วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

อภิปรัชญา (๒)

2.ธรรมชาตินิยม (สัจจนิยม หรือ ธรรมชาตินิยมเชิงวิพากษ์) เชื่อว่า ความจริงแท้คือสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ
ธรรมชาติ คือ 1.สิ่งที่ดำรงอยู่ในระบบของอวกาศและเวลา 2.เกิดขึ้นและจบลงไปโดยมีสาเหตุ

ความเชื่อของธรรมชาตินิยมที่ต่างจากสสารนิยมคือ
1.ในเรื่องวิวัฒนาการ และคุณภาพกับการลดทอน
-สสารนิยม เชื่อว่า กระบวนการวิวัฒนาการไม่มีสิ่งใหม่เกิดขึ้น คุณภาพกับปริมาณไม่ต่างกัน คุณภาพสามารถถูกลดทอนลงเป็นปริมาณได้
-ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า กระบวนการวิวัฒนาการทำให้เกิดสิ่งใหม่ เป็นคุณภาพใหม่ไม่สามารถลดทอนได้ สิ่งใหม่เกิดขึ้น คุณภาพใหม่เกิดขึ้น
2.ความเชื่อเกี่ยวกับจำนวนความจริง
-สสารนิยมเชื่อว่า สิ่งที่เป็นจริงมีสิ่งเดียว (เอกนิยม)
-ธรรมชาตินิยมเชื่อว่า ส่งที่เป็นจริงมีมากกว่าหนึ่ง(พหุนิยม)
3.ในเรื่องความแน่นอนของกลศาสตร์
-สสารนิยมเชื่อในความแน่นอนของกลศาสตร์
-ธรรมชาตินิยมกล่าวว่า อนุภาคเล็ก ๆ ไม่แน่นอน ทำนายการเคลื่อนที่ และทิศทางได้ยาก

3.จิตนิยม
-ความจริงคือจิต
-สิ่งมีชีวิตประกอบด้วย 2 ส่วน คือ กาย และใจ
-อสสาร ไม่กินที่ ไม่มีน้ำหนัก

ชนิดของจิตนิยม
1.จิตนิยมอัตวิสัย
-ผู้ที่สนับสนุน เบอคเคลย์
-สิ่งที่มีอยู่รับรู้ได้ ถ้ารับรู้ไม่ได้คือไม่มีอยู่

2.ค้านท์
-สิ่งที่เป็นจริงเรียกว่า Numena เราไม่สามารถรับรู้ได้
-Phenumena เราสามารถรับรู้ได้ เป็นสิ่งที่ปรากฏแก่ประสาทสัมผัส
-สิ่งที่รับ กับการรับรู้มันแล้ว แตกต่างกัน เพราะสิ่งที่รับเมื่อผ่านการรับรู้จะถูกแปรรูปโดยความนึกคิด

3.จิตนิยมสมบูรณ์
-ผู้สนับสนุน เฮเกล
-จิตเคลื่อนไหว แล้ววิวัฒนาการ
-ทุกอย่างวิวัฒนาการมากจากจิตที่ยิ่งใหญ่ (จิตของพระเจ้า)

4.จิตนิยมเชิงวัตถุวิสัย
-ผู้สนับสนุน เพลโต
-ความจริงมีโดยตัวของมันเอง (วัตถุวิสัย)
-ความคิดมีอยู่จริง มีอยู่ในโลกของ มโนคติ (โลกของแบบ)

ไม่มีความคิดเห็น: