ภายในของยังร้อนอยู่เพราะกลไกความร้อนไทดอล ซึ่งเกิดจากแรงไทดอล อันมหาศาลของดาวพฤหัสบดีที่บิดไอโอเปลี่ยนรูปไปมาได้ถึง 100 เมตรตลอดเวลาที่ดาวโคจร การเสียดสีจากการเปลี่ยนรูปทำให้ไอโอยังคงร้อนอยู่ คล้ายกับการผิดลวดไปมาซึ่งจะร้อนขึ้น จุดที่ร้อนที่สุดของดาวมีอุณหภูมิ 2000 เคลวิน และเย็นที่สุด คือ 130 เคลวิน
*แรงไทดอล คือ แรงเสมือนที่เกิดจากความต่างของแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อบริเวณต่าง ของวัตถุไม่เท่าเทียมกัน
ยุโรปา อยู่ห่างประมาณ 68000 กิโลเมตร มีขนาด 3138 กิโลเมตร มีพื้นผิวเป็นน้ำแข็งเรียบ มีเนินเขาไม่สูงนักและหลุมอุกาบาตเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวเป็นพื้นที่ค่อยข้างใหม่ และยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่จนถึงทุกวันนี้เชื่อกันว่าภายใต้ชั้นน้ำแข็ง คือมหาสมุทรที่ลึกถึง 100 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ได้ด้วยความร้อนจากกลไกไทดอล
แกนีมีด เป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีประมาณ 1 ล้านกิโลเมตร มีขนาด 5262 กิโลเมตร พื้นผิวเย็นตัวลงบ้างแล้ว เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต และมีสนามแม่เหล็กอยู่แต่เบาบางมาก
คัลลิสโต อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดี 1.9 ล้านกิโลเมตร มีขนาด 4800 กิโลเมตร มีลักษณะคล้ายแกนีมีด แต่ยังมีปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาหลงเหลืออยู่มากกว่า