วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความชอบพอ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความชอบพอ
1.ความใกล้ชิด
2.คุณสมบัติส่วนบุคคล
3.ความพอใจ
4.ทฤษฏีสมดุล
5.ความคล้ายคลึง

1.ความใกล้ชิด
- ความใกล้ชิดกันมีโอกาสทำให้บุคคลเกิดความชอบพอกันมากกว่าความห่างไกลกัน
- ความคุ้นเคย นำไปสู่ความชอบพอ การพบเห็นกันหน้ากัน มีผลต่อความชอบพอ
- การได้สังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกัน
- การรู้ใจกัน

2.คุณสมบัติส่วนบุคคล
- คุณสมบัติของคนที่เป็นคนที่น่าชอบพอ คือ จริงใจ ซื่อสัตย์ เข้าใจผู้อื่น จงรักภักดี
-คุณสมบัติของคนที่ไม่เป็นคนที่น่าชอบพอ คือ คนโกหก หลอกลวง คดโกง
-ความสวย หล่อ มนุษย์มีแนวโน้มตัดสินคนที่หน้าตาก่อน แต่สำหรับการเกลือคู่แล้ว คุณสมบัติอื่นสำคัญกว่า
คนมักจับคู่กับคนที่มีความสวย หล่อ พอ ๆ กับตนเอง เพราะ กลัวถูกปฏิเสธ
ความสวย หล่อ มักได้รับการมองว่ามีลักษณะอื่น ๆ ดีไปด้วย ทั้งที่ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น

3.ความพอใจ
-ผลแห่งความพอใจ ความพอใจเป็นสิ่งที่เราชอบ ดังนี้ คนที่ทำให้เราพอใจจึงสามารถเป็นคนที่เรา(อาจ)ชอบ
-การย้อนกลับ ถ้าเราทราบว่าเขาชอบเรา เรามีแนวโน้มจะชอบเขาย้อนกลับ มากกว่าไม่ชอบ
-การประจบประแจง ถ้าเราคิดว่าผู้พูด พูดโดยหวังผลประโยชน์ โอกาสชอบบุคคลนั้นจะลดลง

4.ทฤษฏีสมดุล
-คนจะชอบ บุคคลที่มีความคิด ความชอบ ความเชื่อ ความรู้สึกที่ทั้งสอดคล้องและไม่สอดคล้องกันตนได้

5.ความคล้ายคลึง
-ความคล้ายคลึงมีหลายด้าน เช่น ทัศนคติ ความเห็น ความเชื่อ ความสนใจ อาชีพ สถานภาพ อายุ เชื้อชาติ วัฒนธรรม
-ข้อยกเว้นความชอบพอจากความคล้ายคลึง คือ บุคลิกภาพ
-การประกอบสมบูรณ์
ผู้คนมักเลือกผู้มีบุคลิกภาพที่ประกอบสมบูรณ์กับตนเพื่อเป็นเพื่อนหรือคู่ชีวิต เช่น ชายก้าวร้าวมักเลือกคบหญิงที่ไม่ก้าวร้าว หญิงที่ชอบจะเลือกคบชายนักฟัง
-ลักษณะที่ต่างกัน เป็นการเสริมแรงให้กับความต้องการอีกคนหนึ่ง เช่นเป็นคนชอบพูด การมีคนตั้งใจฟัง จะเสริมแรง จึงเกิดความรู้สึกชอบคนนั้นมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: