วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

ดวงอาทิตย์ (๓)

ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์
แบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ
โฟโตสเฟียร์ –ผิวดวงอาทิตย์และบรรยากาศชั้นล่าง
คือตั้งแต่ระดับผิวดวงอาทิตย์จนถึงความสูงประมาณ 850 กิโลเมตร โฟโต-แสง และสเฟียร์-ทรงกลม รวมกันมีความหมายว่า ทรงกลมแห่งแสง
นักดาราศาสตร์สมัยโบราณ สังเกตปรากฏการณ์ สุริยุปราคา เมื่อดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมด ผู้สังเกตบนโลกจะไม่เห็นผิวดวงอาทิตย์เลย และทำให้บรรยากาศรอบข้างมืดลงจนคล้ายเวลาค่ำ จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า –ถ้าดวงอาทิตย์ส่วนนี้ถูกบังไปหมดแล้วแสงหายไป ย่อมแสดวงว่าส่วนนี้ต้องเป็นส่วนที่ให้แสง
ดังนั้นขณะที่เรามองดวงอาทิตย์เราก็กำลังมองบรรยากาศชั้นโฟโตสเฟียร์อยู่นั่นเอง นอกจากจะเป็นชั้นที่สองสว่างแล้ว ก็ยังมีปรากฏการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นอีกหลายอย่าง คือ จุดบนดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ และ ปรากฏการณ์ดอกดวงบนดวงอาทิตย์ อุณหภูมิในชั้นนี้อยู่ที่ 5700-5800 เคลวิน
โครโมสเฟียร์ --ทรงกลมแห่งสีสัน
อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 900-3000 กิโลเมตรเหนือผิวดวงอาทิตย์ โครม-สี และสเฟียร์-ทรงกลม รวมกันเรียกว่า ทรงกลมแห่งสี
ด้วยเหตุที่อยู่สูงกว่าชั้น โฟโตสสเฟียร์ทำให้ขณะที่ เกิดเหตุการณ์สุริยุปราคา ดวงจันทร์เข้ามาบดบัง การระเบิดของก๊าซร้อน จึงทำให้ปรากฏเป็นแสงสีแดงเรื่อๆ ที่ขอบของดวงจันทร์(*ยังไม่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง)
มีอุณหภูมิประมาณ 6000-10000 เคลวิน ปรากฏการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น คือ เปลวสุริยะ
โคโรนา—บรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์
อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 5000 กิโลเมตร และแผ่ออกไปกว่า 1000000 กิโลเมตร (โคโรนา ภาษาละติน –มงกุฎ เพราะเปล่งแสงคล้ายมงกุฎ)
โคโรนาเป็นชั้นที่มีพื้นที่มากที่สุด แต่มีความสว่างน้อยมากคือ หนึ่งในล้านของชั้น โฟโสเฟียร์
มีอุณหภูมิ ประมาณ 2000000 เคลวิน

ไม่มีความคิดเห็น: