วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ญาณวิทยา

ญาณวิทยา คือ ทฤษฏีแห่งความรู้
สิ่งซึ่งญาณวิทยา ศึกษา หลัก ๆ ได้แก่
-กำเนิดความรู้
-ธรรมชาติของความรู้
-วิธีสร้างความรู้
ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะหัวข้อ กำเนิดความรู้ (บ่อเกิดความรู้)
1.บ่อเกิดแห่งความรู้
กำเนิดแห่งความรู้ของนักปรัชญาทางฝั่งตะวันตก มีทฤษฏีสำคัญ 6 ทฤษฏีคือ
1.เหตุผลนิยม ลักษณะของเหตุผลนิยม คือ
-เหตุผลเป็นบ่อเกิดของความรู้จริง
-ปฏิเสธความรู้จากประสบการณ์ เพราะเชื่อว่าประสบการณ์ที่ได้จากประสาทสัมผัสบางครั้ง ก็ให้ผลไม่ตรงกับความจริง เช่น การนั่งรถแล้วเห็นว่ากลางถนนมีน้ำ แต่พอไปถึงจริง ๆ กลับไม่มี
นักปรัชญาที่สนับสนุนทฤษฏีนี้คือ เรเน่ เดส์การ์ตส์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
ความรู้เกิดจากคิดหาเหตุผล โดยต้องอาศัยความสงสัยเป็นพื้นฐาน แล้วใช้เหตุผลเพื่อขจัดความสงสัย ดังนี้แล้วความจริงย่อมปรากฏ
ความคิดที่เป็นเครื่องทำให้เกิดความรู้ มี 3 ประเภทคือ
1.ความคิดจากประสบการณ์ ความคิดนี้ ใช้ประสบการณ์ภายนอกเข้ามาทำให้เกิดความคิด
2.ความคิดที่จิตสร้างขึ้น ความคิดนี้คือการคิดไปเอง โดยอุปมานบ้าง อนุมานบ้าง
3.ความคิดที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ความคิดประเภทนี้เป็นจริง เพราะเป็นความคิดที่พระเจ้าประธานมาให้
ลัทธินี้เน้นว่าความรู้ที่แท้จริงจะต้องเกิดจากเหตุผล แต่ต้องเป็นเหตุผลที่เกิดจากความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด

2.ทฤษฏีประจักษนิยม ลักษณะของลัทธิประสบการณ์นิยม
-เชื่อว่าบ่อเกิดของความรู้คือประสบการณ์
-เหตุผลจะเกิดไม่ได้หากไม่มีประสบการณ์เลย
-ไม่ยอมรับความรู้ที่ติดตัวมาแต่แรกเกิด
-ยอมรับความรู้หลังประสบการณ์ คือ ความรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีประสบการณ์
-ยอมรับความจริงแบบ สังเคราะห์ เพราะความจริงแบบวิเคราะห์ไม่ได้ทำให้ได้ความรู้ใหม่ ๆ แต่การสังเคราะห์ทำให้เกิดความรู้ใหม่
-ยอมรับวิธีการแบบอุปนัย คือ นำความจริงย่อย ๆ มาสรุปเป็นความจริงสากล เช่น นาย ก.เป็นมนุษย์ นาย ก.ตาย นาย ข.เป็นมนุษย์นาย ข. ตาย นาย ค.เป็นมนุษย์ นาย ค.ตาย เราก็สรุปว่า มนุษย์ต้องตาย
เมื่อใช้ทฤษฏี “พิสูจน์ว่าจริงได้” ของคาร์ล ปอปเปอร์ ความจริงนี้จะยังเป็นความจริงก็ต่อเมื่อ ยังไม่มีมนุษย์คนไหนไม่ตาย
นักปรัชญาที่สนับสนุนทฤษฏีนี้คือ จอห์น ล๊อค นักปรัชญาชาวอังกฤษ
จิตเปรียบเหมือนกระดาษสีขาว ไม่มีรอยขีดมาก่อน เมื่อมีประสบการณ์จึงค่อยเกิดรอยขีดข่วน หรือความรู้
ประสบการณ์มี 2 ชนิด
1ประสบการณ์ภายนอก คือการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ประสบการณ์ทางใจ คือ เมื่อมีการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้ว ก็นำมาคิดต่อภายในจิตใจ

3.ทฤษฏีอนุมานนิยม เป็นทฤษฏีที่เชื่อว่า ความรู้ไม่ได้มีมาแต่กำเนิด หรืออาศัยประสบการณ์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากทั้งสองเหตุปัจจัยคือ
อนุมาน จากหลักการเดิม หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน โดยใช้หลักของเหตุผล เช่น ถ้าสมมุติเรายอมรับกันแล้วว่า การคิดถึง การมีทุกข์เมื่อไม่ได้เจอ การมีสุขเมื่อได้เจอ คือความรัก เราก็อนุมานได้ว่า การไม่คิดถึง การไม่ทุกข์เมื่อได้เจอ การไม่มีสุขเมื่อไดเจอ คือ ไม่ใช่ความรัก อาศัยความสัมพันธ์ที่เป็นด้านตรงข้ามของมัน
อุปมาน จากประสบการณ์ที่รับรู้มาแต่เดิม เช่น เราเคยเห็นว่า ผู้ชายที่นั่งซึม ๆ แล้วให้อาหารปลาพลาง ถอนใจพลาง และได้รับคำตอบจากเขาว่า เขากำลังเศร้า ดังนี้พอไปเห็นอาการเดียวกันนี้กับชายอีกคนหนึ่งเราอาจอุปมานได้ว่า ชายคนนี้ก็กำลังเศร้าเช่นกัน
นักปรัชญาที่สนับสนุนทฤษฏีนี้คือ ค้าน เยอรมัน
เขากล่าวว่า “สิ่งในตัวเอง ไม่มีตัวตน อยู่เบื้องหลังจิตได้สร้าง ความรับรู้หรือเพทนาการให้เกิดขึ้น
สิ่งตัวเอง คือช่างถ่ายภาพ อวัยวะที่ทำให้เกิดการรับรู้ คือกล้อง จิตคือ ฟิล์ม ส่วนเพทหนาการคือภาพถ่าย

4.ทฤษฏีสัญชาติญาณนิยม ลักษณะ ถือว่าสัญชาติญาณทำให้เกิดความรู้จริง โดยตรง ด้วยญาณวิเศษ ส่วนปัญญาสามารถทำให้ความรับรู้เปลี่ยนแปลงได้ กล่าวคือญาณให้ความรู้จริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนปัญญาทำให้ความรู้ที่คิดว่าจริงครั้งหนึ่งเปลี่ยนเป็นไม่จริงได้
นักปรัชญาที่สนับสนุนคือ ฮังรี แบร๊กซอง ฝรั่งเศส สนับสนุน
ความรู้ชนิดนี้ในพุทธศาสนาคอ การตรัสรู้ เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นในใจโดยตรง ไม่อาศัยสื่อกลาง

5.เพทนาการนิยม คือความรู้ที่เกิดจากการสัมผัสจนเกิดความตรึงตา ฮิวม์สนับสนุน บอกว่า ความรู้ทุกอย่างจะต้องเกิดจากความตรึงตราและความคิด

6.ทฤษฏีประกาศิตนิยม
แหล่งที่มาของความรู้เกิดจาก ได้รับการถ่ายทอดจากผู้รู้ หรือตำราที่น่าเชื่อถือ ผู้ที่สอนต้องมีความรู้จริง ๆ และตำราที่ให้ความรู้นั้นก็ต้องน่าเชื่อถือจริง ๆ เช่นกัน จึงทำให้ผู้ที่ศึกษาได้รับความรู้ที่จริงไปด้วย ความรู้ชนิดนี้อาจมีการครอบงำ เพราะต้องอาศัยความเชื่อ ความศรัทนาในตำรา และผู้สอนเป็นที่ตั้ง จึงจะสามารถเรียนรู้สิ่งที่เขาสอนได้

ไม่มีความคิดเห็น: