วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

ดวงอาทิตย์ (๔)

ปรากฏการณ์ บนผิวของดวงอาทิตย์
1.จุดบนดวงอาทิตย์
บนผิวของดวงอาทิตย์จะมีจุดๆ สีดำปรากฏให้เห็นประปราย จุดเหล่านี้มักเรียกว่า-จุดดับบนดวงทิตย์ อันเป็นความเข้าใจผิด แท้จริงแล้วจุดดังกล่าวนั้น คือบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าผิวของดวงอาทิตย์รอบข้างประมาณ 1000 เคลวิน
*แม้ว่าจุดดังกล่าวจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณรอบข้าง แต่ก็ยังพอที่จะทำให้เหล็กหลอมละลายได้
2.เปลวสุริยะ
เป็นการระเบิดที่ทำให้มวลสารกระเด็นขึ้นมาสูงจากพื้นผิว ด้วยเส้นแรงแม่เหล็กที่พุ่งขึ้นเหนือผิวดวงอาทิตย์ จะทำให้มวลสารที่มีประจุลอยไปตามเส้นแรงแม่เหล็ก
ในกรณีที่การระเบิดรุนแรงมาก มวลสารบางส่วนอาจพุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วหลุดพ้นของดวงอาทิตย์ ทำให้มวลสารเหล่านั้นหลุดออกไปกลายเป็นพลาสมาที่เคลื่อนที่ในอวกาศ
*ความเร็วหลุดพ้น(ของดวงอาทิตย์) มีค่า 618 กิโลเมตร/วินาที
3.ปรากฏการณ์ลุกจ้า
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการระเบิด แต่อยู่บริเวณพื้นผิวของดวงอาทิตย์เท่านั้น
4.ลมสุริยะ
หมายถึง อนุภาคพลังงานสูงที่เคลื่อนไปในอวกาศ
เมื่ออนุภาคพลังงานสูงเคลื่อนที่ออกจากดวงอาทิตย์ ปะทะเข้ากับหัวของดาวหาง ทำให้เกิดการระเหิดกลายเป็นหางก๊าซยาวหลายล้านกิโลเมตร
ลมสุริยะมีอุณหภูมิสูงมากคือ 1000000-2000000 เคลวิน แต่ในสภาวะปกติจะเบาบางมาก จึงไม่เป็นอันตรายต่อยานอวกาศ
*เบาบางมาก เมื่อเทียบกับ การตักอากาศที่ใช้หายใจ กับอนุภาคพลังงานสูง ต่อหนึ่งหน่วยลูกบาศก์เซนติเมตร เช่น ตักลมสุริยะ(อนุภาคพลังงานสูง) มา 1 ลบ.ซม จะได้โปรตอนมา 5 ตัว ( 5โปรตอน/ลบ.ซม.) ในขณะที่ ตักอากาศหายใจมา 1 ลบ.ซม.ได้อนุภาคของก๊าซมากถึง 27 ล้าน ล้าน ล้านอนุภาค

ไม่มีความคิดเห็น: