วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ดาวพุธ

ดาวพุธ
คนโบราณเชื่อว่า ดาวพุธ คือ ผู้นำสาสน์ของเทพเจ้าและเทพแห่งการเดินทาง เพราะดาวพุธจะปรากฏให้เห็นสลับกันระหว่างช่วงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและช่วงหลังตกในเวลาอันสั้น
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 60 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์เพียง 88 วัน เป็นดาวค่อนข้างเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 4879 กิโลเมตร ผลการคำนวณมวลชี้ให้เห็นว่าดาวพุธมีความหนาแน่นเฉลี่ยถึง 5.4 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร เทียบได้กับความหนาแน่นของโลก คือ 5.5 กรัม/ลบ.ซม. ในขณะที่ดาวพุธมีขนาดเล็กกว่าถึง 1ใน3 แสดงให้เห็นว่า ดาวพุธมีแก่นกลางขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยธาตุเหล็ก ยังมีหลักฐานที่บ่งชี้ความเป็นไปได้อีก คือ การที่เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ธาตุสามารถรวมตัว ขึ้นเป็นดาวเคราะห์จึงต้องมีจุดหลอมเหลวสูงมาก เช่น เหล็ก หรือสารจำพวกออกไซค์ของธาตุต่างๆ
บรรยากาศของดาวพุธ
ด้วยดาวพุธมีมวลน้อย บรรยากาศจึงหนานแน่นเพียง 1 ในพัน ล้าน ล้านเท่าของโลกที่ระดับน้ำทะเล
ธาตุที่พบส่วนในบรรยากาศส่วนใหญ่ คือ ออกซิเจน โซเดียม ไฮโดรเจน และฮีเลียม (จากมาไปน้อย)
การที่ดาวพุธไม่มีบรรยากาศช่วยรักษาระดับอุณหภูมิให้คงที่ ทำให้พื้นผิวด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิสูงสุดถึง 740 เคลวิน ในขณะที่อีกด้านลดต่ำลงเหลือเพียง 90 เคลวิน
พื้นผิวของดาวพุธ
เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต เพราะก้อนอุกกาบากเหล่านั้นสามารถผ่านชั้นบรรยากาศโดยไม่ผ่านการเผาไหม้เลย
* หลุมอุกาบาตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนดาวพุธ คือ แอ่งคาโลริส คือ 1300 กิโลเมตร บริเวณซีกเหนือของดาวซึ่งเกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อยในช่วงถือกำเนิด
แนวผาชัน ปรากฏอยู่ทั่วไป มีความยาวหลายร้อย กิโลเมตร และมีความสูงถึง 3 กิโลเมตร แนวเหล่านี้ คือ รอยย่น ที่เกิดจากการยุบตัวของดาวพุธขณะที่ภายในของดาวเย็นตัวลงในช่วงเวลา 1000 ล้านปีแรก ซึ่งยุบตัวลงประมาณ 4- 8 กิโลเมตรจากเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม
ดาวพุธไม่มีดวงจันทร์บริวาร และมีสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็น ของโลก เนื่องจากสสารเหลวร้อนที่เคยไหลเวียนอยู่ภายในได้แข็งตัวลงเกือบหมดทั้งดวงแล้ว
วงโคจรของดาวพุธ
ในแต่ละรอบการโคจร ดาวพุธโคจรใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดที่ระยะ 46 ล้านกิโลเมตรเรียกว่า จุดเพอริฮีเลียน และออกห่างที่สุดคือ 70 ล้านกิโลมตรเรียกว่า จุดอะฟีเลียน วงโคจรของดาวพุธมีลักษณะ เป็นวงรีมากกว่าดาวดวงอื่นเนื่องจากระยะทางที่ห่างกันระหว่างสองจุด

ไม่มีความคิดเห็น: