วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์
สุนทรี (งาม) + ศาสตร์ (วิชา) = วิชาว่าด้วยความงาม มาจากภาษาสันสฤต

ทัศนคติเกี่ยวกับสุนรียศาสตร์
ตาตาร์ กิวิ นักปรัชญาชาวโปแลนด์ กล่าวว่า “ตรรกศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มีความหมายเกี่ยวกับความงาม และการรับรู้”
ค้านท์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน สุนทรียศาสตร์เป็นความรู้ที่เป็นจริงในตัวเอง ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งใด หรือการรับรู้ของผู้ใด แต่สัมพันธ์กับความพึงพอใจ
ซาตายานา นักปรัชญา กล่าวว่าสุนทรียศาสตร์ คือ ศาสตร์แห่งความรู้สึก ทั้งทุกข์และสุข
ทัศนะนี้มีคนยอมรับมาก เพราะไม่ได้เจาะจงอารมณ์ความรู้สึกทางด้านบวกหรือลบแต่อย่างเดียว (แตกต่างจาก ของค้านท์คือ ค้านท์มีแต่อารมณ์ด้านบวก)

สิ่งที่สนุทรียศาตร์ศึกษา
-อะไรคือความงาม
-มันมีค่าในตัวเองหรือมีค่านอกตัวเอง กล่าวคือ หากไม่มีผู้รับรู้มันยังจะมีความงามหรือไม่ ถ้ามีก็หมายความว่ามันมีค่าในตัวเอง
-เกณฑ์ในการตัดสินว่าอะไรคือ “ความงาม”

ประโยชน์ของการศึกษาสุนทรียศาสตร์
-ช่วยให้เห็นคุณค่าของความงาม
-จิตใจละเอียดอ่อนประณีตมากขึ้น
-แก้ไข ปัญหาต่าง ในการดำเดินกิจกรรมทางศิลปะได้

สุนทรียศาสตร์กับศิลปะ
ศิลปะคือส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์
ศิลปะ คือ การสร้างสรรค์จินตนาการของมนุษย์
ประเภทของศิลปะมี 3 ประเภท คือ
1.ทัศนศิลป์ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม
2.จินตนศิลป์ เช่น ดนตรี และวรรณคดี
3.ประยุกต์ศิลป์ เช่น ลีลาศ ละคร ภาพยนตร์

สุนทรียธาตุ สัดส่วนที่ทำให้เกิดความงาม หรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความงาม มีดังนี้
-สัดส่วนถูกต้อง เหมาะสม
-มีความแปลกตา
-คุณค่าของสิ่งต่าง

เกณฑ์ในการตัดสินความงาม
-กลุ่มอัตนัยนิยม เชื่อว่า ความงามเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ดังนี้ เกณฑ์การตัดสินก็คือมนุษย์ ถ้าไม่มีมนุษย์ก็จะไม่มีความงาม
-กลุ่มปรนัยนิยม เชื่อว่า เกณฑ์ตัดสินมีจริง ความงามีจริงอยู่ในตัว ไม่ว่าจะมีมนุษย์หรือไม่ความงามก็ยังคงมีอยู่
นักปรัชญาที่สนับสนุนกลุ่มนี้ เช่น อริสโตเติ้ล เพลโต เป็นต้น
-กลุ่มสัมพันธ์นิยม เชือว่า ความงามขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น วัฒนธรรม สังคม หรือภูมิประเทศ เป็นต้น
-กลุ่มประโยชน์นิยมเชื่อว่า ความงามคือสิ่งที่มีประโยชน์และให้ความสุข

ไม่มีความคิดเห็น: