วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ดาวศุกร์

ดาวศุกร์
เป็นดาวที่สุกสว่างที่สุดบนท้องฟ้า ผู้คนสมัยโบราณเชื่อว่าเป็นเทพธิดาแห่งความงาม หากปรากฏขึ้นในเวลาเช้า เรียกว่า ดาวประกายพรึก และเรียก ว่าดาวประจำเมือง เมืองปรากฏในเวลาพลบค่ำ
ระยะห่างเฉลี่ยในการโคจรคือ 110 ล้านกิโลเมตรจากดวงอาทิตย์ ใช้เวลาประมาณ 224 วันของโลก แต่ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองถึง 243 วัน และยังหมุนตามเข็มนาฬิกาซึ่งต่างจากดาวดวงอื่นๆ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า สาเหตุที่แกนเอียงไปจนเกือบกลับหัวจนทำให้หมุนกลับข้าง น่าจะมาจากการชนของดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในช่วงที่ระบบสุริยะยังมีอายุน้อย
มีคำกล่าวว่าดาวศุกร์เป็น ดาวน้องสาวของโลก เนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพหลายประการที่คล้ายกัน ขนาดและมวลน้อยกว่าโลกเพียงเล็กน้อยและยังมีวงโคจรอยู่ใกล้โลกมากคือ 40 ล้านกิโลเมตร นอกจากนี้พื้นผิวยังมีภูเขาไฟระเบิด และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกดาว ต่างจากดาวเคราะห์แข็งดวงอื่นๆ
ดาวศุกร์แทบไม่มีสนามแม่เหล็กอยู่เลย สาเหตุคาดว่าน่าจะมาจาการที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองช้ามาก ผลอีกประการหนึ่งคือ พื้นผิวมีลมพัดเพียงเอื่อยๆเท่านั้น ทำให้พื้นผิวดาวยิ่งร้อนขึ้นไปอีก
บรรยากาศของดาวศุกร์
ชั้นบรรยากาศประกอบด้วยเมฆหนาทึบ สามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ได้เป็นอย่างดี พื้นผิวมีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ คือ 737 เคลวิน ซึ่งร้อนพอที่จะหลอมตะกั่วได้ และมีความดันสูงถึง 92 เท่าของความดันบรรยากาศโลก เทียบได้กับความดันของน้ำใต้ทะเลลึก 900 เมตร
ชั้นของเมฆประกอบด้วยกำมะถัน จากการระเบิดของภูเขาไฟ และหยดน้ำซึ่งกลั่นตัวได้ในบรรยากาศชั้นบนของดาวที่เย็นกว่าบริเวณพื้นผิวมาก กรดกำมะถันและหยดน้ำจะรวมตัวกันเป็นฝนกรดตกลงมา แต่ฝนกรดเหล่านี้ไม่มีโอกาสาที่จะตกลงถึงผิวดาวได้เลย เพราะเมื่อฝนกรดมาได้ระยะหนึ่งจะได้รับความร้อนจากผิวดาว ก่อนจะระเหยกลับกลายเป็นไอ เป็นวงจรหมุนเวียนไปเรื่อยๆ

ลักษณะภูมิประเทศของดาวศุกร์
เป็นที่ราบและภูเขาไฟคุกกรุ่น แทบไม่มีหุบเหวลึกหรือเทือกเขาสูงอยู่เลย ไม่มีหลุมอุกกาบาตมากนัก เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นจนเผาใหม่ชิ้นส่วนอุกกาบาตได้มากตามไปด้วย และยังมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาอยู่ตลอดเวลา
ปรากฏการณ์เรือนกระจกแบบกู่ไม่กลับ
ด้วยเหตุที่หมุนรอบตัวเองเป็นเวลานานและมีชั้นบรรยากาศหนาแน่น
ปรากฏการณ์เรือนกระจก เกิดจากก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศยอมให้แสงและพลังงานในช่วงคลื่นที่มองเห็นได้ ส่องทะลุลงมายังผิวดาว ในขณะที่ปิดกั้นพลังงานในช่วงคลื่นรังสีอินฟราเรดซึ่งมีความยาวคลื่นกว่าแผ่ออกจากผิวดาวแต่ไม่ให้แผ่กลับไปยังอวกาศ ผลคือพื้นผิวดาวมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ปรากฏการณ์เรือนกระจกทำให้อุณหภูมิผิวดาวระหว่างกลางวันและกลางคืนคงที่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อย
*หากโลกไม่มีปรากฏการณ์เรือนกระจก อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากระหว่างกลางวันและกลางคืน ดังเช่นดาวพุธหรือดวงจันทร์ที่กลางวันและกลางคืนต่างกันหลายร้อยองศา

ไม่มีความคิดเห็น: