วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

ดวงอาทิตย์ (๒)

กระบวนการถ่ายเทพลังงานของดวงอาทิตย์
การถ่ายเทพลังงานจากดวงอาทิตย์มี 3 ขั้นตอน คือ หลังจากที่พลังงานกำเนิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่แกน พลังงานปริมาณมหาศาลจะพุ่งออกโดยวิธีการแผ่รังสี จนถึงระยะความลึกระดับหนึ่ง และเปลี่ยนวิธีการถ่ายเทความร้อนเป็นการ พาความร้อน จนมาถึงผิว และจากนั้นพลังงานจากดวงอาทิตย์จึงส่งต่อมายังบริเวณอื่นๆ ด้วยวิธี แผ่รังสี อีกครั้ง
* การนำความร้อน คือ การที่ความร้อนถูกถ่ายเทผ่านตัวกลาง เช่น การที่หูของหม้อ เมื่อผ่านไประยะหนึ่งหม้อที่ต้มน้ำ จะทำให้หูร้อนตามไปด้วย
* การพาความร้อน คือ การที่ตัวกลางได้รับความร้อนและเคลื่อนที่ไป และพาความร้อนไปด้วย เช่น การต้มหมูในน้ำ น้ำจะได้รับความร้อน และพาความร้อนเข้ามายังชิ้นหมู ทำให้หมูสุก
* การแผ่รังสี เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้ตัวกลาง โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงแผ่ออกจากแหล่งกำเนิดโดยรอบ

โครงสร้างภายในของดวงอาทิตย์
โครงสร้างชั้นแรกถัดจากแกนกลางของดวงอาทิตย์ออกมา เรียกว่า ชั้นแผ่รังสี ในชั้นนี้พลังงานที่กำเนิดจากแกนกลาง จะถูกส่งออกมาอย่างรวดเร็วและมีปริมาณมากเกินกว่าจะสามารถถ่ายเทไปได้ด้วยตัวกลางใดๆ สสารทุกอย่างในชั้นนี้ร้อนจนกลายเป็นไอและประจุไฟฟ้า ดังนั้นพลังงานที่กำเนิดจึงพุ่งผ่านไปด้วยการ แผ่รังสี มีอุณหภูมิลดลงจากแกนกลางเหลือประมาณ 2-3 ล้านเคลวิน
*ระยะของการแผ่นรังสีอยู่ที่ประมาณ 400000 กิโลเมตร
ถัดมาคือชั้น ก๊าซร้อนหมุนวน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางพาความร้อน โดยการหมุนวน จากระดับที่ต่ำกว่าขึ้นไปยังพื้นผิวและตกกลับลงมาใหม่ เรียกว่าการหมุนวน
*การหมุนวน ตัวอย่าง ต้มน้ำในหม้อ ความร้อนไม่เพียงถูกถ่ายโดยการนำความร้อนเพียงอย่างเดียว แต่จะมีการหมุนวนอีกด้วย เพราะเมื่อน้ำที่อยู่ก้นหม้อได้รับความร้อนจะทำให้เกิดการขยายตัวมีความหนาแน่นน้อยลง และลอยไปยังผิวของน้ำ ในขณะเดียวกันน้ำจากผิวด้านบนที่เย็นกว่าและมีความหนาแน่นมากกว่าจะจมลงไปแทนที่ ส่วนน้ำที่ลอยบนผิวน้ำ จะคายความร้อนให้แก่อากาศรอบข้างจนเย็นตัวลง และกลับจมลงไปแทนที่น้ำที่ร้อนจากด้านล่างอีกครั้ง จะหมุนวนเช่นนี้อยู่เรื่อยๆ
ดวงอาทิตย์ มีขนาดใหญ่มาก จึงส่งผลให้กระบวนการถ่ายเทความร้อนชนิดนี้ใช้เวลานานถึง 100000-500000 ปี จึงจะมาถึงผิวของดวงอาทิตย์
*ด้วยการหมุนวนนี้เองส่งผลให้ผิวของดวงอาทิตย์ไม่ราบเรียบ หากแต่มีลายเป็นเม็ดเล็กๆ

ไม่มีความคิดเห็น: