วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

อภิปรัชญา (๑)

อภิปรัชญา คือ สาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับความจริง
ความเป็นจริง มี 3 ประเภท
1.ความจริงขั้นสมมุติ เช่น ความจริงทางสังคม
2.ความจริงตามสภาพ เช่น อนุภาคพื้นฐาน
3.ความจริงปรมัตถ์ คือ ความจริงแท้ของสิ่งนั้น ๆ

ทางปรัชญาแบ่งความจริงเป็น 2 ระดับ
1.สภาพที่ปรากฏ คือ สิ่งที่ปรากฏแก่ประสาทสัมผัส
2.สภาพที่เป็นจริง คือ สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่ประกอบเป็นสิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถลดทอนลงได้อีกแล้ว

ลัทธิความเชื่อในอภิปรัชญา
1.ลัทธิสสารนิยม เชื่อว่า ความจริงแท้อยู่ในสสาร

ลักษณะของลัทธิสสารนิยม
- เป็นเอกนิยม คือ เชื่อว่าความจริงมีเพียงสิ่งเดียว
- ยอมรับการลดทอน
- ค่าเป็นสิ่งสมมติ เช่น ค่าทางศีลธรรม ค่าทางสุนทรียะ
-ทุกอย่างอยู่ในระบบจักรกล คือ ทำงานอย่างเป็นกลไก

ชนิดของสสารนิยม
1.จารวาก
-ไม่เชื่อว่า มีกรรม และผลของกรรม
- สรรพสิ่งเกิดจากธาตุทั้ง 4

2.เดโมคลิตุส
-สรรพสิ่งถูกประกอบสร้างมาจากสิ่งที่เรียกว่า “อะตอม” (แบ่งแยกอีกไม่ได้)

3.โทมัส ฮอป
-ทฤษฏีจักรกล ทุกอย่างอยู่ในระบบจักรกล ทำงานกันอย่างเป็นระบบ

4.สสารนิยมเชิงปฏิพัฒนาการ
-สสารไม่หยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงเป็นผลผลิต พัฒนาไปสู่สสาร

ไม่มีความคิดเห็น: