วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดี
เป็นดาวเคราะห์ก๊าซอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 5.2 หน่วยดาราศาสตร์ (777 ล้านกิโลเมตร)
* 1 หน่วยดาราศาสตร์คือระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ มีค่า 149597870 กิโลเมตร
บรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม เป็นส่วนใหญ่ (75 และ 25 เปอร์เซ็น)นอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียมแล้ว บรรยากาศของดาวพฤหัสบดียังมี มีเทน แอมโมเนีย ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ดาวพฤหัสบดีปรากฏมีสีแดงเรื่อๆในบริวเณต่างๆ บรรยากาศของดาวเต็มไปด้วยลมแรงทั้งดวง หลายบริเวณมีความเร็วสูงถึง 650 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเกิดจากที่ดาวพฤหัสบดีใช้เวลาหมุนรอบตัวเองเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น
โครงสร้างภายในดาวพฤหัสบดี
ที่ความลึก 14000 กิโลเมตร ก๊าซจะมีความดัน 2 ล้านบรรยากาศ (บาร์) อุณหภูมิ 5000 เคลวินและมีความหนาแน่น 1 กรัม/ลบ.ซม. ที่สภาวะนี้ไฮโดรเจนจะอยู่ในสถานะ โลหะไฮโดรเจน ชั้นนี้มีความหนาประมาณ 45000 กิโลเมตร
* โลหะไฮโดรเจน คือ สถานะที่อะตอมต่างๆในเนื้อสารจะแบ่งปันอิเล็กตรอนร่วมกันคล้ายกับโลหะ
ที่แกนกลาง(ล่างของชั้นโลหะไฮโดรเจน)ประกอบด้วย หิน เหล็ก และสารประกอบไฮโดรเจน มีขนาดมีความดัน 100 ล้านบาร์ ความหนาแน่นของก๊าซประมาณ 25กรัม/ลบ.ซม. (มากกว่าทองคำขาวที่เป็นโลหะที่หนาแน่นที่สุดในโลก) และมีอุณหภูมิสูงถึง 20000 เคลวิน
*เราอาจมองดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวเคราะห์ก๊าซเป็นดาวเคาระห์แข็งซึ่งมีบรรยากาศหนามากก็ได้
ความแปรปรวนและปรากฏการณ์ต่างๆ ในบรรยากาศของดาวได้รับพลังงานมาจากแหล่งความร้อนภายใน นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเกิดจาการที่ดาวพฤหัสบดียุบตัวลงเรื่อยๆ พลังงานศักย์ของเนื้อสารจึงเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนภายใน และแผ่ออกสู่บรรยากาศ
ดาวพฤหัสบดีมีสนามแม่เหล็กเช่นเดียวกับโลก แต่มีความเข้มข้นสูงกว่า 19000 เท่า สนามแม่เหล็กนี้ช่วยปกป้องดาวและบริวารที่อยู่ใกล้ทั้งหมดจากลมสุริยะและอนุภาคพลังงานสูง ลมสุริยะจะเป่าให้ ฟอง แม่เหล็กของดาวพฤหัสบดียืนออกไปไกลกว่า 650 ล้านกิโลเมตร สำหรับด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กถูกลมสุริยะพัดอย่างรุนแรงจึงมีความหนาเพียงไม่กี่ล้านกิโลเมตร สนามแม่เหล็กจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ แสงเหนือแสงใต้ เช่นเดียวกับโลกแต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์จะปะทะเข้ากับแนวเส้นแรงเหล็กของดาว และถูกพาให้ไหลมาตามเส้นแรงเหล็กและเข้าสู่บรรยากาศ จนอะตอมของก๊าซเรืองแสงขึ้น
ดาวพฤหัสบดีมีวงแหนบางๆที่ประกอบด้วยฝุ่น วงแหวนมีความหนาเฉลี่ยน้อยกว่า 10 เซนติเมตรจึงจางมากจนแทบสังเกตไม่ได้จากโลก
วงแหวนหลักอยู่ที่ระยะ 123000-129000 กิโลเมตรมีความกว้างประมาณ 6400 กิโลเมตร จาการศึกษาชี้ให้เห็นว่า อนุภาคขนาดเล็กและฝุ่นผงที่ประกอบกันเป็นวงแหวนจะตกลงสู่ดาวเรื่อยๆ แต่อนุภาคเหล่านี้ก็ไม่หมดไปเพราะฝุ่นที่เกิดจากการชนของอุกกาบาตขนาดเล็กกับดวงจันทร์ชั้นในของดาวจะ เติม วงแหวนอยู่เรื่อยเช่นกัน
ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
มีดวงจันทร์ที่นักดาราศาสตร์รู้จักแล้ว 61 ดวง (สิงหาคม ค.ศ. 2003) ตั้งชื่อแล้ว 27 ดวง
ไอโอ อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีประมาณ 420000 กิโลเมตร เป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียวที่มีภูเขาไฟระเบิดจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ ภายในยังมีความร้อยอยู่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3630 กิโลเมตร สาเหตุที่ภายในของยังร้อนอยู่เพราะกลไกความร้อนไทดอล ซึ่งเกิดจากแรงไทดอล อันมหาศาลของดาวพฤหัสบดีที่บิดไอโอเปลี่ยนรูปไปมาได้ถึง 100 เมตรตลอดเวลาที่ดาวโคจร การเสียดสีจากการเปลี่ยนรูปทำให้ไอโอยังคงร้อนอยู่ คล้ายกับการผิดลวดไปมาซึ่งจะร้อนขึ้น จุดที่ร้อนที่สุดของดาวมีอุณหภูมิ 2000 เคลวิน และเย็นที่สุด คือ 130 เคลวิน
*แรงไทดอล คือ แรงเสมือนที่เกิดจากความต่างของแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อบริเวณต่าง ของวัตถุไม่เท่าเทียมกัน
ยุโรปา อยู่ห่างประมาณ 68000 กิโลเมตร มีขนาด 3138 กิโลเมตร มีพื้นผิวเป็นน้ำแข็งเรียบ มีเนินเขาไม่สูงนักและหลุมอุกาบาตเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวเป็นพื้นที่ค่อยข้างใหม่ และยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่จนถึงทุกวันนี้เชื่อกันว่าภายใต้ชั้นน้ำแข็ง คือมหาสมุทรที่ลึกถึง 100 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ได้ด้วยความร้อนจากกลไกไทดอล
แกนีมีด เป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีประมาณ 1 ล้านกิโลเมตร มีขนาด 5262 กิโลเมตร พื้นผิวเย็นตัวลงบ้างแล้ว เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต และมีสนามแม่เหล็กอยู่แต่เบาบางมาก
คัลลิสโต อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดี 1.9 ล้านกิโลเมตร มีขนาด 4800 กิโลเมตร มีลักษณะคล้ายแกนีมีด แต่ยังมีปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาหลงเหลืออยู่มากกว่า

ไม่มีความคิดเห็น: