วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

ดวงอาทิตย์ (๕)

สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์คือก้อนก๊าซ ที่สามารไหลวนได้อย่างอิสระจึงทำให้ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองที่ตำแหน่งใดๆ ไม่เท่ากัน เช่น บริเวณเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ใช้เวลาหมุนรอบตัวเองเพียง 25.5วัน ในขณะบริเวณขั้วใช้เวลา 33 วัน ความเร็วที่ต่างกันนี้เองทำให้เส้นแรงแม่เหล็กถูกเนื้อสารของดวงอาทิตย์ ดึง และเกิดการซ้อนทับกันในบางบริเวณมากกว่าปกติ
ธรรมชาติประการหนึ่งของก๊าซ(หรือสสาร)ที่มีประจุไฟฟ้าใดๆ คือ จะเคลื่อนที่ไปตามเส้นแรงแม่เหล็กเสมอ (ไม่เคลื่อนที่ตัดผ่านแนวของแรงแม่เหล็ก) ดังนั้นบริเวณที่มีเส้นแรงแม่เหล็กมาก ก๊าซมีประจุจากชั้นแผ่รังสีก็จะเคลื่อนผ่านมากตามไปด้วย เกิดความร้อนสูงกว่ารอบด้าน ส่งผลให้พลาสมาลอยตัวขึ้นสู่ผิวดวงอาทิตย์จนความหนาแน่นเบาบางลง การลอยตัวของพลาสมาจะดึงเส้นแรงแม่เหล็กให้ลอยขึ้นเสมือน ท่อ ก่อนจะพุ ออกที่ผิวของดวงอาทิตย์ เนื่องจากก๊าซที่มีประจุจะไม่เคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็กทำให้พลังงานที่ได้รับน้อยลงกว่าเดิม จนเกิดเป็น -จุดบนดวงอาทิตย์
*จุดบนดวงอาทิตย์ ไม่ได้มีจำนวนคงที่เท่ากันตลอดเวลา แต่จะเพิ่มและลดลงสลับกันไปเป็นรอบๆ โดยแต่ละรอบจะมีระยะเวลา 11 ปี นั่นคือในเวลา 11 ปีจำนวนจุดบนดวงอาทิตย์จะเพิ่มสูงถึงจุดสูงสุด จากนั้นจะลดลงถึงจำนวนต่ำสุด และเพิ่มขึ้นสลับกันไปเรื่อยๆ
ในช่วงเพิ่มขึ้นสูงสุด แสดงให้เห็นว่าสนามเหล็กบนดวงอาทิตย์มีความแปร -ปรวนมาก เปิดโอกาสให้พลาสมาระเบิดขึ้นสูงชั้นบรรยากาศ เป็น เปลวสุริยะ หรือการลุกจ้า และการเกิดเปลวสุริยะมากก็จะเป็นตัวเร่งให้กำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง อีกทั้งยังทำให้มีอนุภาคบางส่วนหลุดจากดวงอาทิตย์แผ่มายังโลกในรูปของลมสุริยะอีกด้วย
เมื่อลมสุริยะแผ่มาถึงโลก อนุภาคพลังงานสูงจะเคลื่อนที่ไปตามเส้นแรงแม่เหล็กของสนามแม่เหล็กซึ่งห่อหุ้มโลกไว้ แต่เนื่องด้วยขั้วโลกทั้งสอง (เหนือ-ใต้) มีเส้นแรงแม่เหล็กที่แผ่ออกมา อนุภาคบางส่วนจะวิ่งตามเส้นแรงแม่เหล็กนั้นลงมาใกล้ผิวโลกและถ่ายเทพลังงานให้กับบรรยากาศชั้นบน ทำให้โมเลกุลของก๊าซในบรรยากาศเรืองแสงเรียกว่า แสงเหนือ-แสงใต้

ไม่มีความคิดเห็น: