วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ปลากับคน

สัญชาติญาณการเอาตัวรอดคือคุณสมบัติพื้นฐานของชีวิต ทั้งพืช-สัตว์ต่างมีวิธีการเอาตัวรอดเพื่อให้ตัวเองยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ อาจเหมือนกันบ้าง คล้ายกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมแล้วทั้งพืช-สัตว์ทุกชนิดจะมีมัน
เช่นเดียวกันกับปลา
ความสามารถในการดมกลิ่นเป็นหนึ่งอย่างในความพิเศษของสัตว์จำพวกนี้
ปลาแซลมอน สามารถจับกลิ่นในความเจือจางถึงหนึ่งต่อแปดพันล้านส่วน (หรือน้อยกว่าเศษหนึ่งส่วนสองร้อยหยดต่อน้ำ 23000 แกลลอน)
ฉลามสามารถสัมผัสกลิ่นเลือดได้ด้วยความเจือจางหนึ่งต่อร้อยล้านส่วน
คุณสมบัติการดมที่ดีของปลาบางชนิด ยังพัฒนาต่อจนสามารถแยกเยอะกลิ่นใดได้ว่า กลิ่นใดเป็นมิตรกลิ่นใดเป็นศัตรู ดังนี้ถ้ามีกลิ่นที่มันไม่พึงประสงค์มันจะไม่เข้าใกล้เป็นอันขาด
จากการทดลองที่สร้างทางน้ำสองสายให้ปลาแซลมอลเลือกว่ายไปทางใดก็ได้ ในครั้งแรกปลาเลือกใช้ทางทั้งสองเส้น แต่พอเอาอุ้งตีนหมีซึ่งเป็นศัตรูของมันหย่อนลงไปในช่องน้ำช่องหนึ่ง ปลาทั้งฝูงก็จะหันไปใช้ทางอน้ำอีกช่องหนึ่งทันที
คุณสมบัติอีกประการที่น่าสนใจคือ การฟังที่ยอดเยี่ยม ปลาไม่มีหู แต่มีอวัยวะสำหรับฟังอยู่ในหัว เสียงจะถูกส่งผ่านน้ำไปที่ผิวหนังและกระดูก อ่อนจะเข้าสู่หูภายในโดยตรง (ปลาบางพันธุ์อาศัยถุงรับลมรับแรงสั่นสะเทือน จากนั้นส่งสัญญาณไปยังหู)
อวัยวะอีกอย่างที่ช่วยปลาในการจับเสียง คือสิ่งที่เรียกว่า “เส้นข้างลำตัว” เส้นข้างลำตัวนี้จะจับเสียงได้ในระยะประมาณ 20-50 ฟุต ทั้งยังสามารถกำหนดจุดได้ว่าที่ใดเป็นแหล่งที่มาของเสียง
คุณสมบัติ ทั้งการดมกลิ่น และการรับฟัง แม้จะยอดเยี่ยม แต่บางคราวก็เป็นดาบสองคม เพราะนักตกปลาที่ทราบดีจะใช้คุณสมบัตินี้ย้อนรอยมัน เช่น ทำให้เกิดเสียงที่มันพึงประสงค์ หรือทำให้เกิดกลิ่นที่มันพึงประสงค์จนมันเข้ามาใกล้ ๆ ก่อนจะถูกจับไปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
บ่อยครั้งชีวิตมนุษย์ก็ไม่ต่างจากปลาสักเท่าไร เพราะบางทีก็ถูกกลิ่นและเสียงที่พึงประสงค์นำพาไปสู่การติดเบ็ด

ไม่มีความคิดเห็น: