วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ปลากับคน

สัญชาติญาณการเอาตัวรอดคือคุณสมบัติพื้นฐานของชีวิต ทั้งพืช-สัตว์ต่างมีวิธีการเอาตัวรอดเพื่อให้ตัวเองยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ อาจเหมือนกันบ้าง คล้ายกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมแล้วทั้งพืช-สัตว์ทุกชนิดจะมีมัน
เช่นเดียวกันกับปลา
ความสามารถในการดมกลิ่นเป็นหนึ่งอย่างในความพิเศษของสัตว์จำพวกนี้
ปลาแซลมอน สามารถจับกลิ่นในความเจือจางถึงหนึ่งต่อแปดพันล้านส่วน (หรือน้อยกว่าเศษหนึ่งส่วนสองร้อยหยดต่อน้ำ 23000 แกลลอน)
ฉลามสามารถสัมผัสกลิ่นเลือดได้ด้วยความเจือจางหนึ่งต่อร้อยล้านส่วน
คุณสมบัติการดมที่ดีของปลาบางชนิด ยังพัฒนาต่อจนสามารถแยกเยอะกลิ่นใดได้ว่า กลิ่นใดเป็นมิตรกลิ่นใดเป็นศัตรู ดังนี้ถ้ามีกลิ่นที่มันไม่พึงประสงค์มันจะไม่เข้าใกล้เป็นอันขาด
จากการทดลองที่สร้างทางน้ำสองสายให้ปลาแซลมอลเลือกว่ายไปทางใดก็ได้ ในครั้งแรกปลาเลือกใช้ทางทั้งสองเส้น แต่พอเอาอุ้งตีนหมีซึ่งเป็นศัตรูของมันหย่อนลงไปในช่องน้ำช่องหนึ่ง ปลาทั้งฝูงก็จะหันไปใช้ทางอน้ำอีกช่องหนึ่งทันที
คุณสมบัติอีกประการที่น่าสนใจคือ การฟังที่ยอดเยี่ยม ปลาไม่มีหู แต่มีอวัยวะสำหรับฟังอยู่ในหัว เสียงจะถูกส่งผ่านน้ำไปที่ผิวหนังและกระดูก อ่อนจะเข้าสู่หูภายในโดยตรง (ปลาบางพันธุ์อาศัยถุงรับลมรับแรงสั่นสะเทือน จากนั้นส่งสัญญาณไปยังหู)
อวัยวะอีกอย่างที่ช่วยปลาในการจับเสียง คือสิ่งที่เรียกว่า “เส้นข้างลำตัว” เส้นข้างลำตัวนี้จะจับเสียงได้ในระยะประมาณ 20-50 ฟุต ทั้งยังสามารถกำหนดจุดได้ว่าที่ใดเป็นแหล่งที่มาของเสียง
คุณสมบัติ ทั้งการดมกลิ่น และการรับฟัง แม้จะยอดเยี่ยม แต่บางคราวก็เป็นดาบสองคม เพราะนักตกปลาที่ทราบดีจะใช้คุณสมบัตินี้ย้อนรอยมัน เช่น ทำให้เกิดเสียงที่มันพึงประสงค์ หรือทำให้เกิดกลิ่นที่มันพึงประสงค์จนมันเข้ามาใกล้ ๆ ก่อนจะถูกจับไปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
บ่อยครั้งชีวิตมนุษย์ก็ไม่ต่างจากปลาสักเท่าไร เพราะบางทีก็ถูกกลิ่นและเสียงที่พึงประสงค์นำพาไปสู่การติดเบ็ด

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการโจโฉ (ย่อ)

โจโฉยังแค้นเล่าปี่และม้าเท้งอยู่ เมื่อครั้งที่เคยลงชื่อกำจัดตนร่วมกับขุนนางคนอื่น แต่ด้วยเมืองเสเหลียงมีกำลังทหารแข็งแกร่งยากแก่การปราบปราบโดยง่าย ดังนั้นโจโฉจึงยกทัพไปตีเมืองชีจิ๋วของเล่าปี่แทน
เล่าปี่กับเตียวหุยอยู่เมืองเสียวพ่าย เมื่อทราบข่าวโจโฉยกมาบุก นำกำลังออกไปรบแต่ปรากฏว่าแตกทัพ เล่าปี่หนีไปหาอ้วนเสี้ยว ฝ่ายเตียวหุยนำทหารที่เหลือตีฝ่าออกมา
เมื่อครั้งรวมกำลัง 17 หัวเมืองต่อสู้ตั๋งโต๊ะ กวนอูได้แสดงฝีมือเอาชนะนายทัพคนหนึ่ง(ฮัว- หยง) โจโฉรู้สึกพอใจกวนอูเป็นอันมาก ครานี้มีโอกาส สั่งเตียวเลี้ยวไปเกลี่ยกล่อมกวนอู(ใช้อุบายล่อกวนอูออกมาและยึดเมืองแห้ฝือ) กวนอูตรึกตรองผลดี-เสีย ที่เตี้ยวเลี้ยวชี้แจง เห็นว่ามีเหตุผล แต่ขอคำสัญญาไว้สามประการ
๑.ขอเป็นข้าพระเจ้าเหี้ยนเต้
๒.ขออยู่ดูแลพี่สะใภ้
๓.เมื่อรู้ว่าเล่าปี่อยู่ที่ใดจะไปหาทันที
ฝ่ายโจโฉลังเลแต่สุดท้ายยอมรับเงื่อนไขทั้งหมด
โจโฉทำนุบำรุงดูแลกวนอูไม่ได้ขาด ให้ทั้งเงินทอง เสื้อผ้า ม้า(เซ๊กเธาว์) ฯลฯ แต่กวนอูคงแสดงความซื่อสัตย์ที่ตนมีต่อเล่าปี่เสมอ
ที่ปรึกษาคนหนึ่งชื่อซุนฮกออกอุบาย ด้วยกวนอูเป็นผู้รู้คุณคน ต้องตอบแทนน้ำใจก่อนจากไปเป็นแน่ เช่นนั้นหากมีกิจอันใดจงอย่าให้กวนอูอาสา
ครั้งหนึ่งอ้วนเสี้ยวยกทัพไปตีโจโฉที่ฮูโต๋ เล่าปี่มาด้วย กวนอูขออาสาออกรบ โจโฉไม่ยินยอม แต่เมื่อแม่ทัพฝ่ายตนพ่ายแพ้ กวนอูจึงออกไป ฆ่างันเหลียง และบุนทิวตาย
อ้วนเสี้ยวรู้ว่ากวนอูเป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเล่าปี่ก็โกรธ แต่เล่าปี่อธิบายเหตุผลจนอ้วนเสี้ยวเปลี่ยนใจ
ต่อมาเกิดโจรร้ายที่เมืองยีหลำ กวนอูอาสาไปปราบ และได้พบกับซุนเขียนคนสนิทของเล่าปี่ ซุนเขียนเล่าว่าเมื่อเล่าปี่แตกทัพ ได้ไปอยู่อาศัยกับอ้วนเสี้ยวที่กิจิ๋ว
เมื่อเสร็จกิจกลับไปหาโจโฉเพื่อบอกลา แต่โจโฉแสร้างเป็นป่วย กวนอูเขียนจดหมายอำลา ก่อนพาพี่สะใภ้ทั้งสองเดินทางไปหาเล่าปี่ นายด่านหลายคนไม่ทราบ ขัดขวางกวนอู กวนอูจำต้องสังหารทหารและนายทัพไปจำนวนหนึ่ง
ฝ่ายเตียวหุยอยู่เมืองเก๋าเซีย กวนอูทราบข่าวก็ยินดีเป็นอันมาก ในตอนแรกเตียวหุยเข้าใจผิดคิดว่ากวนอูเข้าด้วยกับโจโฉ แต่เมื่อรู้ความจริงจึงยกทหารไปต้อนรับ
เล่าปี่คราดกับกวนอูไป-มาหอยู่หลายครั้ง เมื่อรู้ว่าอยู่เมืองเก๋าเซีย ออกอุบายบอกแก่อ้วนเสี้ยวจะไปเกลี้ยกล่อมเล่าเปียวเจ้าเมืองเกงจิ๋วมาเป็นพวก แต่แท้จริงกลับเดินทางไปกวนอู
แต่เมืองเก๋าเซียเป็นเมืองจัตวา ไม่เหมาะเป็นที่ตั้งมัน ทั้งหมดจึงพากันไปอยู่เมืองยีหลำ

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ดาวพลูโต

พลูโต
อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เกือบ 7000 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบถึง 248 ปี มีขนาด 2390 กิโลเมตร อุณหภูมิอยู่ระหว่าง- 23 5 ถึง –213 พื้นผิวประกอบด้วยไนโตรเจนแข็งและมีเทนแข็ง และมีโครงสร้างภายในที่เป็นหิน 70 และเป็นน้ำแข็ง 30 เปอร์เซ็น
ดวงจันทร์ของดาวพลูโต
แครอน มีขนาดครึ่งหนึ่งของดาวพลูโต

ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน
อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 4500 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลยาวนาวถึง 165 ปี มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50000 กิโลเมตร ลักษณะโครงสร้างภายคล้ายกับยูเรนัส
นักดาราศาสตร์เชื่อว่าแกนกลางของดาวคือแกนแข็ง ที่ประกอบด้วยเหล็กและซิลิคอนเป็นส่วนใหญ่
การที่ดาวเนปจูนมีลักษณะที่เห็นได้ชัดในบรรยากาศทำให้สามารถวัดความเร็วลมได้ และพบว่าเป็นดาวที่มีลมพัดเร็วที่สุด คือ 2000 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ดาวเนปจูนแผ่ความร้อนออกมาจากภายในตัวดาวถึง 2.6 เท่าของพลังงานความร้อนที่รับจากดวงอาทิตย์ การค้นพบนี้ทำใดต้องทบทวนแนวคิดที่ใช้อธิบายโครงสร้างของดาวใหม่ รวมถึงเหตุใดที่ดาวยูเรนัสจึงแทบจะไม่แผ่ความร้อนออกมาเลย ทั้งๆที่ควรจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน
มีวงแหวน 4 วงที่จางมาก วงที่กว้างที่สุดมีความกว้างประมาณ 5800 กิโลเมตร แต่หนาเพียง 10 เซนติเมตร
สนามแม่เหล็กเบาบาง และมีลักษณะคล้ายกับดาวยูเรนัส 2 ประการคือ มุมของแกนแม่เหล็กทำมุมกว้างมากกับแกนของดาว และสนามแม่เหล็กไม่ได้เกินขึ้นจากแกนกลาง
ดวงจันทร์ของดาวเนปจูน
มีดวงจันทร์ที่รู้จักกันแล้ว 11 ดวง ในจำนวนนี้ตั้งชื่อแล้ว 8 ดวง ส่วนดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุด 5 ดวงแรกคือ ไทรตัน โปรทีอุส เนอร์ริด ลาร์ริซา และกาลาเทีย ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 2700 กิโลเมตร
ไทรตัน มีขนาด 2700 กิโลเมตร และโคจรอยู่ห่างจากดาว ประมาณ 354760 มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาร –235 องศาเซลเซียส มีหุบเหวและร่องลึกมากมาย สันนิษฐานว่าเกิดจากการแข็งตัว และละลายของน้ำแข็งกลับไปกลับมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แต่ลักษณะที่ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องตะลึงคือ ภูเขาไฟน้ำแข็ง ที่พ่นไนโตนเจนเหลว มีเทนแข็ง และฝุ่นที่เย็นจัดขึ้นไปกว่า 8 กิโลเมตรและกระจายไปไกลถึง 140 กิโลเมตร

ดาวยูเรนัส

ยูเรนัส
มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ใน 3 ของดาวพฤหัสบดี โคจรอยู่ห่างจากตัวอาทิตย์เกือบ 3 พันล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจร 84 ปี ลักษณะการโคจร(ตะแคงข้าง)ส่งผลให้ฤดูกาลยาวนานมาก ซีกหนึ่งของดาวจะอยู่ในฤดูหนาวนาน ถึง 42 ปี และอีกซีกหนึ่งจะอยู่ในฤดูร้อน 42 ปีแต่ด้วยอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก อุณหภูมิจึงต่างกันเพียง 2 องศาเซลเซียส
โครงสร้างภายในของดาวยูเรนัส
บรรยากาศชั้นนอกประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่ แต่นักดาราศาสตร์เชื่อว่าโครงสร้างภายในจะต้องประกอบด้วยแอมโมเนียและมีเทน เพราะหากประกอบด้วยไฮโดรเจนหรือฮีเลียมแล้ว มวลของดาวจะต้องน้อยกว่านี้
มีสนามแม่เหล็กเบาบาง แต่ไม่ได้เกิดจากแกนกลาง แต่อยู่เหนือขึ้นไปประมาณ 10000 กิโลเมตร

วงแหวนของดาวยูเรนัส
วงแหวนส่วนใหญ่มีความกว้างไม่เกิน 10 กิโลเมตร และหนา 300-500 เมตร และประมาณกันว่าวัตถุที่ประกอบกันเป็นวงแหวนน่าจะมีขนาดไม่เกิน 10 เมตร
ดวงจันทร์ของดาวยูเรนัส
มีที่รู้จักกันแล้ว 21 ดวง (สิงหาคม 2003) ในจำนวนนี้มีดวงจันทร์ 5 ดวงหลักที่มีรัศมีมากกว่า 200 กิโลเมตร คือ ไททาเนีย โอบีรอน อัมเบรียล แอเรียล และมิแรนดา

ดาวเสาร์

ดาวเสาร์
เป็นดาวเคราะห์ก๊าซ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 10 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์(ล้านกิโลเมตร) องค์ประกอบหลังคือ ไฮโดรเจน และฮีเลียม (75 และ 25 เปอร์เซ็น) ดาวเสาร์มีความหนานแน่นเฉลี่ยทั้งดวงต่ำที่สุดในระบบสุริยะคือ 0.7 กรัม/ลบ.ซม. (นั่นคือดาวเสาร์สามารถลอยน้ำได้หากมีอ่างน้ำใหญ่พอที่จะลอย)
ใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 10.7 และใช้เวลาโคจรรอบด้วยอาทิตย์ 29.5 ปี
บรรยากาศของดาวเสาร์
นักดาราเชื่อว่าศูนย์กลางของดาว เป็น แกนที่เป็นหินโลหะ ซึ่งแกนชั้นในเป็น แอมโมเนีย มีเทนและน้ำมีความดันหลาย 10 ล้านบาร์ ถัดมาจากคือชั้นโลหะไฮโดรเจน และถัดจากนั้นจึงเป็นชั้นไฮโดรเจนเหลว และบรรยากาศชั้นนอก
ดาวเสาร์มีสนามแม่เหล็กมากกว่าโลกถึงพัน เท่าจึงมีปรากฏการณ์แสงเหนือใต้เช่นเดียวกัน
วงแหวนของดาวเสาร์
แท้จริงนั่นวงแหวนของดาวเสาร์เบาบางมาก คือ มีหนาวหนาเฉลี่ยประมาณ 500 เมตรเท่านั้น แต่เพราะเศษวัตถุที่ประกอบกันเป็นวงแหวนสามารถสะท้อนแสงได้ดีและมีความกว้างรวม 80000 กิโลเมตร
นักดาราศาสตร์เชื่อวงแหวนของดาว เกิดจากดาวเคราะห์น้อย หรือดวงจันทร์ที่โคจรเข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปทำให้ถูกแรงไทดัล ฉีกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
ชั้นของวงแหวน และช่องว่าง(ลำดับอักษรจากในสุด)
วงแหวน ดี
วงแหวน ซี มีความกว้าง 17500 กิโลเมตร
วงแหวน บี เป็นวงแหวนที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีความกว้าง 25500 กิโลเมตร เศษวัตถุที่อยู่ในวงแหวนมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าชั้นอื่นๆ คือ ประมาณ 1-10 เมตร
ช่องแคสสินี เป็นช่องระหว่างวงแหวนบี และวงแหวนเอ ขนาด 4200 กิโลเมตร
วงแหวนเอ เป็นวงแหวนที่มีความสว่าง แต่ยังน้อยกว่าชั้นบี
ช่องเองเก้ เป็นช่องว่งความกว้าง 325 กิโลเมตร ที่บริเวณขอบนอกของวงแหวนเอ
วงแหวนเอฟ จีและอี เป็นวงแหวนชั้นนอกที่จางจนแทบไม่สามารถสังเกตได้ ทั้งสามมีความกว้างรวมกว่า 308000 และหนาน 100-1000 กิโลเมตร แต่ด้วยอนุภาคที่เล็กเบาบางและสะท้อนแสงน้อยมาก
ดวงจันทร์ของดาวเสาร์
มีดาวจันทร์ที่รู้จักแล้ว 31 ดวง (มีนาคม ค.ศ.2004)ตั้งชื่อแล้ว 18 ดวง
ไททัน มีขนาด 5150 กิโลเมตร โคจรอยู่ห่างเฉลี่ย 1221830 กิโลเมตร เป็นดวงจันทร์ดวงเดียวที่มีบรรยากาศหนาแน่น องค์ประกอบมีก๊าซไนโตรเจน เป็นส่วนใหญ่ นักดาราเชื่อว่าเบื้องล่างของชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นเป็น มหาสมุทร
เรีย ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากไททัน สั้นผ่านศูนย์กลาง 1530 โคจรอยู่ห่างเฉลี่ย 527040 กิโลเมตร
ไอแอพพิทัส มีขนาด 1460 อยู่ห่างประมาณ 3561300 กิโลเมตร
ไอโอนี มีขนาด 1120 กิโลเมตร อยู่ห่าง 377400
ทีดิส มีขนาดประมาณ 1060 กิโลเมตร อยู่ห่างเฉลี่ย 294660

ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดี
เป็นดาวเคราะห์ก๊าซอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 5.2 หน่วยดาราศาสตร์ (777 ล้านกิโลเมตร)
* 1 หน่วยดาราศาสตร์คือระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ มีค่า 149597870 กิโลเมตร
บรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม เป็นส่วนใหญ่ (75 และ 25 เปอร์เซ็น)นอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียมแล้ว บรรยากาศของดาวพฤหัสบดียังมี มีเทน แอมโมเนีย ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ดาวพฤหัสบดีปรากฏมีสีแดงเรื่อๆในบริวเณต่างๆ บรรยากาศของดาวเต็มไปด้วยลมแรงทั้งดวง หลายบริเวณมีความเร็วสูงถึง 650 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเกิดจากที่ดาวพฤหัสบดีใช้เวลาหมุนรอบตัวเองเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น
โครงสร้างภายในดาวพฤหัสบดี
ที่ความลึก 14000 กิโลเมตร ก๊าซจะมีความดัน 2 ล้านบรรยากาศ (บาร์) อุณหภูมิ 5000 เคลวินและมีความหนาแน่น 1 กรัม/ลบ.ซม. ที่สภาวะนี้ไฮโดรเจนจะอยู่ในสถานะ โลหะไฮโดรเจน ชั้นนี้มีความหนาประมาณ 45000 กิโลเมตร
* โลหะไฮโดรเจน คือ สถานะที่อะตอมต่างๆในเนื้อสารจะแบ่งปันอิเล็กตรอนร่วมกันคล้ายกับโลหะ
ที่แกนกลาง(ล่างของชั้นโลหะไฮโดรเจน)ประกอบด้วย หิน เหล็ก และสารประกอบไฮโดรเจน มีขนาดมีความดัน 100 ล้านบาร์ ความหนาแน่นของก๊าซประมาณ 25กรัม/ลบ.ซม. (มากกว่าทองคำขาวที่เป็นโลหะที่หนาแน่นที่สุดในโลก) และมีอุณหภูมิสูงถึง 20000 เคลวิน
*เราอาจมองดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวเคราะห์ก๊าซเป็นดาวเคาระห์แข็งซึ่งมีบรรยากาศหนามากก็ได้
ความแปรปรวนและปรากฏการณ์ต่างๆ ในบรรยากาศของดาวได้รับพลังงานมาจากแหล่งความร้อนภายใน นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเกิดจาการที่ดาวพฤหัสบดียุบตัวลงเรื่อยๆ พลังงานศักย์ของเนื้อสารจึงเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนภายใน และแผ่ออกสู่บรรยากาศ
ดาวพฤหัสบดีมีสนามแม่เหล็กเช่นเดียวกับโลก แต่มีความเข้มข้นสูงกว่า 19000 เท่า สนามแม่เหล็กนี้ช่วยปกป้องดาวและบริวารที่อยู่ใกล้ทั้งหมดจากลมสุริยะและอนุภาคพลังงานสูง ลมสุริยะจะเป่าให้ ฟอง แม่เหล็กของดาวพฤหัสบดียืนออกไปไกลกว่า 650 ล้านกิโลเมตร สำหรับด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กถูกลมสุริยะพัดอย่างรุนแรงจึงมีความหนาเพียงไม่กี่ล้านกิโลเมตร สนามแม่เหล็กจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ แสงเหนือแสงใต้ เช่นเดียวกับโลกแต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์จะปะทะเข้ากับแนวเส้นแรงเหล็กของดาว และถูกพาให้ไหลมาตามเส้นแรงเหล็กและเข้าสู่บรรยากาศ จนอะตอมของก๊าซเรืองแสงขึ้น
ดาวพฤหัสบดีมีวงแหนบางๆที่ประกอบด้วยฝุ่น วงแหวนมีความหนาเฉลี่ยน้อยกว่า 10 เซนติเมตรจึงจางมากจนแทบสังเกตไม่ได้จากโลก
วงแหวนหลักอยู่ที่ระยะ 123000-129000 กิโลเมตรมีความกว้างประมาณ 6400 กิโลเมตร จาการศึกษาชี้ให้เห็นว่า อนุภาคขนาดเล็กและฝุ่นผงที่ประกอบกันเป็นวงแหวนจะตกลงสู่ดาวเรื่อยๆ แต่อนุภาคเหล่านี้ก็ไม่หมดไปเพราะฝุ่นที่เกิดจากการชนของอุกกาบาตขนาดเล็กกับดวงจันทร์ชั้นในของดาวจะ เติม วงแหวนอยู่เรื่อยเช่นกัน
ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
มีดวงจันทร์ที่นักดาราศาสตร์รู้จักแล้ว 61 ดวง (สิงหาคม ค.ศ. 2003) ตั้งชื่อแล้ว 27 ดวง
ไอโอ อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีประมาณ 420000 กิโลเมตร เป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียวที่มีภูเขาไฟระเบิดจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ ภายในยังมีความร้อยอยู่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3630 กิโลเมตร สาเหตุที่ภายในของยังร้อนอยู่เพราะกลไกความร้อนไทดอล ซึ่งเกิดจากแรงไทดอล อันมหาศาลของดาวพฤหัสบดีที่บิดไอโอเปลี่ยนรูปไปมาได้ถึง 100 เมตรตลอดเวลาที่ดาวโคจร การเสียดสีจากการเปลี่ยนรูปทำให้ไอโอยังคงร้อนอยู่ คล้ายกับการผิดลวดไปมาซึ่งจะร้อนขึ้น จุดที่ร้อนที่สุดของดาวมีอุณหภูมิ 2000 เคลวิน และเย็นที่สุด คือ 130 เคลวิน
*แรงไทดอล คือ แรงเสมือนที่เกิดจากความต่างของแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อบริเวณต่าง ของวัตถุไม่เท่าเทียมกัน
ยุโรปา อยู่ห่างประมาณ 68000 กิโลเมตร มีขนาด 3138 กิโลเมตร มีพื้นผิวเป็นน้ำแข็งเรียบ มีเนินเขาไม่สูงนักและหลุมอุกาบาตเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวเป็นพื้นที่ค่อยข้างใหม่ และยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่จนถึงทุกวันนี้เชื่อกันว่าภายใต้ชั้นน้ำแข็ง คือมหาสมุทรที่ลึกถึง 100 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ได้ด้วยความร้อนจากกลไกไทดอล
แกนีมีด เป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีประมาณ 1 ล้านกิโลเมตร มีขนาด 5262 กิโลเมตร พื้นผิวเย็นตัวลงบ้างแล้ว เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต และมีสนามแม่เหล็กอยู่แต่เบาบางมาก
คัลลิสโต อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดี 1.9 ล้านกิโลเมตร มีขนาด 4800 กิโลเมตร มีลักษณะคล้ายแกนีมีด แต่ยังมีปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาหลงเหลืออยู่มากกว่า

ดาวอังคาร

ดาวอังคาร
เป็นดาวเคราะห์สีแดง ใช้เวลาหมุนรอบตัวเองประมาณ 24.7 ชั่วโมง และโคจรรอบด้วยอาทิตย์ประมาณ 687 วัน
มีบรรยากาศหนาแน่นไม่ถึง 1 ใน 100 ของบรรยากาศโลก บรรยากาศประกอบด้วยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ จึงสร้างสภาพเรือนกระจกที่ทำให้พื้นดาวร้อนขึ้นประมาณ 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกว้างมาก คือตั้งแต่ 140 ไปจนถึง 303 เคลวิน แต่โดยเฉลี่ยแล้วคือ 218 เคลวิน
ภูมิประเทศของดาวอังคาร
เต็มไปด้วยร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาทุกรูปแบบ
โอลิมปัส มอนส์ เป็นภูเขาไฟที่สูงและมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีความสูงถึง 26000 เมตร จากระดับผิวดาวอังคาร กว้าง 650
ทางตอนใต้เป็นแอ่งขนาดใหญ่จากอุกกาบาต ส่วนทางตอนเหนือของดาวมีลักษณะเป็นที่ราบต่ำ
น้ำบนดาวอังคาร
ดาวอังคารมีร่องรอยการกัดเซาะและการไหลของน้ำปรากฏอยู่ทั้งดวง ทั้งนี้ด้วยเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อประมาณ 3.5 พันล้านปีมาแล้ว
ดวงจันทร์ของดาวอังคาร
มีสองดวงคือ โฟบัส และ ดีมอส ทั้งสองดวงไม่ได้เป็นวัตถุทรงกลม แต่เป็นดาวเคราะห์น้อยรูปร่างบูดเบี้ยวที่ถูกแรงดึงดูดของดาวอังคารจับเข้ามาเป็นบริวาร ประกอบด้วยน้ำแข็งและหินที่มีธาตุคาร์บอน พื้นผิวคล้ายกันคือมีหลุมอุกกาบาต

ดาวศุกร์

ดาวศุกร์
เป็นดาวที่สุกสว่างที่สุดบนท้องฟ้า ผู้คนสมัยโบราณเชื่อว่าเป็นเทพธิดาแห่งความงาม หากปรากฏขึ้นในเวลาเช้า เรียกว่า ดาวประกายพรึก และเรียก ว่าดาวประจำเมือง เมืองปรากฏในเวลาพลบค่ำ
ระยะห่างเฉลี่ยในการโคจรคือ 110 ล้านกิโลเมตรจากดวงอาทิตย์ ใช้เวลาประมาณ 224 วันของโลก แต่ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองถึง 243 วัน และยังหมุนตามเข็มนาฬิกาซึ่งต่างจากดาวดวงอื่นๆ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า สาเหตุที่แกนเอียงไปจนเกือบกลับหัวจนทำให้หมุนกลับข้าง น่าจะมาจากการชนของดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในช่วงที่ระบบสุริยะยังมีอายุน้อย
มีคำกล่าวว่าดาวศุกร์เป็น ดาวน้องสาวของโลก เนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพหลายประการที่คล้ายกัน ขนาดและมวลน้อยกว่าโลกเพียงเล็กน้อยและยังมีวงโคจรอยู่ใกล้โลกมากคือ 40 ล้านกิโลเมตร นอกจากนี้พื้นผิวยังมีภูเขาไฟระเบิด และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกดาว ต่างจากดาวเคราะห์แข็งดวงอื่นๆ
ดาวศุกร์แทบไม่มีสนามแม่เหล็กอยู่เลย สาเหตุคาดว่าน่าจะมาจาการที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองช้ามาก ผลอีกประการหนึ่งคือ พื้นผิวมีลมพัดเพียงเอื่อยๆเท่านั้น ทำให้พื้นผิวดาวยิ่งร้อนขึ้นไปอีก
บรรยากาศของดาวศุกร์
ชั้นบรรยากาศประกอบด้วยเมฆหนาทึบ สามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ได้เป็นอย่างดี พื้นผิวมีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ คือ 737 เคลวิน ซึ่งร้อนพอที่จะหลอมตะกั่วได้ และมีความดันสูงถึง 92 เท่าของความดันบรรยากาศโลก เทียบได้กับความดันของน้ำใต้ทะเลลึก 900 เมตร
ชั้นของเมฆประกอบด้วยกำมะถัน จากการระเบิดของภูเขาไฟ และหยดน้ำซึ่งกลั่นตัวได้ในบรรยากาศชั้นบนของดาวที่เย็นกว่าบริเวณพื้นผิวมาก กรดกำมะถันและหยดน้ำจะรวมตัวกันเป็นฝนกรดตกลงมา แต่ฝนกรดเหล่านี้ไม่มีโอกาสาที่จะตกลงถึงผิวดาวได้เลย เพราะเมื่อฝนกรดมาได้ระยะหนึ่งจะได้รับความร้อนจากผิวดาว ก่อนจะระเหยกลับกลายเป็นไอ เป็นวงจรหมุนเวียนไปเรื่อยๆ

ลักษณะภูมิประเทศของดาวศุกร์
เป็นที่ราบและภูเขาไฟคุกกรุ่น แทบไม่มีหุบเหวลึกหรือเทือกเขาสูงอยู่เลย ไม่มีหลุมอุกกาบาตมากนัก เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นจนเผาใหม่ชิ้นส่วนอุกกาบาตได้มากตามไปด้วย และยังมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาอยู่ตลอดเวลา
ปรากฏการณ์เรือนกระจกแบบกู่ไม่กลับ
ด้วยเหตุที่หมุนรอบตัวเองเป็นเวลานานและมีชั้นบรรยากาศหนาแน่น
ปรากฏการณ์เรือนกระจก เกิดจากก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศยอมให้แสงและพลังงานในช่วงคลื่นที่มองเห็นได้ ส่องทะลุลงมายังผิวดาว ในขณะที่ปิดกั้นพลังงานในช่วงคลื่นรังสีอินฟราเรดซึ่งมีความยาวคลื่นกว่าแผ่ออกจากผิวดาวแต่ไม่ให้แผ่กลับไปยังอวกาศ ผลคือพื้นผิวดาวมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ปรากฏการณ์เรือนกระจกทำให้อุณหภูมิผิวดาวระหว่างกลางวันและกลางคืนคงที่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อย
*หากโลกไม่มีปรากฏการณ์เรือนกระจก อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากระหว่างกลางวันและกลางคืน ดังเช่นดาวพุธหรือดวงจันทร์ที่กลางวันและกลางคืนต่างกันหลายร้อยองศา

ดาวพุธ

ดาวพุธ
คนโบราณเชื่อว่า ดาวพุธ คือ ผู้นำสาสน์ของเทพเจ้าและเทพแห่งการเดินทาง เพราะดาวพุธจะปรากฏให้เห็นสลับกันระหว่างช่วงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและช่วงหลังตกในเวลาอันสั้น
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 60 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์เพียง 88 วัน เป็นดาวค่อนข้างเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 4879 กิโลเมตร ผลการคำนวณมวลชี้ให้เห็นว่าดาวพุธมีความหนาแน่นเฉลี่ยถึง 5.4 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร เทียบได้กับความหนาแน่นของโลก คือ 5.5 กรัม/ลบ.ซม. ในขณะที่ดาวพุธมีขนาดเล็กกว่าถึง 1ใน3 แสดงให้เห็นว่า ดาวพุธมีแก่นกลางขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยธาตุเหล็ก ยังมีหลักฐานที่บ่งชี้ความเป็นไปได้อีก คือ การที่เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ธาตุสามารถรวมตัว ขึ้นเป็นดาวเคราะห์จึงต้องมีจุดหลอมเหลวสูงมาก เช่น เหล็ก หรือสารจำพวกออกไซค์ของธาตุต่างๆ
บรรยากาศของดาวพุธ
ด้วยดาวพุธมีมวลน้อย บรรยากาศจึงหนานแน่นเพียง 1 ในพัน ล้าน ล้านเท่าของโลกที่ระดับน้ำทะเล
ธาตุที่พบส่วนในบรรยากาศส่วนใหญ่ คือ ออกซิเจน โซเดียม ไฮโดรเจน และฮีเลียม (จากมาไปน้อย)
การที่ดาวพุธไม่มีบรรยากาศช่วยรักษาระดับอุณหภูมิให้คงที่ ทำให้พื้นผิวด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิสูงสุดถึง 740 เคลวิน ในขณะที่อีกด้านลดต่ำลงเหลือเพียง 90 เคลวิน
พื้นผิวของดาวพุธ
เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต เพราะก้อนอุกกาบากเหล่านั้นสามารถผ่านชั้นบรรยากาศโดยไม่ผ่านการเผาไหม้เลย
* หลุมอุกาบาตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนดาวพุธ คือ แอ่งคาโลริส คือ 1300 กิโลเมตร บริเวณซีกเหนือของดาวซึ่งเกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อยในช่วงถือกำเนิด
แนวผาชัน ปรากฏอยู่ทั่วไป มีความยาวหลายร้อย กิโลเมตร และมีความสูงถึง 3 กิโลเมตร แนวเหล่านี้ คือ รอยย่น ที่เกิดจากการยุบตัวของดาวพุธขณะที่ภายในของดาวเย็นตัวลงในช่วงเวลา 1000 ล้านปีแรก ซึ่งยุบตัวลงประมาณ 4- 8 กิโลเมตรจากเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม
ดาวพุธไม่มีดวงจันทร์บริวาร และมีสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็น ของโลก เนื่องจากสสารเหลวร้อนที่เคยไหลเวียนอยู่ภายในได้แข็งตัวลงเกือบหมดทั้งดวงแล้ว
วงโคจรของดาวพุธ
ในแต่ละรอบการโคจร ดาวพุธโคจรใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดที่ระยะ 46 ล้านกิโลเมตรเรียกว่า จุดเพอริฮีเลียน และออกห่างที่สุดคือ 70 ล้านกิโลมตรเรียกว่า จุดอะฟีเลียน วงโคจรของดาวพุธมีลักษณะ เป็นวงรีมากกว่าดาวดวงอื่นเนื่องจากระยะทางที่ห่างกันระหว่างสองจุด

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เต๋าเต็งเก็งบทที่ 26


ความหนักแน่นเป็นรากฐานของความไม่มั่นคง
ในท่ามกลางความไม่มั่นคงความหนักแน่นก็สูญสลาย
ความสงบเป็นนายของความรีบเร่งลนลาน
ในท่ามกลางความรีบเร่งลนลานความสงบก็สูญสลาย
(เต๋าเต็งเก็งบทที่ 26)

ญาณวิทยา

ญาณวิทยา คือ ทฤษฏีแห่งความรู้
สิ่งซึ่งญาณวิทยา ศึกษา หลัก ๆ ได้แก่
-กำเนิดความรู้
-ธรรมชาติของความรู้
-วิธีสร้างความรู้
ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะหัวข้อ กำเนิดความรู้ (บ่อเกิดความรู้)
1.บ่อเกิดแห่งความรู้
กำเนิดแห่งความรู้ของนักปรัชญาทางฝั่งตะวันตก มีทฤษฏีสำคัญ 6 ทฤษฏีคือ
1.เหตุผลนิยม ลักษณะของเหตุผลนิยม คือ
-เหตุผลเป็นบ่อเกิดของความรู้จริง
-ปฏิเสธความรู้จากประสบการณ์ เพราะเชื่อว่าประสบการณ์ที่ได้จากประสาทสัมผัสบางครั้ง ก็ให้ผลไม่ตรงกับความจริง เช่น การนั่งรถแล้วเห็นว่ากลางถนนมีน้ำ แต่พอไปถึงจริง ๆ กลับไม่มี
นักปรัชญาที่สนับสนุนทฤษฏีนี้คือ เรเน่ เดส์การ์ตส์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
ความรู้เกิดจากคิดหาเหตุผล โดยต้องอาศัยความสงสัยเป็นพื้นฐาน แล้วใช้เหตุผลเพื่อขจัดความสงสัย ดังนี้แล้วความจริงย่อมปรากฏ
ความคิดที่เป็นเครื่องทำให้เกิดความรู้ มี 3 ประเภทคือ
1.ความคิดจากประสบการณ์ ความคิดนี้ ใช้ประสบการณ์ภายนอกเข้ามาทำให้เกิดความคิด
2.ความคิดที่จิตสร้างขึ้น ความคิดนี้คือการคิดไปเอง โดยอุปมานบ้าง อนุมานบ้าง
3.ความคิดที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ความคิดประเภทนี้เป็นจริง เพราะเป็นความคิดที่พระเจ้าประธานมาให้
ลัทธินี้เน้นว่าความรู้ที่แท้จริงจะต้องเกิดจากเหตุผล แต่ต้องเป็นเหตุผลที่เกิดจากความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด

2.ทฤษฏีประจักษนิยม ลักษณะของลัทธิประสบการณ์นิยม
-เชื่อว่าบ่อเกิดของความรู้คือประสบการณ์
-เหตุผลจะเกิดไม่ได้หากไม่มีประสบการณ์เลย
-ไม่ยอมรับความรู้ที่ติดตัวมาแต่แรกเกิด
-ยอมรับความรู้หลังประสบการณ์ คือ ความรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีประสบการณ์
-ยอมรับความจริงแบบ สังเคราะห์ เพราะความจริงแบบวิเคราะห์ไม่ได้ทำให้ได้ความรู้ใหม่ ๆ แต่การสังเคราะห์ทำให้เกิดความรู้ใหม่
-ยอมรับวิธีการแบบอุปนัย คือ นำความจริงย่อย ๆ มาสรุปเป็นความจริงสากล เช่น นาย ก.เป็นมนุษย์ นาย ก.ตาย นาย ข.เป็นมนุษย์นาย ข. ตาย นาย ค.เป็นมนุษย์ นาย ค.ตาย เราก็สรุปว่า มนุษย์ต้องตาย
เมื่อใช้ทฤษฏี “พิสูจน์ว่าจริงได้” ของคาร์ล ปอปเปอร์ ความจริงนี้จะยังเป็นความจริงก็ต่อเมื่อ ยังไม่มีมนุษย์คนไหนไม่ตาย
นักปรัชญาที่สนับสนุนทฤษฏีนี้คือ จอห์น ล๊อค นักปรัชญาชาวอังกฤษ
จิตเปรียบเหมือนกระดาษสีขาว ไม่มีรอยขีดมาก่อน เมื่อมีประสบการณ์จึงค่อยเกิดรอยขีดข่วน หรือความรู้
ประสบการณ์มี 2 ชนิด
1ประสบการณ์ภายนอก คือการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ประสบการณ์ทางใจ คือ เมื่อมีการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้ว ก็นำมาคิดต่อภายในจิตใจ

3.ทฤษฏีอนุมานนิยม เป็นทฤษฏีที่เชื่อว่า ความรู้ไม่ได้มีมาแต่กำเนิด หรืออาศัยประสบการณ์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากทั้งสองเหตุปัจจัยคือ
อนุมาน จากหลักการเดิม หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน โดยใช้หลักของเหตุผล เช่น ถ้าสมมุติเรายอมรับกันแล้วว่า การคิดถึง การมีทุกข์เมื่อไม่ได้เจอ การมีสุขเมื่อได้เจอ คือความรัก เราก็อนุมานได้ว่า การไม่คิดถึง การไม่ทุกข์เมื่อได้เจอ การไม่มีสุขเมื่อไดเจอ คือ ไม่ใช่ความรัก อาศัยความสัมพันธ์ที่เป็นด้านตรงข้ามของมัน
อุปมาน จากประสบการณ์ที่รับรู้มาแต่เดิม เช่น เราเคยเห็นว่า ผู้ชายที่นั่งซึม ๆ แล้วให้อาหารปลาพลาง ถอนใจพลาง และได้รับคำตอบจากเขาว่า เขากำลังเศร้า ดังนี้พอไปเห็นอาการเดียวกันนี้กับชายอีกคนหนึ่งเราอาจอุปมานได้ว่า ชายคนนี้ก็กำลังเศร้าเช่นกัน
นักปรัชญาที่สนับสนุนทฤษฏีนี้คือ ค้าน เยอรมัน
เขากล่าวว่า “สิ่งในตัวเอง ไม่มีตัวตน อยู่เบื้องหลังจิตได้สร้าง ความรับรู้หรือเพทนาการให้เกิดขึ้น
สิ่งตัวเอง คือช่างถ่ายภาพ อวัยวะที่ทำให้เกิดการรับรู้ คือกล้อง จิตคือ ฟิล์ม ส่วนเพทหนาการคือภาพถ่าย

4.ทฤษฏีสัญชาติญาณนิยม ลักษณะ ถือว่าสัญชาติญาณทำให้เกิดความรู้จริง โดยตรง ด้วยญาณวิเศษ ส่วนปัญญาสามารถทำให้ความรับรู้เปลี่ยนแปลงได้ กล่าวคือญาณให้ความรู้จริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนปัญญาทำให้ความรู้ที่คิดว่าจริงครั้งหนึ่งเปลี่ยนเป็นไม่จริงได้
นักปรัชญาที่สนับสนุนคือ ฮังรี แบร๊กซอง ฝรั่งเศส สนับสนุน
ความรู้ชนิดนี้ในพุทธศาสนาคอ การตรัสรู้ เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นในใจโดยตรง ไม่อาศัยสื่อกลาง

5.เพทนาการนิยม คือความรู้ที่เกิดจากการสัมผัสจนเกิดความตรึงตา ฮิวม์สนับสนุน บอกว่า ความรู้ทุกอย่างจะต้องเกิดจากความตรึงตราและความคิด

6.ทฤษฏีประกาศิตนิยม
แหล่งที่มาของความรู้เกิดจาก ได้รับการถ่ายทอดจากผู้รู้ หรือตำราที่น่าเชื่อถือ ผู้ที่สอนต้องมีความรู้จริง ๆ และตำราที่ให้ความรู้นั้นก็ต้องน่าเชื่อถือจริง ๆ เช่นกัน จึงทำให้ผู้ที่ศึกษาได้รับความรู้ที่จริงไปด้วย ความรู้ชนิดนี้อาจมีการครอบงำ เพราะต้องอาศัยความเชื่อ ความศรัทนาในตำรา และผู้สอนเป็นที่ตั้ง จึงจะสามารถเรียนรู้สิ่งที่เขาสอนได้

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

กระทงชีวิต


พระจันทร์กลมโตในเดือน 12 ดูสวยงามยิ่ง ทว่าต้องมองมันในแถบถิ่นร้างผู้คน...เพราะหาไม่แล้วพระจันทร์กลมโตดวงนั้น จะดูหมองลงไปบ้าง...ด้วยแสงไฟในที่ต่าง ๆ ที่ถูกจุดขึ้น ในงาน “ลอยกระทง”
งานลอยกระทงตรงกับเดือน 12 แต่เดือน 12 ที่ว่านี้ไม่ใช่เดือนธันวา เพราะตามของไทยแล้ว เดือน 12
คือเดือน พฤจิ
ในวัยยังเด็กตัวน้อยก็เคยคิดสงสัย เพราะเท่าที่รู้มาเดือน 12 คือเดือนธันวา
แต่สุดท้ายคำถามก็ถูกเฉลย โดยการไต่ถามผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง
จำไม่ได้ว่าเข้าใจมากน้อยแค่ไหน กับข้อมูลที่ท่านบอก แต่ก็พอจะสรุปได้ว่า
“เดือน 12 ของไทยคือพฤจิ”
ทว่า...กับวัยนั้นความเข้าใจแค่นี้ก็พอแล้ว สำหรับความอยากรู้อยากเห็น เพราะสิ่งที่สำคัญจริง ๆ คือการลอยกระทง ต่างหาก...

จำได้ลางเลือนว่าน่าจะมีมือของใครคนหนึ่งจับมือเราไว้...เพราะคนมาลอยกระทงที่ทะเลกันมาก
มือ ๆ นั้นคงกุมเราเอาไว้แน่นเชียว ทั้งฉุด ทั้งลาก ทั้งกระตุก คอยนำพาเราให้ไปถึงที่หมาย ซึ่งนั่นก็คือ...ท้องทะเล
ท้องทะเลที่ผิวน้ำดำทะมึน แต่กลับพราวด้วยจุดแสงนับร้อย-พัน ท้องทะเลที่ ราวกับท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว เพียงต่างกันตรง จุดแสงที่อยู่ในทะเล คือจุดแสงของเทียน และธูปของกระทง ก็เท่านั้น...
ไม่รู้ว่าครั้งนั้นใช้เวลาเท่าไรในการฝ่าฝูงมนุษย์ จำได้เพียงว่า อากาศคืนนั้นหนาวเย็นพอดู แต่เหงื่อก็พลั่งพรูออกมาจนเต็มแผ่นหลัง นี่ถ้าไม่มีมือ ๆ นั้นคอยจูงและนำทางแล้วละก็ การเดินทางคงเต็มไปด้วยอุปสรรค ยิ่งขึ้น อย่าว่าแต่เด็กตัวน้อยขนาดนั้น...จะพาตัวเองไปถึงทะเลหรือเปล่าก็ไม่รู้

พรายฟองจากคลื่นซาดเข้ามาหาฝั่ง ราวกับไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ลมกลางคืนแรง แทบจะปลิดปลิว แต่มือน้อย ๆ ก็ยังถือกระทงไว้แน่นส่วนสายตาก็จดจ่ออยู่กับเปลวไฟ ที่ปลายเทียน...
นานเท่านานที่สายตาถูกตรึงไว้ กับลีลาการร่ายรำของเปลวไฟ ที่ถูกแรงลมพัดพา จวบจนเมื่อได้ยินเสียงหนึ่งว่า
“อธิฐานสิ”
จึงค่อยถอนสายตาออกมา เห็นใครคนนั้นนั่งลงและทูนกระทงไว้เหนือหัว ทั้งดวงตาก็หลับพริ้ม
เด็กน้อยทำตามแบบอย่างที่เห็น ไม่ได้พูด ไม่ได้กล่าว แม้เพียงประโยค

เราเริ่มเหยียบลงไปในน้ำทะเล เมื่ออธิฐานเสร็จ เดินได้ระยะหนึ่ง ประมาณน้ำท่วมครึ่งแข้ง จึงค่อยหยุด...
และเริ่มปล่อยกระทงลงไปในน้ำ
กระทงลอยอยู่บนผิวน้ำที่กระเพื่อมขึ้น ๆ ลง ๆ
ดังนั้น...การเคลื่อนที่ของมัน จึงไม่ได้ไปข้างหน้า เพียงอย่างเดียว มันเดินหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง ยามเมื่อโดนแรงคลื่นซาดซัด...
และความจำก็มาหยุดลงตรงนี้ เรื่องหลังจากนั้นเลือนรางจน ไม่สามารถปะติปะต่ออะไรได้อีก แต่แค่นี้ก็ถือว่าจำได้มากแล้ว เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้น ก็ผ่านระยะเวลามากกว่า 10 ปี ซึ่งการที่หวนคิดถึงมันอาจจะเป็น เพราะการลอยกระทงได้ห่างหายไปจาก ชีวิตตัวเองเสียนาน ซึ่งถ้าจะกลับไปทำมันอีกครั้ง รายละเอียดคงแตกต่างจากวัยเด็กน้อย พอสมควร...ที่เห็น ๆ ก็คงจะ ไม่มีมือใดคอยจูง คอยประคอง คอยนำพา ให้ไปถึงทะเลอีก อย่าว่าแต่ถ้ามีอยู่จริง ๆ ตัวเราในวันนี้ก็คงไม่กระทำดังว่า
เราโตพอแล้วที่จะเดินไปได้โดยลำพัง
เช่นว่า...ในวัยที่สามารถเดินไปลอยกระทง ในทะเลได้เพียงลำพังนี้ ทบทวนดูให้ดี ถึงเรื่องราวในครั้งนั้น ก็ให้พบว่า...ชีวิตกับกระทง ก็มีบางด้านที่คล้ายคลึงกัน ที่ช่วงแรก ๆ ของเส้นทาง จะมีกระทงอื่น ๆ มากมายลอยเคียงกันไป แต่ทว่าหากกระทงยิ่งลอยไกล ออกไปในทะเล กระทงที่เคยมากมายบนเส้นทาง ก็จะลดจำนวนลง จนบางทีอาจไม่เหลืออีกเลย
ดังนี้ คงไม่เกินเลยไปนักที่จะเปรียบเทียบว่า “ชีวิตก็เหมือนกับการลอยไปของกระทงในทะเล ที่มักจะพบปะกระทงอื่น ๆ บนเส้นทางที่ลอยผ่าน อยู่เสมอ...อาจลอยเคียงกันใกล้ ๆ บ้าง ลอยตามหลัง นำหน้ากันไปบ้าง แต่เพราะชีวิตต่างมีเส้นทางเป็นของตัวเอง และมหานทีช่างกว้างใหญ่ การพลัดพรากจึงเกิดมีเป็นธรรมดา เช่นนั้น ถึงที่สุดแล้ว...บางห้วงยามกระทงจึงมักจะลอยไปเพียงลำพัง”
ใช่ ถึงที่สุดแล้วทั้งกระทงและชีวิต ก็ต้องมีช่วงเวลาที่ต้องเดินไปเพียงลำพัง


วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ชาวปะหร่อง


หนุ่มโสดชาวปะหร่อง เมื่ออายุประมาณ 17-25 ปี จะมีคนหนึ่งถูกคัดเลือกให้เป็น “ครู”
“ครู” ไม่ใช่ ครูที่สอนวิชาภาษาไทย ไม่ใช่ครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาสังคม ทว่า “ครู” คือผู้สอนวิชาจีบสาว
“ครู” หนุ่มที่ถูกคัดเลือก จะมีหญิงรุ่นเดียวกันอีกสองคนเป็นผู้ช่วย (ครู)
ลูกศิษย์ที่มาร่ำเรียนวิชาจีบสาว คือ เด็กอายุ 12 ขวบ
เด็กอายุ 12 ขวบ ก็จีบสาวแล้ว?
สำหรับชาวปะหร่องอายุ 12 ถือได้ว่า เป็นวัยที่แต่งงานได้แล้ว
วัตถุประสงค์ของการสอนวิชาจีบสาวก็เหมือนวิชาทั่ว ๆ ไป คือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เข้าใจจนสามารถนำไปปฏิบัติต่อในสถานการณ์จริงได้โดยไม่กระดากอาย หรือทำผิด ๆ ถูก ๆ
ร่ำเรียนจนจบภาคทฤษฏี จะมีการจับฉลาก ฉลากแต่ละใบเขียนชื่อหญิงสาวหนึ่งคน จับได้ใครก็ต้องไปฝึกภาคปฏิบัติกับคนนั้น ทั้งนี้จึงถือได้ว่าจบหลักสูตร
ผู้ร่ำเรียนจะได้ใช้วิชาฝีมือจริง ๆ ก็ต่อเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม ซึ่งจะเป็นช่วงเก็บใบชา
ช่วงเก็บใบชาหนุ่มสาวจะมีโอกาสได้พบปะกัน
พบปะแล้วไยจะปล่อยให้ผ่านเลย เพียงแค่เก็บใบชา

ธรรมเนียมการแต่งกางของชาวปะหร่องออกจะแปลกประหลาดทีเดียว คือ ฝ่ายหญิงต้องหนีตามผู้ชายไป
ผู้ชายจะพาเธอไปอาศัยบ้านญาติ
หญิงสาวจะทิ้งตลับแป้งซึ่งเป็นเครื่องหมายบอกแก่บิตา-มารดาว่า ตนเองได้หนีตามคนรักไปแล้ว
พ่อ-แม่ฝ่ายหญิงเมื่อพบเห็นตลับแป้ง ก็จะเริ่มจัดขบวนตามหาลูกสาว
ทว่าใช้คนเท่าไร ใช้เวลานานเท่าไรก็ไม่มีทางหาเจอ
หาไม่เจอเพราะ ไม่ได้ตั้งใจจะหาให้เจอ
ประเพณีนี้ คือ รู้อยู่แล้วว่าลูกสาวอยู่ที่ไหน แต่ก็แสร้างเป็นไม่รู้ ลูกสาวอยู่เหนือก็พากันลงใต้ ลูกสาวอยู่ตะวันออก ก็พากันไปตะวันตก
เมื่อ(แสร้าง)ตามหากันพอควรแล้ว ก็จะพากันกลับบ้านของตน
กลับบ้านเพื่อไปพบกับผู้ใหญ่ฝ่ายชาย
ผู้ใหญ่ทั้งสองจะทำการตกลงว่าจะเอาอย่างไร
ตกลงกันได้ก็เสร็จ ตกลงกันไม่ได้ก็อด
ทว่าถ้าตกลงกันได้ ค่าสินสอดไม่ต้องให้สักสตางค์เดียว รับเจ้าสาวกลับบ้านไปได้เลย

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

แววตาของเธอ


รอยยิ้มของเธอมีอะไรซ่อนอยู่ใช่ไหม
เสียงหัวเราะของเธอปิดบังอะไรไว้หรือเปล่า
อย่าถามฉันเลยว่า ทำไมฉันคิดเช่นนั้น
ถามแววตาเธอเองดีกว่า
ว่าเก็บซ่อนความลับได้แค่ไหนกัน

เต๋าเต็งเก็งบทที่ 14


จ้องมองแต่มิอาจแลเห็น เรียกว่าไร้รูป
สดับฟังแต่มิอาจได้ยิน เรียกว่าไร้เสียง
ไขว่คว้าแต่มิอาจจับต้อง เรียกว่าไร้ตัวตน
(เต๋าเต็กเก็งบทที่ 14)

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550

เสี่ยว (๓)


บนสะพานที่ไม่มีเชือกกั้นข้าง ชาย-หญิงคู่หนึ่งเดินมาด้วยกัน
“ถ้าเราเกิดเซจนตกลงไปในน้ำ?” เธอถามเขา
“คุณจะไม่มีทางเห็นผมกระโดดลงไปช่วยคุณ”
“เราว่ายน้ำไม่เก่งนะ เราต้องจมน้ำแน่ ๆ ”
“คุณจะไม่จมน้ำ”
“ทำไม?”
“เพราะก่อนที่คุณจะตกน้ำ ผมจะดึงคุณไว้ แล้วยอมตกลงไปในน้ำแทน”

มากกว่าครั้ง...

มากกว่าครั้งที่อาหารจะมีค่าเพียงของกิน
มากกว่าครั้งที่เสื้อผ้าจะมีค่าเพียงเครื่องนุ่งห่ม
มากกว่าครั้งที่บ้านพักจะมีค่าเพียงที่อยู่
มากกว่าครั้งที่ยารักษาจะมีค่าเพียงบรรเทาโรค
หลายครั้งที่อาหารมีไว้อยู่เพื่อกิน มิใช่กินเพื่ออยู่
หลายครั้งที่เสื้อผ้ามีเพื่อความสวยงามมิใช่ความอบอุ่น
หลายครั้งที่บ้านมีเพื่ออวดโอ่มิใช่เพื่อซุกหัวนอน
หลายครั้งที่ยารักษามีเพื่อสนองความต้องการมิใช่เบาเทาโรคภัย

ความเชื่อ

ความเชื่อเรื่อง ห้ามเล่นซ่อนหาเวลากลางคืน
เป็นคำพูดของคนโบราณที่มักจะกล่าวเพื่อขู่เด็กๆ ว่า เวลากลางคืนอย่าออกไปเล่นซ่อนหาเพราะว่าผีจะมาบังตาไม่ให้ใครมาหาเจอ หรือ ผีจะมาลักตัวไป
ข้อหักล้าง
เหตุที่คนโบราณห้ามเด็กเล่นซ่อนหาเวลากลางคืน ความจริงแล้ว ไม่มีเรื่องผีมาเกี่ยวข้องเลย แต่เป็นเพราะว่า กลัวลูกหลานของตนจะได้รับอันตรายจากสัตว์ร้ายต่างๆ ด้วยความมืด

ความเชื่อเรื่อง ห้ามนำช้อนส้อมเคาะจานเวลาทานอาหาร
เป็นคำกล่าวที่ผู้ใหญ่บอกกับเด็กๆ ว่า ห้ามนำช้อนส้อมเคาะจานเวลาทานอาหาร เพราะจะทำให้เหมือนกับเป็นการเรียกหรือเชื่อเชิญ ผีมาทานข้าวกับเราด้วย
ข้อหักล้าง
การนำช้อนส้อมเคาะจานในเวลาทานอาหาร จะทำให้มีเสียงดังรำคาญ รบกวนผู้อื่นที่กำลังร่วมโต๊ะ และทั้งการเคาะนั้นอาจทำให้จานร้าวหรือแตกได้

ความเชื่อเรื่อง ห้ามเสียงดังเวลากลางคืน
เป็นคำพูดของคนโบราณที่บอกกับเด็กๆ ว่า “ถ้าเสียงดังผีจะมาหา” นั่นคือความชาญฉลาดของปู่ย่าเรา เพราะพวกท่านต้องตื่นแต่เช้าไปทำมาหากิน หากถูกรบกวนจากเสียงก็จะส่งผลให้นอนไม่หลับ หรือไม่เต็มอิ่มร่างกายก็จะไม่อำนวยกับสภาพงานที่ต้องทนแดนทนฝน
ข้อหักล้าง
ยังไม่มีการพิสูจน์ได้แน่ชัดว่า ผีมีจริง หรือเป็นพลังงานชนิดใด

ความเชื่อเรื่องห้ามหงายมือรินน้ำ
การรดน้ำศพจะหงายมือรด และหากใช้อย่างเดียวกันนี้ในการรินน้ำในงานอื่นๆเช่น งานเลี้ยง หรือ เวลาทานอาหาร ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่เป็นสิริมงคล คล้ายจะบอกเป็นนัยว่า เขาหรือเธอจะเป็นรายต่อไป จึงเกิดเป็นความเชื่อขึ้นมาเวลารินน้ำ
ข้อลบล้าง
หากรินน้ำหงายมือแล้วทำให้ไม่ถนัด น้ำอาจจะหกไปรดโดนผู้อื่นได้

ความเชื่อเรื่องห้ามเล่นของมีคมเวลากลางคืน
เป็นคำพูดที่ผู้ใหญ่บอกต่อๆ กันมาว่า ไม่ให้เล่นของมีคม ตอนกลางคืน เช่น ดาบ มีด ขวาน เป็นต้น เพราะอาจโดน บาดหรือแทงได้ ตอนกลางคืนมันมืดเราจะมองเห็นสิ่งต่างๆรอบข้างไม่ค่อยชัด หรือเล่นๆ กันอยู่ อาจพลาดพลั้ง ไปแทงผู้อื่นได้ ที่เรียกกันว่า “ผีผลัก”
ข้อลบล้าง
ในสมัยก่อนเวลากลางคืนไม่มีไฟฟ้าเหมือนปัจจุบัน พอตะวันตกดินแสงสว่างส่วนมากจึงมาจากกองไฟ ซึ่งไม่สว่างเท่าที่ควร หากเล่นของมีคมแล้วพลาดไปเหยียบอะไรบนพื้นเข้า อาจจะทำให้หลุดมือไปทิ่มแทงคนอื่นได้โดยง่าย

ความเชื่อเรื่องถ้านอนกิน ชาติหน้าจะเกิดเป็นงู
เป็นคำบอกเล่าของผู้ใหญ่ที่บอกกับเด็กว่า ถ้าหากกำลังรับประทานอาหารอยู่ ไม่ควรนอนทานไปด้วย และถ้าไม่เชื่อฟังชาติหน้าจะเกิดเป็นงู เพราะงูเวลากินเหยื่อมันก็จะกินในลักษณะท่านอน
ข้อลบล้าง
คำบอกเล่าของผู้ใหญ่ที่ต้องการสั่งสอนให้เด็กๆ นั่งทานอย่างสุภาพ มีระเบียบ เพราะถ้านอนทานแล้วเด็กๆ อาจจะสำลักอาหารได้ ผู้ใหญ่จึงใช้ลักษณะของงูมากล่าวอ้างเพื่อให้เกิดความกลัว

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

เสี่ยว (๒)


พระจันทร์ลอยอยู่บนฟ้าแล้ว ชาย-หญิงก็นั่งอยู่ด้วยกันแล้ว
“ขอเวลาหน่อยนะ ถ้ารอได้ก็รอ” เธอพูด
“เราไม่แน่ใจว่าเราจะรอได้นานไหม”
“รอไม่ได้ก็ไม่ต้องรอ”
“เรามีเวลาจำกัดจริง ๆ”
“ก็บอกแล้วไง รอไม่ได้ก็ไม่ต้องรอ”
“เวลาของเราจำกัด ถ้าหมดลมหายใจเราคงรอไม่ได้อีก...”

เสี่ยว (๑)


ชาย-หญิงคู่หนึ่งยืนอยู่ด้วยกันที่ทะเล
“ไม่เจอกันหลายวัน เป็นไงบ้าง?” เธอถามเขา
“ห่างกันชีวิตก็ยังดำเนินต่อไป ไกลกันชีวิตก็ยังมีอยู่”
“รู้สึกแบบนี้ใช่ไหม?”
“ใช่ มันเป็นแบบนี้ แต่...”
“แต่?”
“แต่เมื่อห่างไกล ชีวิตที่ดำเนินต่อไป คิดถึงเธอทุกนาที”

เต๋าเต็กเก็ง บทที่ 36


ผู้ที่ถูกลดทอน จะต้องมีมาก่อน
ผู้ที่อ่อนแอ จะต้องเข้มแข็งมาก่อน
ผู้ที่ตกต่ำ จะต้องยิ่งใหญ่มาก่อน
ผู้ที่ได้รับ จะต้องให้มาก่อน
เหล่านี้คือนัยที่แสดงออกให้ปรากฏ
ความอ่อนละมุนมีชัยเหนือความแข็งกร้าว
ควรปล่อยให้มัจฉาอยู่ในสระลึกจะดีกว่า
เหมือนดังเก็บงำศัตราวุธทั้งมวล
ของบ้านเมืองไว้มิให้ใครแลเห็น
(เต๋าเต็กเก็งบทที่ 36)

เดโมคริตุส

เดโมคริตุส (ราว 460-370 ปีก่อนคริสตกาล) มาจากแคว้นอับเดรา ทางตอนเหนือของชายฝั่งทะเลอีเจียน
เดโมคริตุสเห็นด้วยกับนักปรัชญาก่อนหน้าเขาว่าการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติไม่ใช่การที่บางอย่างได้ “เปลี่ยนแปลง” ไปจริงๆ เขาจึงมีสมมติฐานว่าทุกอย่างเกิดขึ้นจากตัวต่อเล็กๆที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เป็นตัวต่อที่คงทนและไม่มีวันเปลี่ยนแปลง เดโมคริตุสเรียกหน่วยที่เล็กที่สุดนี้ว่า อะตอม
คำว่า อะ-ตอม หมายถึง “ไม่สามารถตัดได้” เดโมคริตุสเชื่อว่าทุกส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นสิ่งต่างๆ ประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดที่ไม่สามารถแบ่งต่อไปได้
ยิ่งกว่านั้น อนุภาคนี้จะต้องคงทนตลอดไป เพราะไม่มีอะไรเกิดจากความว่างเปล่า ตรงนี้ เขาเห็นด้วยกับปาร์มีนิดีสและนักปรัชญากลุ่มเอเลียติก เขายังเชื่อว่าอะตอมทั้งหมดแข็งแกร่งและคงทน แต่จะต้องมีรูปร่างต่างๆกัน เพราะถ้าทุกอะตอมเหมือนกันหมด เราจะอธิบายได้อย่างไรเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่อยู่บนโลกใบนี้ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างเกิดขึ้นจากอะไร
เดโมคริตุสเชื่อว่าธรรมชาติประกอบด้วยอะตอมรูปร่างต่างๆจำนวนไม่จำกัด บางอะตอมกลมเรียบ บางอะตอมหยักหรือบิดเบี้ยวและเพราะความที่มันมีรูปร่างต่างกัน ทำให้มันสามารถรวมตัวกลายเป็นสิ่งต่างๆ ได้ทุกอย่าง แต่ไม่ว่ามันมีรูปร่างที่แตกต่างและจำนวนมากเท่าใด ทุกอะตอมจะคงอยู่เช่นนั้นตลอดไป ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงและไม่อาจแยกย่อยลงไปอีกได้
เมื่อสิ่งต่างๆเช่นต้นไม้หรือสัตว์ตายและถูกย่อยสลาย อะตอมก็จะแยกออกจากกัน และกลับมารวมกันในรูปร่างใหม่ อะตอมก็จะแยกออกจากกัน เละกลับมารวมกันในรูปร่างใหม่ อะตอมเคลื่อนไปในอวกาศ แต่เพราะมันมีตะขอ และเงี่ยง จึงสามารถกลับมา รวมตัวเป็นสิ่งต่างๆ รอบตัวเราได้ใหม่ทุกครั้ง
เดโมคริตุสไม่เชื่อว่ามี วิญญาณ ที่แทรกแซงกระบวนการของธรรมชาติ เขาเชื่อว่าสิ่งเดียวที่มีอยู่คือ อะตอมและช่องว่าง เพราะเขาไม่เชื่อในอะไรนอกจากสิ่งที่จับต้องได้ เราจึงเรียกเขาว่า นักวัตถุนิยม
เดโมคริตุสคิดว่าการเคลื่อนไหวของอะตอมไม่ได้เป็นไปตาม “แบบ” ที่วางไว้ล่วงหน้าในธรรมชาติ ทุกอย่างเกิดขึ้นค่อนข้างเป็นกลไล พูดอย่างนี้ ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างไม่มีกฎเกณฑ์ เพราะทุกอย่างต่างเป็นไปตามกฎแห่งความจำเป็น ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น มีเหตุผลตามธรรมชาติที่ฝังอยู่ในสิ่งนั้นอยู่ก่อนแล้ว ครั้งหนึ่งโมคริตุสเคยพูดว่าเขาอยากเป็นผู้ค้นพบเหตุผลของธรรมชาติมากกว่าเป็นพระราชาแห่งเปอร์เซีย
เดโมคริตุสคิดว่าทฤษฎีอะตอมยังสามารถอธิบายเรื่องประสาทสัมผัสของเราได้ด้วย การที่เรารู้สึกอะไรบางอย่าง เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของอะตอมในอวกาศ ฉันเห็นดวงจันทร์ เพราะ อะตอมของดวงจันทร์ รุกเข้ามาในตาของฉัน
เขาเชื่อว่าแม้แต่วิญญาณก็เกิดมาจาก อะตอมวิญญาณ ที่เมื่อสิ่งมีชีวิตตายอะตอมนี้จะกระจัดกระจายไปทุกทิศทุกทาง และกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณดวงใหม่ ซึ่งหมายความว่ามนุษย์ไม่มีวิญญาณที่เป็นนิรันดร
เดโมคริตุสเชื่อว่า วิญญาณ เกี่ยวข้องกับสมอง ถ้าสมองเสื่อม มนุษย์ก็จะไม่มีสติสัมปชัญญะไม่ว่ารูปแบบใด
ทฤษฎีอะตอมของเดโมคริตุสถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคปรัชญาธรรมชาติกรีกในเวลานั้น เขาเห็นด้วยกับเฮราคลีตุสว่าทุกสิ่งในธรรมชาติ เลื่อนไหล เนื่องจากรูปแบบต่างๆเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไป แต่เบื้องหลังทุกอย่างที่เลื่อนไหลนั้น มีสิ่งที่เป็นนิรันดรและไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเขาเรียกมันว่า อะตอม

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

กลอนซึ้ง ๆ ครั้งที่ ๙


แดนระแหงนั้นรอซึ่งสิ่งใด
หามิใช่หยดน้ำตามฟากฟ้า
อันคนเราเมื่อต้องห่างจากลา
ก็รอว่าเมื่อไรได้พบเจอ...

เพลโต

เพลโต
เพลโต (428-347 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นลูกศิษย์ของโสคราตีสช่วงหนึ่งซึ่งติดตามการไต่สวนคดีของเขาอย่างใกล้ชิด (ที่ภายหลังโสคราตีสถูกตัดสินให้ดื่นยาพิษฆ่าตัวตาย) การที่ชาวเอเธนส์ตัดสินประหารพลเมืองที่มีคุณธรรมที่สุด ไม่เพียงทำให้เขาสะเทือนใจ แต่ยังมีผลต่อแนวคิดปรัชญาทั้งหมดของเขาด้วย
สำหรับเพลโตความตายของโสคราตีสเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม ผลงานแรกของเพลโตในฐานะนักปรัชญาคือการเขียน บันทึกการแก้ข้อหาของโสคราตีสต่อคณะลูกขุน
เพลโตตั้งสำนักปรัชญาของเขาเอง อยู่ที่ชายป่าไม่ไกลจากกรุงเอเธนส์ เขาตั้งชื่อสำนักตามวีรบุรุษในตำนานของกรีก คือ อะคาเดมุส ทำให้สำนักเขาเป็นที่รู้จักกันในนาน “อะคาเดมี” วิชาที่สอนที่อะคาเดมีของเพลโต คือ ปรัชญา คณิตศาสตร์ และยิมนาสติก
สิ่งที่เพลโตสนใจ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลงกับสิ่งที่ “เลื่อนไหล” (แนวคิดของนักปรัชญายุคก่อนเพลโต เช่น เฮราครีตุส)
เพลโตเชื่อว่าทุกอย่างที่จับต้องได้ในธรรมชาตินั้น “เลื่อนไหล” จึงไม่มีสสารใดที่ไม่เสื่อมสลาย ทุกอย่างที่อยู่ในโลกของวัตถุ เกิดจากวัตถุที่เลื่อนไปตามกาลเวลา แต่ทุกอย่างถูกจำลองมาจาก “แม่พิมพ์” หรือ “แบบ” ที่อยู่เหนือกาลเวลา เที่ยงแท้และไม่เปลี่ยนแปลง
ม้าทุกตัวเหมือนกัน แต่มีบางอย่างที่ม้าทุกตัวมีร่วมกัน บางอย่างที่ทำให้เราสามารถบอกได้ว่ามันคือม้า ตามธรรมชาติม้าจะ “เลื่อนไหล” มันอาจจะแก่ พิการ และตายไปในที่สุด แต่ “แบบ” ของม้ายังคงอยู่ตลอดไป และไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับเพลโตสิ่งที่เที่ยงแท้และไม่เปลี่ยนแปลงจึงไม่ใช่ “สสารพื้นฐาน” (แนวคิดปฐมฐานของนักปรัชญายุคก่อน) แต่คือ แบบแผน ที่สรรพสิ่งทั้งหลายถอดออกมา
เพลโตเชื่อว่าทุกสิ่งในธรรมชิตที่เราจับต้องได้ล้วนไม่ยั่งยืนแน่นอน เพราะทุกสิ่งในโลกของความรู้สึกล้วนไม่ยั่งยืน เรารู้ว่าไม่วันใดวันหนึ่งมนุษย์ทุกคนและสัตว์ทุกตัวจะต้องตายและถูกย่อยสลาย กระทั่งภูผาก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงสึกกร่อนทีละน้อยๆ ประเด็นคือเราไม่มีทางเข้าถึงความจริงของสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราสามารถมีได้แต่ความเห็นเกี่ยว่กับสิ่งที่อยู่ในโลกแห่งประสาทสัมผัส เราจะสามารถมีความรู้ที่แท้จริง ได้เฉพาะในสิ่งที่เราเข้าใจได้ด้วยเหตุผล
เพลโตพบว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่น่าหลงใหล เพราะสถานะของคณิตศาสตร์ไม่เคยเปลี่ยนแปลง มันจึงเป็นสถานะที่ทำให้เราสามารถมีความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับมันได้
เพลโตเชื่อว่าความจริงแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
-โลกแห่งประสาทสัมผัส ซึ่งเรามีความรู้ได้เพียงคร่าวๆ หรือไม่สมบูรณ์ ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ในโลกแห่งประสาทสัมผัสนี้ทุกอย่างเลื่อนไหล และไม่มีอะไรเที่ยงแท้ ผ่านแล้วผ่านไป
-โลกของแบบ โลกที่เราสามารถเข้าถึงได้ด้วยการใช้เหตุผล เป็นโลกที่เที่ยงแท้และไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับเพลโต มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีทวิลักษณะ เรามีร่างกายที่เลื่อนไหล ผูกติดกับโลกแห่งประสาทสัมผัสอย่างแยกไม่ออก แต่เราก็มีวิญญาณอมตะ ที่ทำให้เราเข้าถึงอาณาจักรของเหตุผลอันนำไปสู่โลกของแบบที่เที่ยงแท้
เพลโตเชื่อว่าวิญญาณมีอยู่ก่อนหน้าที่จะเข้ามาอยู่ในร่าง แต่ทันทีที่วิญญาณตื่นขึ้นมาในร่าง มันก็จะลืมแบบที่สมบูรณ์ และแล้วบางอย่างก็เกิดขึ้น เป็นกระบวนการที่มหัศจรรย์ นั่นคือทันทีที่มนุษย์เริ่มค้นพบรูปแบบต่างๆในโลกธรรมชาติ ความทรงจำที่พร่าเลือนนี้จะกระตุ้นวิญญาณของมนุษย์ เมื่อเขาเห็นม้า ในโลกแห่งประสาทสัมผัสที่แม้จะไม่ใช่แม้ที่สมบูรณ์ แต่ก็เพียงพอที่จะปลุกความทรงจำอันเลือนลางเกี่ยวกับ “ม้า” ที่สมบูรณ์ในโลกของแบบ อันนำไปสู่การเรียกร้องที่จะกลับสู่จุดกำเนิดที่แท้จริงของมัน

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550

กลอนซึ้ง ๆ ครั้งที่ ๘


ฉันเคยแล่นใบ โดดเดี่ยว เงียบเหงา
ฉันเคยถามดาว เห็นคนรักฉันบ้างไหม
ฉันเคยถามลม ที่พัดเลยไป
ลมเอ๋ย...ไย...ไม่พัดใครมาให้สักคน
(ลักษณวดี)

เต๋าเต็กเก็งบทที่ 39


ฟ้าเข้าถึงความเป็นหนึ่งจึงสดใส
ดินเข้าถึงความเป็นหนึ่งจึงสงบมั่นคง
หุบห้วยเข้าถึงความเป็นหนึ่งจึงเต็มเปี่ยม
สรรพสิ่งเข้าถึงความเป็นหนึ่งจึงก่อเกิด
เพราะ...หากฟ้าไม่สดใส ก็กลัวว่าจะแตกสลาย
หากดินไม่สงบมั่นคง ก็กลัวว่าจะย่อยยับ
หากหุบห้วยไม่เติมเต็ม ก็กลัวว่าจะแห้งแล้ง
หากสรรพสิ่งไม่อาจก่อเกิด ก็กลัวว่าจะสูญสิ้น
(เต๋าเต็กเก็ง บทที่ 39)

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

ดวงอาทิตย์ (๕)

สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์คือก้อนก๊าซ ที่สามารไหลวนได้อย่างอิสระจึงทำให้ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองที่ตำแหน่งใดๆ ไม่เท่ากัน เช่น บริเวณเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ใช้เวลาหมุนรอบตัวเองเพียง 25.5วัน ในขณะบริเวณขั้วใช้เวลา 33 วัน ความเร็วที่ต่างกันนี้เองทำให้เส้นแรงแม่เหล็กถูกเนื้อสารของดวงอาทิตย์ ดึง และเกิดการซ้อนทับกันในบางบริเวณมากกว่าปกติ
ธรรมชาติประการหนึ่งของก๊าซ(หรือสสาร)ที่มีประจุไฟฟ้าใดๆ คือ จะเคลื่อนที่ไปตามเส้นแรงแม่เหล็กเสมอ (ไม่เคลื่อนที่ตัดผ่านแนวของแรงแม่เหล็ก) ดังนั้นบริเวณที่มีเส้นแรงแม่เหล็กมาก ก๊าซมีประจุจากชั้นแผ่รังสีก็จะเคลื่อนผ่านมากตามไปด้วย เกิดความร้อนสูงกว่ารอบด้าน ส่งผลให้พลาสมาลอยตัวขึ้นสู่ผิวดวงอาทิตย์จนความหนาแน่นเบาบางลง การลอยตัวของพลาสมาจะดึงเส้นแรงแม่เหล็กให้ลอยขึ้นเสมือน ท่อ ก่อนจะพุ ออกที่ผิวของดวงอาทิตย์ เนื่องจากก๊าซที่มีประจุจะไม่เคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็กทำให้พลังงานที่ได้รับน้อยลงกว่าเดิม จนเกิดเป็น -จุดบนดวงอาทิตย์
*จุดบนดวงอาทิตย์ ไม่ได้มีจำนวนคงที่เท่ากันตลอดเวลา แต่จะเพิ่มและลดลงสลับกันไปเป็นรอบๆ โดยแต่ละรอบจะมีระยะเวลา 11 ปี นั่นคือในเวลา 11 ปีจำนวนจุดบนดวงอาทิตย์จะเพิ่มสูงถึงจุดสูงสุด จากนั้นจะลดลงถึงจำนวนต่ำสุด และเพิ่มขึ้นสลับกันไปเรื่อยๆ
ในช่วงเพิ่มขึ้นสูงสุด แสดงให้เห็นว่าสนามเหล็กบนดวงอาทิตย์มีความแปร -ปรวนมาก เปิดโอกาสให้พลาสมาระเบิดขึ้นสูงชั้นบรรยากาศ เป็น เปลวสุริยะ หรือการลุกจ้า และการเกิดเปลวสุริยะมากก็จะเป็นตัวเร่งให้กำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง อีกทั้งยังทำให้มีอนุภาคบางส่วนหลุดจากดวงอาทิตย์แผ่มายังโลกในรูปของลมสุริยะอีกด้วย
เมื่อลมสุริยะแผ่มาถึงโลก อนุภาคพลังงานสูงจะเคลื่อนที่ไปตามเส้นแรงแม่เหล็กของสนามแม่เหล็กซึ่งห่อหุ้มโลกไว้ แต่เนื่องด้วยขั้วโลกทั้งสอง (เหนือ-ใต้) มีเส้นแรงแม่เหล็กที่แผ่ออกมา อนุภาคบางส่วนจะวิ่งตามเส้นแรงแม่เหล็กนั้นลงมาใกล้ผิวโลกและถ่ายเทพลังงานให้กับบรรยากาศชั้นบน ทำให้โมเลกุลของก๊าซในบรรยากาศเรืองแสงเรียกว่า แสงเหนือ-แสงใต้

ดวงอาทิตย์ (๔)

ปรากฏการณ์ บนผิวของดวงอาทิตย์
1.จุดบนดวงอาทิตย์
บนผิวของดวงอาทิตย์จะมีจุดๆ สีดำปรากฏให้เห็นประปราย จุดเหล่านี้มักเรียกว่า-จุดดับบนดวงทิตย์ อันเป็นความเข้าใจผิด แท้จริงแล้วจุดดังกล่าวนั้น คือบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าผิวของดวงอาทิตย์รอบข้างประมาณ 1000 เคลวิน
*แม้ว่าจุดดังกล่าวจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณรอบข้าง แต่ก็ยังพอที่จะทำให้เหล็กหลอมละลายได้
2.เปลวสุริยะ
เป็นการระเบิดที่ทำให้มวลสารกระเด็นขึ้นมาสูงจากพื้นผิว ด้วยเส้นแรงแม่เหล็กที่พุ่งขึ้นเหนือผิวดวงอาทิตย์ จะทำให้มวลสารที่มีประจุลอยไปตามเส้นแรงแม่เหล็ก
ในกรณีที่การระเบิดรุนแรงมาก มวลสารบางส่วนอาจพุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วหลุดพ้นของดวงอาทิตย์ ทำให้มวลสารเหล่านั้นหลุดออกไปกลายเป็นพลาสมาที่เคลื่อนที่ในอวกาศ
*ความเร็วหลุดพ้น(ของดวงอาทิตย์) มีค่า 618 กิโลเมตร/วินาที
3.ปรากฏการณ์ลุกจ้า
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการระเบิด แต่อยู่บริเวณพื้นผิวของดวงอาทิตย์เท่านั้น
4.ลมสุริยะ
หมายถึง อนุภาคพลังงานสูงที่เคลื่อนไปในอวกาศ
เมื่ออนุภาคพลังงานสูงเคลื่อนที่ออกจากดวงอาทิตย์ ปะทะเข้ากับหัวของดาวหาง ทำให้เกิดการระเหิดกลายเป็นหางก๊าซยาวหลายล้านกิโลเมตร
ลมสุริยะมีอุณหภูมิสูงมากคือ 1000000-2000000 เคลวิน แต่ในสภาวะปกติจะเบาบางมาก จึงไม่เป็นอันตรายต่อยานอวกาศ
*เบาบางมาก เมื่อเทียบกับ การตักอากาศที่ใช้หายใจ กับอนุภาคพลังงานสูง ต่อหนึ่งหน่วยลูกบาศก์เซนติเมตร เช่น ตักลมสุริยะ(อนุภาคพลังงานสูง) มา 1 ลบ.ซม จะได้โปรตอนมา 5 ตัว ( 5โปรตอน/ลบ.ซม.) ในขณะที่ ตักอากาศหายใจมา 1 ลบ.ซม.ได้อนุภาคของก๊าซมากถึง 27 ล้าน ล้าน ล้านอนุภาค

ดวงอาทิตย์ (๓)

ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์
แบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ
โฟโตสเฟียร์ –ผิวดวงอาทิตย์และบรรยากาศชั้นล่าง
คือตั้งแต่ระดับผิวดวงอาทิตย์จนถึงความสูงประมาณ 850 กิโลเมตร โฟโต-แสง และสเฟียร์-ทรงกลม รวมกันมีความหมายว่า ทรงกลมแห่งแสง
นักดาราศาสตร์สมัยโบราณ สังเกตปรากฏการณ์ สุริยุปราคา เมื่อดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมด ผู้สังเกตบนโลกจะไม่เห็นผิวดวงอาทิตย์เลย และทำให้บรรยากาศรอบข้างมืดลงจนคล้ายเวลาค่ำ จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า –ถ้าดวงอาทิตย์ส่วนนี้ถูกบังไปหมดแล้วแสงหายไป ย่อมแสดวงว่าส่วนนี้ต้องเป็นส่วนที่ให้แสง
ดังนั้นขณะที่เรามองดวงอาทิตย์เราก็กำลังมองบรรยากาศชั้นโฟโตสเฟียร์อยู่นั่นเอง นอกจากจะเป็นชั้นที่สองสว่างแล้ว ก็ยังมีปรากฏการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นอีกหลายอย่าง คือ จุดบนดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ และ ปรากฏการณ์ดอกดวงบนดวงอาทิตย์ อุณหภูมิในชั้นนี้อยู่ที่ 5700-5800 เคลวิน
โครโมสเฟียร์ --ทรงกลมแห่งสีสัน
อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 900-3000 กิโลเมตรเหนือผิวดวงอาทิตย์ โครม-สี และสเฟียร์-ทรงกลม รวมกันเรียกว่า ทรงกลมแห่งสี
ด้วยเหตุที่อยู่สูงกว่าชั้น โฟโตสสเฟียร์ทำให้ขณะที่ เกิดเหตุการณ์สุริยุปราคา ดวงจันทร์เข้ามาบดบัง การระเบิดของก๊าซร้อน จึงทำให้ปรากฏเป็นแสงสีแดงเรื่อๆ ที่ขอบของดวงจันทร์(*ยังไม่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง)
มีอุณหภูมิประมาณ 6000-10000 เคลวิน ปรากฏการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น คือ เปลวสุริยะ
โคโรนา—บรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์
อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 5000 กิโลเมตร และแผ่ออกไปกว่า 1000000 กิโลเมตร (โคโรนา ภาษาละติน –มงกุฎ เพราะเปล่งแสงคล้ายมงกุฎ)
โคโรนาเป็นชั้นที่มีพื้นที่มากที่สุด แต่มีความสว่างน้อยมากคือ หนึ่งในล้านของชั้น โฟโสเฟียร์
มีอุณหภูมิ ประมาณ 2000000 เคลวิน

ดวงอาทิตย์ (๒)

กระบวนการถ่ายเทพลังงานของดวงอาทิตย์
การถ่ายเทพลังงานจากดวงอาทิตย์มี 3 ขั้นตอน คือ หลังจากที่พลังงานกำเนิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่แกน พลังงานปริมาณมหาศาลจะพุ่งออกโดยวิธีการแผ่รังสี จนถึงระยะความลึกระดับหนึ่ง และเปลี่ยนวิธีการถ่ายเทความร้อนเป็นการ พาความร้อน จนมาถึงผิว และจากนั้นพลังงานจากดวงอาทิตย์จึงส่งต่อมายังบริเวณอื่นๆ ด้วยวิธี แผ่รังสี อีกครั้ง
* การนำความร้อน คือ การที่ความร้อนถูกถ่ายเทผ่านตัวกลาง เช่น การที่หูของหม้อ เมื่อผ่านไประยะหนึ่งหม้อที่ต้มน้ำ จะทำให้หูร้อนตามไปด้วย
* การพาความร้อน คือ การที่ตัวกลางได้รับความร้อนและเคลื่อนที่ไป และพาความร้อนไปด้วย เช่น การต้มหมูในน้ำ น้ำจะได้รับความร้อน และพาความร้อนเข้ามายังชิ้นหมู ทำให้หมูสุก
* การแผ่รังสี เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้ตัวกลาง โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงแผ่ออกจากแหล่งกำเนิดโดยรอบ

โครงสร้างภายในของดวงอาทิตย์
โครงสร้างชั้นแรกถัดจากแกนกลางของดวงอาทิตย์ออกมา เรียกว่า ชั้นแผ่รังสี ในชั้นนี้พลังงานที่กำเนิดจากแกนกลาง จะถูกส่งออกมาอย่างรวดเร็วและมีปริมาณมากเกินกว่าจะสามารถถ่ายเทไปได้ด้วยตัวกลางใดๆ สสารทุกอย่างในชั้นนี้ร้อนจนกลายเป็นไอและประจุไฟฟ้า ดังนั้นพลังงานที่กำเนิดจึงพุ่งผ่านไปด้วยการ แผ่รังสี มีอุณหภูมิลดลงจากแกนกลางเหลือประมาณ 2-3 ล้านเคลวิน
*ระยะของการแผ่นรังสีอยู่ที่ประมาณ 400000 กิโลเมตร
ถัดมาคือชั้น ก๊าซร้อนหมุนวน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางพาความร้อน โดยการหมุนวน จากระดับที่ต่ำกว่าขึ้นไปยังพื้นผิวและตกกลับลงมาใหม่ เรียกว่าการหมุนวน
*การหมุนวน ตัวอย่าง ต้มน้ำในหม้อ ความร้อนไม่เพียงถูกถ่ายโดยการนำความร้อนเพียงอย่างเดียว แต่จะมีการหมุนวนอีกด้วย เพราะเมื่อน้ำที่อยู่ก้นหม้อได้รับความร้อนจะทำให้เกิดการขยายตัวมีความหนาแน่นน้อยลง และลอยไปยังผิวของน้ำ ในขณะเดียวกันน้ำจากผิวด้านบนที่เย็นกว่าและมีความหนาแน่นมากกว่าจะจมลงไปแทนที่ ส่วนน้ำที่ลอยบนผิวน้ำ จะคายความร้อนให้แก่อากาศรอบข้างจนเย็นตัวลง และกลับจมลงไปแทนที่น้ำที่ร้อนจากด้านล่างอีกครั้ง จะหมุนวนเช่นนี้อยู่เรื่อยๆ
ดวงอาทิตย์ มีขนาดใหญ่มาก จึงส่งผลให้กระบวนการถ่ายเทความร้อนชนิดนี้ใช้เวลานานถึง 100000-500000 ปี จึงจะมาถึงผิวของดวงอาทิตย์
*ด้วยการหมุนวนนี้เองส่งผลให้ผิวของดวงอาทิตย์ไม่ราบเรียบ หากแต่มีลายเป็นเม็ดเล็กๆ

ดวงอาทิตย์ (๑)

ดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ คือ ก้อนก๊าซขนาดมหึมาที่ลอยอยู่ในอวกาศ พื้นผิวของดวงอาทิตย์นั้นมีการระเบิดที่รุนแรงอยู่ตลอดเวลา อุณหภูมิสูงมากจนสสารทุกชนิดแม้แต่เหล็กและทองคำระเหยกลายเป็นไอ ดังนั้นหากขับยานเข้าไป ยานลำนั้นจะบินทะลุโดยไม่ชนกับสิ่งใดเลย
ประกอบด้วยไฮโดรเจน 70 ฮีเลียม 28 และธาตุหนักอื่นๆ อีกประมาณ 2 เปอร์เซ็น เส้นผ่านศูนย์กลาง 1392000 กิโลเมตร มีมวลมากถึง 2000 ล้าน ล้าน ล้าน ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นมวลกว่า 98 ของวัตถุทั้งหมดในระบบสุริยะ
มวล 60 ของดวงอาทิตย์นั้นอยู่บริเวณแกนกลางที่มีรัศมีประมาณ 200000 กิโลเมตร ด้วยเหตุนั้น ปริมาณ เพียง 1 ลูกบาศก์เมตร จะมีน้ำหนักถึง 160 ตัน
อุณหภูมิผิวของดวงอาทิตย์ คือ 5700-5800 เคลวิน แต่ก็ยังไม่อาจเทียบได้กับ 15 ล้านเคลวินที่แกนกลาง
ทุกวินาที ดวงอาทิตย์จะจุดระเบิดไฮโดรเจนมวล 610 ล้านตัน ให้รวมตัวกันเป็น ฮีเลียม 606 ล้านตัน นั่นคือ ทุกวินาทีจะสามารถผลิตพลังงานประมาณ 360 ล้าน ล้าน ล้าน ล้านจูล เท่ากับพลังงานไฟฟ้าให้กับประเทศไทยได้เป็นเวลาถึง 97 ล้านปี

กลอนซึ้ง ๆ ครั้งที่ ๗


มีปากแต่ไร้เสียง จักกล่าว
ความรักหักห้ามเรา จึ่งถอย
ใจเจ็บปวดรวดร้าว แต่ยิน- ยอมทำ
ภพหน้ารอคอย สองเรา ครองคู่
(โคลงสี่สุภาพ)

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

เต๋าเต๊กเก็ง บทที่ 2


เมื่อคนรู้จักความสวยว่างาม ความน่าเกลียดก็อุบัติ
เมื่อคนรู้จักความดี ว่าชอบธรรม ความชั่วก็ปรากฏ
มีกับไม่มีเกิดขึ้นด้วยการสัมผัส
ยากกับง่ายเกิดขึ้นด้วยความรู้สึก
ยาวกับสั้นเกิดขึ้นด้วยการเปรียบวัด
สูงกับต่ำเกิดขึ้นด้วยการเทียบเคียง...
(เต๋าเต็กเก็ง บทที่ 2)

วิถีของสายน้ำ


วันดีคืนดีในเดือนที่อากาศร้อนแสนร้อน ก็เกิดหวนไปคิดถึงเรื่องเก่าก่อน มันเป็นอดีตที่ผ่านมาไม่นานนัก
แต่ก็ดูเหมือนห่างไกลจากปัจจุบันพอสมควร...
ยามนั้นยังยืนอยู่บนระเบียงหน้าห้องพัก เหม่อมองสายน้ำที่ไหลล่อง
และอาจด้วยแดดร่มลมตก ของยามเย็น จึงพาตัวเองเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อลองสัมผัสกับความชุ่มชื้น ทว่ากระแสการไหลของมันรุนแรงกว่าที่เห็นภายนอก คงเป็นดังภาษิตที่ว่า น้ำนิ่งไหลลึกกระมัง
ผิวน้ำที่คล้ายกับเจียมเนื้อเจียมตัว กลับเก็บกักความกราดเกรี้ยวไว้ภายใน ซึ่งหากยืนมอง ก็จะไม่มีทางรู้เลย ว่าเพียงแค่เท้าข้างหนึ่งถูกหย่อนลงไป ขาก็ถูกแรงกระชากจนเกือบเสียการควบคุม
และจะเพราะความตกใจหรือสัญชาติญาณ ก็ไม่รู้แน่...จึงรีบหดขากลับทันที
ใช้เวลาทำสมาธิชั่วครู่ จึงค่อยคลายความตกใจ เกิดความคิดว่า “ความจริงแล้วสายน้ำอาจไม่รุนแรง
เพียงแต่เพราะไม่เคยชินก็เท่านั้น”ว่าแล้วก็ค่อย ๆ หย่อนเท้าลงไปอีกครั้ง...
ในช่วงแรก ๆ แรงกระชากก็ยังรุนแรง ต่อเมื่อนานไป ก็ค่อย ๆ ทนทานได้
สามารถควบคุมเท้าที่หย่อนลงไปได้ดีกว่าเดิม
ดังนี้แล้ว จึงเพิ่มขาลงไปอีกข้างหนึ่ง...

เมื่อคุ้นชินกับสายน้ำแล้ว ความแปลกหน้าก็หมดไป รู้จังหวะถอย จังหวะลุก จึงสามารถนั่งแช่เท้าได้อย่างสบายอารมณ์ ไร้กังวล...
และแล้วความคิดก็หวนคิดไปถึงข้อความหนึ่งที่เคยได้ยิน...“เราไม่มีวันก้างลงไปในแม่น้ำสายเดียวกันได้สองครั้ง เพราะทันทีที่เท้าสัมผัส ทั้งตัวเราและแม่น้ำ ก็ต่างไปจากเดิมเสียแล้ว”
ในวัยเด็กถ้าได้ยินข้อความนี้ ก็ให้รู้สึกมึนงง ในวัยที่โตขึ้นมานิด ถ้าได้ยินก็คงไม่เห็นด้วย เพราะว่า “แม่น้ำก็คือแม่น้ำจะ เปลี่ยนเป็นอื่นไม่ได้ เช่นกันตัวเราก็คือตัวเรา เปลี่ยนเป็นอื่นไม่ได้อีก”
แต่ในวัยที่โตขึ้นมาอีกหน่อย เปิดรับความรู้มากขึ้น ถ้าได้ยินอีกก็ให้หวนคิดว่าคงจะมีส่วนจริง
เพราะว่า “แม่น้ำไม่เคยหยุดนิ่ง ไหลตลอดเวลา จุดที่เราเคยเหยียบแล้ว หากมาเหยียบอีกที สายน้ำตรงนั้นก็ไม่ใช่สายน้ำสายเดิมอีก เช่นเดียวกับตัวเรา...ที่ภายนอกคือร่างกายก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยิ่งถ้ามองลึกลงไปในระดับเซลล์ได้ก็จะพบว่า เราวันนี้กับเราเมื่อวานมีเซลล์ไม่เหมือนกัน อย่าว่าแต่ภายในอารมณ์ เมื่อย่างก้าวลงไปครั้งแรกกับครั้งที่สอง ก็ใช่ว่าจะเป็นความรู้สึกเดียวกัน”

บ่อยครั้งเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า ท้อถอย มักจะคิดถึงสายน้ำ ยิ่งถ้ามีโอกาสอยู่ใกล้ ๆ มันด้วยแล้ว...ก็คงจะมองด้วยใจจดจ่อ อยู่เป็นนานทีเดียว
ด้วยการมองสายน้ำ ทำให้คิดถึงวิถีของมัน
“สายน้ำเดินทางแต่เพียงข้างหน้า และผันตัวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น...เราจึงไม่สามารถก้าวลงไปในแม่น้ำได้ถึงสองครั้ง”
ดังนี้...
ถ้าสามารถเดินตามวิถีของสายน้ำได้ ยามเมื่อพลาดผิด ความทุกข์ก็คงเกาะกินใจ ได้ไม่นาน...เพราะเราก้าวไปแต่เพียงข้างหน้า และผันตัวตลอดเวลา ดังนั้น...ความทุกข์จึงไม่สามารก้าวลงไปในจิตใจได้ถึงสองครั้ง

ปล. จำไม่ได้แล้วว่าตัวเองนั่งแช่น้ำอยู่นานเท่าไร เท้าจึงเปื่อยได้ขนาดนี้...แต่ที่รู้ก็คือ “เท้าเปื่อยวันนี้ พรุ่งนี้ก็เปื่อยน้อยลง วันต่อมาก็เปื่อยน้อยลง ยิ่งนานก็ยิ่งน้อยลง เช่นนี้...จะกลัวไปใยกับการเปื่อยของเท้า หากยังมีพรุ่งนี้ให้ก้าวเดิน”

เป็นเหมือนจักรวาล


จักรวาลนี้เป็นที่ว่างเสียส่วนใหญ่
จักรวาลนี้เป็นที่มืดเสียส่วนใหญ่
เขาอยากให้ตัวเองเป็นเหมือนจักรวาล
ที่มืดเสียส่วนใหญ่ เพื่อจะได้อำพรางรอยน้ำตา
ที่ว่างเสียส่วนใหญ่ เพื่อจะได้บรรจุความเจ็บช้ำ

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

ยามเมื่ออาทิตย์อัสดง


เคยได้ยินมาว่ายามเมื่ออาทิตย์อัสดงหัวใจมักห่อเหี่ยว
ยามนี้อาทิตย์กำลังอัสดง
“เคยคิดถึงเราบ้างไหม” เธอถาม
“ไม่เคย”
“จะทำอะไรสักอย่างเพื่อเราได้ไหม” เธอถามอีก
“ไม่”
ฟ้าตะวันตกอาทิตย์อัสดงลงไปทุกที ๆ แล้ว หัวใจคนก็ราวกับห่อเหี่ยวไปทุกที ๆ เช่นกัน
“ถ้าเราจากไป จะร้องไห้ไหม”
“...”
ช้าไปนิดแต่คำตอบที่เธอได้ยินยังคงเป็นคำเดิม
“ไม่”
“ชีวิตเรากับชีวิตตัวเองเลือกอะไร”
“ชีวิตตัวเอง”
ประโยคนี้ราวกับได้โยกตัวเธออย่างแรงรุนแรง จนน้ำเสียงที่กล่าวไปสั่นเครืออย่างยิ่ง
“เคยชอบเราบ้างไหม”
“ไม่”
ยากจะบอกได้ ว่าคำว่า “ไม่” หลุดจากปากก่อน หรือน้ำตาของเธอไหลออกมาก่อน ทว่าเมื่อน้ำตาไหลรินอีกเพียงไม่นานเขาก็พูดขึ้นว่า
“เหตุผลที่ไม่คิดถึง เพราะคิดถึงอยู่ตลอดเวลา เหตุที่ไม่สามารถทำอะไรให้สักอย่างได้ เพราะต้องการทำทุกสิ่งทุกอย่าง เหตุผลที่ไม่ร้องไห้เมื่อจากกันไป เพราะไม่ทันที่น้ำตาจะไหลอาจบางทีหัวใจคงหยุดเต้นเสียก่อน เหตุผลที่เลือกชีวิตตัวเอง ก็เพราะเราคือชีวิตเดียวกัน...และเหตุผลที่ไม่ได้ชอบ”
ฟ้าตะวันตกอาทิตย์อัสดงไปแล้ว อัสดงไปพร้อมกับหัวใจที่ห่อเหี่ยว กระทั่งหัวใจที่ห่อเหี่ยวอัสดงลงไปเพราะเธอได้ยินคำว่า
“เพราะผมรักคุณ”
(จาก Forward mail ฉบับหนึ่ง)

กลอนซึ้ง ๆ ครั้งที่ ๖


รักหรือหลง คืนต้นเหตุ แห่งความเศร้า
สิ่งรบเร้า ที่เจ้าพร่ำ ร่ำเสมอ
อันความรัก ที่รู้จัก และพบเจอ
หากเศร้าเพ้อ ก็เพราะคง หลงนิยาม
(MomMamSan ผู้แต่ง)

อสุขนิยม

อสุขนิยมถือว่า ความสุขไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์

1.ปัญญานิยม เชื่อว่า ปัญญาหรือความรู้เป็นสิ่งที่ดีที่สดสำหรับมนุษย์
-นักปรัชญาที่สนับสนุน โสคราตีส เพลโต อริสโตเติ้ล
-ทัศนะของทั้ง 3 คน คล้าย ๆ กันคือ เชื่อว่า “ทุกอย่างในโลกย่อมมีลักษณะเฉพาะของมัน”
-ลักษณะเฉพาะเรียกว่า “สาระ” สาระเป็นตัวบ่งชี้ว่าหรือทำให้รู้ว่ามันแตกต่างจากสิ่งอื่น ๆ
-สาระของมนุษย์คือปัญญา
-ความสุขไม่ได้มีค่าในตัวเอง
-ความรู้มีอยู่ 2 อย่าง
1.ความรู้เกี่ยวกับโลกภายนอก เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
2.ความรู้เพื่อความรู้ คือ ความรู้ที่เปรียบกับอาหารทางใจ

ทัศนะของอริสโตเติ้ล
-การกิน เจริญเติบโต สืบพันธ์ คือลักษณะร่วม ของพืช สัตว์ คน (ยังไม่ใช่สาระ)
-การมีประสาทรับรู้ คือลักษณะร่วมของ สัตว์ และมนุษย์ (ยังไม่ใช่สาระ)
-ปัญญา คือคุณสมบัติที่โดดเด่นของมนุษย์ ดังนี้มันจึงเป็นสาระ เพราะสัตว์ พืช ไม่มีมัน

ทัศนะของเพลโต
-วิญญาณของคนมี 3 ภาค คือ
1.ภาคต่ำสุด คือ หิว สืบพันธ์
2.ภาคที่รู้จักชื่อเสียง เกียรติยศ และชื่นชมความกล้าหาญ
3.ภาคสูงสุด คือ ปัญญา

ทัศนะของโสเครตีส
-ความสุขเป็นพื้นฐาน ที่ทำให้กิจกรรมทางปัญญาเป็นไปโดยราบรื่นเท่านั้น
-“วิชชาคือธรรม” คือ ไม่มีใครเป็นคนดีได้โยปราศจากความรู้
-สิ่งที่ประเสริฐที่สุดคือชีวิตที่ใช้ปัญญาแสวงหาสัจธรรม

2.วิมุตินิยม เชื่อว่า ความสงบของจิตคือสิ่งที่ดีที่สุด
ปรัชญาพวกซินนิค
-ชีวิตอยู่ที่การดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ มีสิ่งจำเป็นในชีวิตให้น้อยที่สุด
-ทัศนะของซินนิคเป็นลักษณะหนี มากกว่า ลักษณะเข้า เพราะเป็นการหนีออกจากสังคม
-ผู้ที่อยู่ในกลุ่มซินนิค ไดโอจินิส, อันติเทนิส

ปรัชญาพวกสโตอิค
-ผู้ที่อยู่ในกลุ่มสโตอิค เซโน, เอพิคเตตัสม มาร์คัส ออเรอุส
-เชื่อในอำนาจของปัญญามนุษย์ (คล้ายกับปัญญานิยม)
-จักรวาลดำรงอยู่โดยมีกฎเกณฑ์ มนุษย์สามารถเข้าถึงกฎเกณฑ์นี้ได้
-มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล การกระทำจึงควรสอดคล้องไปกับกฎเกณฑ์ของจักรวาล
-เมื่อใช้เหตุผลจนเข้าใจเราก็จะไม่มีอารมณ์ โกรธ หรือรักอีก เพราะเข้าใจเหตุผลแล้วสิ่งนั้นเป็นอย่างนี้เพราะเหตุใด
-ควรเอาชนะใจตนเอง ด้วยการฝึกฝนคุณธรรม 3 คือ
1.ความอดทน ต่อสู้กับความเจ็บปวด
2.ความอดกลั้น ต่อสู้กับความยั่วยวน
3.ความยุติธรรม
-สิ่งที่มีหากน้อยกว่าความต้องการ = ไม่พอใจ
-สิ่งที่มีหากเท่าความต้องการ = พอใจ
*เพื่อให้เกิดความพอใจ สมควรลดที่ ความต้องการ ไม่ใช่ไปเพิ่มสิ่งที่มีให้มากเท่าความต้องการ

3.มนุษย์นิยม
-สุขนิยมมองด้านเดียว ด้านความสุขทางกาย
-อสุนิยมมองด้านเดียว ด้านความสุขทางใจ
-มนุษย์อยู่ในโลกที่เป็นทั้งทางกาย ทางใจ
-มนุษย์ควรให้ความสำคัญทั้งความสุขทางกาย (สุขนิยม) และความสุขทางใจ (อสุขนิยม)

อภิปรัชญา (๒)

2.ธรรมชาตินิยม (สัจจนิยม หรือ ธรรมชาตินิยมเชิงวิพากษ์) เชื่อว่า ความจริงแท้คือสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ
ธรรมชาติ คือ 1.สิ่งที่ดำรงอยู่ในระบบของอวกาศและเวลา 2.เกิดขึ้นและจบลงไปโดยมีสาเหตุ

ความเชื่อของธรรมชาตินิยมที่ต่างจากสสารนิยมคือ
1.ในเรื่องวิวัฒนาการ และคุณภาพกับการลดทอน
-สสารนิยม เชื่อว่า กระบวนการวิวัฒนาการไม่มีสิ่งใหม่เกิดขึ้น คุณภาพกับปริมาณไม่ต่างกัน คุณภาพสามารถถูกลดทอนลงเป็นปริมาณได้
-ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า กระบวนการวิวัฒนาการทำให้เกิดสิ่งใหม่ เป็นคุณภาพใหม่ไม่สามารถลดทอนได้ สิ่งใหม่เกิดขึ้น คุณภาพใหม่เกิดขึ้น
2.ความเชื่อเกี่ยวกับจำนวนความจริง
-สสารนิยมเชื่อว่า สิ่งที่เป็นจริงมีสิ่งเดียว (เอกนิยม)
-ธรรมชาตินิยมเชื่อว่า ส่งที่เป็นจริงมีมากกว่าหนึ่ง(พหุนิยม)
3.ในเรื่องความแน่นอนของกลศาสตร์
-สสารนิยมเชื่อในความแน่นอนของกลศาสตร์
-ธรรมชาตินิยมกล่าวว่า อนุภาคเล็ก ๆ ไม่แน่นอน ทำนายการเคลื่อนที่ และทิศทางได้ยาก

3.จิตนิยม
-ความจริงคือจิต
-สิ่งมีชีวิตประกอบด้วย 2 ส่วน คือ กาย และใจ
-อสสาร ไม่กินที่ ไม่มีน้ำหนัก

ชนิดของจิตนิยม
1.จิตนิยมอัตวิสัย
-ผู้ที่สนับสนุน เบอคเคลย์
-สิ่งที่มีอยู่รับรู้ได้ ถ้ารับรู้ไม่ได้คือไม่มีอยู่

2.ค้านท์
-สิ่งที่เป็นจริงเรียกว่า Numena เราไม่สามารถรับรู้ได้
-Phenumena เราสามารถรับรู้ได้ เป็นสิ่งที่ปรากฏแก่ประสาทสัมผัส
-สิ่งที่รับ กับการรับรู้มันแล้ว แตกต่างกัน เพราะสิ่งที่รับเมื่อผ่านการรับรู้จะถูกแปรรูปโดยความนึกคิด

3.จิตนิยมสมบูรณ์
-ผู้สนับสนุน เฮเกล
-จิตเคลื่อนไหว แล้ววิวัฒนาการ
-ทุกอย่างวิวัฒนาการมากจากจิตที่ยิ่งใหญ่ (จิตของพระเจ้า)

4.จิตนิยมเชิงวัตถุวิสัย
-ผู้สนับสนุน เพลโต
-ความจริงมีโดยตัวของมันเอง (วัตถุวิสัย)
-ความคิดมีอยู่จริง มีอยู่ในโลกของ มโนคติ (โลกของแบบ)

อภิปรัชญา (๑)

อภิปรัชญา คือ สาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับความจริง
ความเป็นจริง มี 3 ประเภท
1.ความจริงขั้นสมมุติ เช่น ความจริงทางสังคม
2.ความจริงตามสภาพ เช่น อนุภาคพื้นฐาน
3.ความจริงปรมัตถ์ คือ ความจริงแท้ของสิ่งนั้น ๆ

ทางปรัชญาแบ่งความจริงเป็น 2 ระดับ
1.สภาพที่ปรากฏ คือ สิ่งที่ปรากฏแก่ประสาทสัมผัส
2.สภาพที่เป็นจริง คือ สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่ประกอบเป็นสิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถลดทอนลงได้อีกแล้ว

ลัทธิความเชื่อในอภิปรัชญา
1.ลัทธิสสารนิยม เชื่อว่า ความจริงแท้อยู่ในสสาร

ลักษณะของลัทธิสสารนิยม
- เป็นเอกนิยม คือ เชื่อว่าความจริงมีเพียงสิ่งเดียว
- ยอมรับการลดทอน
- ค่าเป็นสิ่งสมมติ เช่น ค่าทางศีลธรรม ค่าทางสุนทรียะ
-ทุกอย่างอยู่ในระบบจักรกล คือ ทำงานอย่างเป็นกลไก

ชนิดของสสารนิยม
1.จารวาก
-ไม่เชื่อว่า มีกรรม และผลของกรรม
- สรรพสิ่งเกิดจากธาตุทั้ง 4

2.เดโมคลิตุส
-สรรพสิ่งถูกประกอบสร้างมาจากสิ่งที่เรียกว่า “อะตอม” (แบ่งแยกอีกไม่ได้)

3.โทมัส ฮอป
-ทฤษฏีจักรกล ทุกอย่างอยู่ในระบบจักรกล ทำงานกันอย่างเป็นระบบ

4.สสารนิยมเชิงปฏิพัฒนาการ
-สสารไม่หยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงเป็นผลผลิต พัฒนาไปสู่สสาร

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550

กลอนซึ้ง ๆ ครั้งที่ ๕


รักปรายพรายฟ้าหน้าฝน

ปลิวปนลมไล้ให้ฝัน

หอมกรุ่นอุ่นไอผูกพัน

รังสรรค์ใยซึ้งถึงเธอ .....

(MomMamSan ผู้แต่ง)

กลอนซึ้ง ๆ ครั้งที่ ๔


ลมเอ่ยลอยมาแล้ว พัดผ่าน
ปัดฝุ่นผงหน้าบ้าน ปลิวไกล
ทั้งดอกไม้ล้วนลิ่ว ๆ ตามติดใกล้ ๆ
แต่ไฉนความเหงาไย ไม่ไปพร้อมกัน

ปัจจัยแรกหรือมูลเหตุจูงใจให้ตัดสินใจข่มขืน

บทคัดย่องานวิจัย
ปัจจัยแรกหรือมูลเหตุจูงใจให้ตัดสินใจข่มขืน
โดยนางสาวอลิสา แสงขำ นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาลตร์ (อาชญวิทยา)
ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากนักโทษข้อหาข่มขืนจากคุกบางขวางและลาดยาว จำนวน 100 คน

- 90% เลือกผู้หญิงผมยาว คือหางเปีย หางม้า ปล่อยตามธรรมชาติ เพราะกระชากจากข้างหลังได้ง่าย
- 87.5 เลือกผู้หญิงที่สวมเสื้อผ้าถอดง่าย
(แต่หากพบผู้หญิงถูกใจแต่สวมเสื้อผ้าที่ต้องใช้เวลาถอดนาน
เขาจะกลับมาดักรอเป็นครั้งที่สองพร้อมกรรไกรหรือคัตเตอร์)
- 84 % เลือกผู้หญิงที่เดินไปด้วยคุยโทรศัพท์ไปด้วย (มือถือสามารถนำไปขายต่อได้)
หรืออ่านการ์ตูน หรือหนังสือ อื่นขณะเดินเพราะไม่ได้ระวังตัว
- 95.90% เลือกผู้หญิงที่เดินทางไปไหนมาไหนเวลากลางคืน
เพราะผู้ชายส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทางเพศครั้งแรกตอนกลางคืน
โดยไม่คำนึงว่าต้องเป็นผู้หญิงสวยหรือหุ่นดี ขอให้มีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็พอ
(มีนักโทษบางขวางคนหนึ่ง ให้ข้อมูลว่า หากเวลานั้นเป็นเวลาที่เขาต้องการปลดปล่อยแล้ว
เขาไม่เลือกว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย วัว ควาย)
- 99% เลือกผู้หญิงที่เดินทางคนเดียว (มีนักโทษบางขวางคนหนึ่ง ทำทีเป็นวินมอเตอร์ไซค์
รับผู้หญิงคนที่ถูกใจจากกลุ่มเพื่อนของเธอที่เดินด้วยกันไปข่มขืน)
- 80% สามารถข่มขืนได้ในการกระทำครั้งแรก โดยใช้อุปกรณ์ที่อยู่ในผู้หญิงนั่นเอง
เป็นอุปกรณ์ช่วยประกอบการกระทำผิด เช่น เข็มขัด ลูกกุญแจ กระจกส่องหน้า
(ต้องทุบให้แตกเป็นแหลมคมก่อน)
- 70% เลิกล้มความตั้งใจหากผู้หญิงคนนั้นจ้องหน้าเขา
แล้วเริ่มต้นสนทนาสั้นๆ กับเขาก่อนขณะที่เขาเข้าประชิดตัว เช่น โทษค่ะ กี่โมงแล้ว

http://www.dek-d.com/content/view.php?id=1554

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550

ไม่ใช่เพราะสิ่งใด


ฉันไม่เชื่อ ว่าด้ายแดงที่ผูกไว้จะทำให้ใครใจตรงกัน
ฉันไม่เชื่อ ว่าศรรักที่ปักไว้จะทำให้ใครคู่กัน
ฉันไม่เชื่อ ว่าพรหมลิขิตจะบัลดาลให้ใครพบกัน
ฉันไม่เชื่อ ว่าด้ายแดง ศรรัก หรือพรหมลิขิต จะทำให้ใครรักกัน
เพราะความรักไม่ได้เกิดจากการบัลดาลของสิ่งอื่นใด
นอกจากการบัลดาลและเลือกที่จะรัก ของเราเอง...

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความชอบพอ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความชอบพอ
1.ความใกล้ชิด
2.คุณสมบัติส่วนบุคคล
3.ความพอใจ
4.ทฤษฏีสมดุล
5.ความคล้ายคลึง

1.ความใกล้ชิด
- ความใกล้ชิดกันมีโอกาสทำให้บุคคลเกิดความชอบพอกันมากกว่าความห่างไกลกัน
- ความคุ้นเคย นำไปสู่ความชอบพอ การพบเห็นกันหน้ากัน มีผลต่อความชอบพอ
- การได้สังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกัน
- การรู้ใจกัน

2.คุณสมบัติส่วนบุคคล
- คุณสมบัติของคนที่เป็นคนที่น่าชอบพอ คือ จริงใจ ซื่อสัตย์ เข้าใจผู้อื่น จงรักภักดี
-คุณสมบัติของคนที่ไม่เป็นคนที่น่าชอบพอ คือ คนโกหก หลอกลวง คดโกง
-ความสวย หล่อ มนุษย์มีแนวโน้มตัดสินคนที่หน้าตาก่อน แต่สำหรับการเกลือคู่แล้ว คุณสมบัติอื่นสำคัญกว่า
คนมักจับคู่กับคนที่มีความสวย หล่อ พอ ๆ กับตนเอง เพราะ กลัวถูกปฏิเสธ
ความสวย หล่อ มักได้รับการมองว่ามีลักษณะอื่น ๆ ดีไปด้วย ทั้งที่ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น

3.ความพอใจ
-ผลแห่งความพอใจ ความพอใจเป็นสิ่งที่เราชอบ ดังนี้ คนที่ทำให้เราพอใจจึงสามารถเป็นคนที่เรา(อาจ)ชอบ
-การย้อนกลับ ถ้าเราทราบว่าเขาชอบเรา เรามีแนวโน้มจะชอบเขาย้อนกลับ มากกว่าไม่ชอบ
-การประจบประแจง ถ้าเราคิดว่าผู้พูด พูดโดยหวังผลประโยชน์ โอกาสชอบบุคคลนั้นจะลดลง

4.ทฤษฏีสมดุล
-คนจะชอบ บุคคลที่มีความคิด ความชอบ ความเชื่อ ความรู้สึกที่ทั้งสอดคล้องและไม่สอดคล้องกันตนได้

5.ความคล้ายคลึง
-ความคล้ายคลึงมีหลายด้าน เช่น ทัศนคติ ความเห็น ความเชื่อ ความสนใจ อาชีพ สถานภาพ อายุ เชื้อชาติ วัฒนธรรม
-ข้อยกเว้นความชอบพอจากความคล้ายคลึง คือ บุคลิกภาพ
-การประกอบสมบูรณ์
ผู้คนมักเลือกผู้มีบุคลิกภาพที่ประกอบสมบูรณ์กับตนเพื่อเป็นเพื่อนหรือคู่ชีวิต เช่น ชายก้าวร้าวมักเลือกคบหญิงที่ไม่ก้าวร้าว หญิงที่ชอบจะเลือกคบชายนักฟัง
-ลักษณะที่ต่างกัน เป็นการเสริมแรงให้กับความต้องการอีกคนหนึ่ง เช่นเป็นคนชอบพูด การมีคนตั้งใจฟัง จะเสริมแรง จึงเกิดความรู้สึกชอบคนนั้นมากยิ่งขึ้น

กลอนซึ้ง ๆ ครั้งที่ ๓


ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้นเกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร
ขอพบพานพิศวาส ไม่คลาดคลา
แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม่เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมปทุมทอง
เจ้าเป็นถ้ำอำไพขอให้พี่
เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
จะติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป
(สุนทรภู่)

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์
สุนทรี (งาม) + ศาสตร์ (วิชา) = วิชาว่าด้วยความงาม มาจากภาษาสันสฤต

ทัศนคติเกี่ยวกับสุนรียศาสตร์
ตาตาร์ กิวิ นักปรัชญาชาวโปแลนด์ กล่าวว่า “ตรรกศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มีความหมายเกี่ยวกับความงาม และการรับรู้”
ค้านท์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน สุนทรียศาสตร์เป็นความรู้ที่เป็นจริงในตัวเอง ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งใด หรือการรับรู้ของผู้ใด แต่สัมพันธ์กับความพึงพอใจ
ซาตายานา นักปรัชญา กล่าวว่าสุนทรียศาสตร์ คือ ศาสตร์แห่งความรู้สึก ทั้งทุกข์และสุข
ทัศนะนี้มีคนยอมรับมาก เพราะไม่ได้เจาะจงอารมณ์ความรู้สึกทางด้านบวกหรือลบแต่อย่างเดียว (แตกต่างจาก ของค้านท์คือ ค้านท์มีแต่อารมณ์ด้านบวก)

สิ่งที่สนุทรียศาตร์ศึกษา
-อะไรคือความงาม
-มันมีค่าในตัวเองหรือมีค่านอกตัวเอง กล่าวคือ หากไม่มีผู้รับรู้มันยังจะมีความงามหรือไม่ ถ้ามีก็หมายความว่ามันมีค่าในตัวเอง
-เกณฑ์ในการตัดสินว่าอะไรคือ “ความงาม”

ประโยชน์ของการศึกษาสุนทรียศาสตร์
-ช่วยให้เห็นคุณค่าของความงาม
-จิตใจละเอียดอ่อนประณีตมากขึ้น
-แก้ไข ปัญหาต่าง ในการดำเดินกิจกรรมทางศิลปะได้

สุนทรียศาสตร์กับศิลปะ
ศิลปะคือส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์
ศิลปะ คือ การสร้างสรรค์จินตนาการของมนุษย์
ประเภทของศิลปะมี 3 ประเภท คือ
1.ทัศนศิลป์ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม
2.จินตนศิลป์ เช่น ดนตรี และวรรณคดี
3.ประยุกต์ศิลป์ เช่น ลีลาศ ละคร ภาพยนตร์

สุนทรียธาตุ สัดส่วนที่ทำให้เกิดความงาม หรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความงาม มีดังนี้
-สัดส่วนถูกต้อง เหมาะสม
-มีความแปลกตา
-คุณค่าของสิ่งต่าง

เกณฑ์ในการตัดสินความงาม
-กลุ่มอัตนัยนิยม เชื่อว่า ความงามเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ดังนี้ เกณฑ์การตัดสินก็คือมนุษย์ ถ้าไม่มีมนุษย์ก็จะไม่มีความงาม
-กลุ่มปรนัยนิยม เชื่อว่า เกณฑ์ตัดสินมีจริง ความงามีจริงอยู่ในตัว ไม่ว่าจะมีมนุษย์หรือไม่ความงามก็ยังคงมีอยู่
นักปรัชญาที่สนับสนุนกลุ่มนี้ เช่น อริสโตเติ้ล เพลโต เป็นต้น
-กลุ่มสัมพันธ์นิยม เชือว่า ความงามขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น วัฒนธรรม สังคม หรือภูมิประเทศ เป็นต้น
-กลุ่มประโยชน์นิยมเชื่อว่า ความงามคือสิ่งที่มีประโยชน์และให้ความสุข

จริยศาสตร์ของค้านท์

จริยศาสตร์ของค้านท์

1.กฎสัมบูรณ์ คือ กฎต้องเป็นกฎ ห้ามยืดหยุ่น
สัมบูรณ์ คือ ความจริงของสิ่ง ๆ หนึ่ง สิ่งนั้นไม่อิงกับสิ่งใด มีความสัมบูรณ์ในตัวของมันเอง มีความแน่นอน

2.จริยธรรม มีความแน่นอน
การใช้เหตุผลช่วยให้เข้าถึงจริยธรรม
ดังนี้ การใช้เหตุผล จึงเป็นการเข้าถึงความสัมบูรณ์
(* ความสัมบูรณ์ มีความแน่นอน จริยธรรมมีความแน่นอน เหตุผลช่วยให้เข้าถึงจริยธรรม)

3.เจตนาดี เท่ากับความดี
เจตนา เท่ากับหน้าที่

4.ลักษณะเจตนาดี (ความดี หน้าที่)
-ไม่มีอารมณ์ความรู้สึก
-ทำไปตามหน้าที่
-ไม่สนใจผลของการกระทำ

5.หน้าที่กับศีลธรรม
มนุษย์มีองค์ประกอบ 2 ส่วน
-อารมณ์ (ความรู้สึก)
-เหตุผล (หน้าที่)

6.การกระทำของมนุษย์มีอยู่ 2 ระดับ
-คำสั่งมีเงื่อนไข คือ ทำสิ่งหนึ่ง ได้ผลสืบเนื่องจากสิ่งที่กระทำ แต่มีเป้าหมายที่ทำ
-คำสั่งเด็ดขาด คือ ทำสิ่งหนึ่ง ได้ผลสืบเนื่องจากสิ่งที่กระทำ แต่ไม่มีเป้าหมายที่ทำ

7.วิจารณ์ริยศาสตร์ของค้านท์
-ไม่ให้ความสำคัญกับความรู้สึก แม้จะเป็นความรู้สึกทางด้านบวก เช่น ความเมตตา ความรัก
-มีความตึงจนเกินไป
-ไม่สนใจผลของการกระทำเลย ซึ่งผลการกระทำบางทีอาจร้ายแรงมาก ๆ ถ้าทำตามหลักของค้านท์
-จริยศาสตร์ของค้านท์ให้คนอยู่เพื่อศีลธรรม ไม่ใช่ความสุข

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

คนที่มีเพียงคนเดียวในโลก


ในโลกนี้ อาจมีผู้หญิงสวย เป็นล้านคน
ในโลกนี้ อาจมีผู้หญิงนิสัยดี เป็นแสนคน
ในโลกนี้ อาจมีผู้หญิงที่ทั้งสวยและนิสัยดี
เป็นหมื่นคน
แต่ในโลกนี้...
มีผู้หญิงที่รักได้เพียงคนเดียว

กลอนซึ้ง ๆ ครั้งที่ ๒


รอ คอยรักมาทักถาม
รอ ยามตามใจใฝ่หา
รอ รักถักทอก่อมา
รอ เพลาพาเหงาคลาย
รอ อุ่นหนุนใจไร้หนาว
รอ คราวร้าวรวดปวดหาย
รอ รักปักร่างสร้างกาย
รอ ด้าย แห่งรัก ถักทอ
(MomMamSan ผู้แต่ง)

สุขนิยม

จริยศาสตร์ คือ สาขาหนึ่งของปรัชญาที่ศึกษาเกี่ยวกับความดี อะไรคือความดี เกณฑ์ในการตัดสินความดี และการใช้ชีวิตอย่างไรคือการใช้ชีวิตที่ดี
ในครั้งนี้จะกล่าวเฉพาะ เรื่อง “การใช้ชีวิตอย่างไรคือการใช้ชีวิตที่ดี” (อุดมคติของชีวิต)
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มสุขนิยม และอสุขนิยม
เช่นกันในครั้งนี้ก็กล่าวเฉพาะกลุ่มสุขนิยม

สุขนิยม ถือว่า ความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์
ซิกมุล ฟรอยด์ นักจิตวิทยาผู้สนับสนุนความเชื่อนี้ กล่าวว่า
“คำถามที่ว่าในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมของมนุษย์นั้นเขามีจุดหมายหรือความตั้งใจอะไรในชีวิต อะไรคือสิ่งซึ่งชีวิตต้องการและปรารถนาที่จะบรรลุถึง ต่อปัญหานี้คำตอบไม่มีอะไรน่าสงสัย มนุษย์แสวงหาความสุข เขาต้องการได้รับความสุขและธำรงมันไว้ การแสวงหานี้มี 2 ด้าน บวกและลบด้านหนึ่งมนุษย์แสวงหาสภาพที่ปราศจากความเจ็บปวดและความทุกข์ อีกด้านหนึ่งเขาแสวงหาความรู้สึกที่เป็นสุขสบาย”
จากคำกล่าวนี้จะเห็นได้ว่า มนุษย์กระทำทุกอย่างก็เพื่อแสวงหา 2 อย่าง
1.การปลอดพ้นจากความทุกข์
2.ความสุข
เบ็นธัม นักปรัชญาชาวอังกฤษผู้สนับสนุนอีกคนกล่าวว่า
“ธรรมชาติได้จัดให้มนุษย์อยู่ภายใต้บงการของนายที่มีอำนาจเต็มสองคน คือ ความเจ็บปวด และความสุขสบาย เพื่อสิ่งทั้งสองนี้เท่านั้นที่เราจะกล่าวได้ว่าอะไรที่เราควรทำ และอะไรที่เราจะทำทั้งหมด ที่เราพูดทั้งหมด สิ่งที่เราคิดทั้งหมด ความพยายามที่เราทำเพื่อจะหลุดจากอำนาจของมันกลับแสดงให้เห็นและยืนยันความมีอยู่ของมัน โดยคำพูดของมนุษย์อาจแสร้างทำเป็นหนีจากอำนาจของมัน แต่โดยความเป็นจริง เขาอยู่ใต้อำนาจของมันตลอดเวลา”
จากคำกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า มนุษย์อยู่ใต้อำนาจของ 2 สิ่งคือ
1.ความเจ็บปวด
2.ความสุขสบาย
และพฤติกรรมที่ทั้งความคิดและการกระทำของเรานั่นแหละ ที่เป็นตัวบ่งชี้ เป็นหลักฐานที่บอกให้ทราบว่าเราทำทุกอย่างเพื่อ 2 สิ่งนี้ หนึ่งเพื่อให้ไม่มีมัน สองคือเพื่อให้มีมัน
ลัทธิจารวากของอินเดีย ให้ความเห็นว่า
“จุดหมายเพียงอย่างเดียวของมนุษย์คือความสุขที่ได้จากความพอใจทางประสาทสัมผัส ท่านไม่ควรกล่าวว่า ความสุขมิใช่จุดหมายเพียงเพราะว่ามีความทุกข์เจือปนอยู่ เราน่าจะฉลาดพอที่จะหาความสุขที่บริสุทธิ์เท่าที่จะมากได้และหลีกเลี่ยงความทุกข์ที่จะตามมา ดุจดังคนที่อยากจะกินปลาก็ต้องนำปลามาทั้งตัวพร้อมทั้งครีบและก้างแล้วเกลือกินส่วนที่พอใจ หรือดุจคนที่อยากกินข้างก็ต้องนำข้างมาทั้งรวงและฟางเลือกสรรส่วนที่กินได้จนพอใจ จงอย่าให้การกลัวความทุกข์มาขัดขวางการหาความสุข ซึ่งสัญชาตญาณบอกเราว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง”
ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การได้มาซึ่งสิ่งที่พอใจบ่อยครั้งก็มีสิ่งที่ไม่พอใจติดมาด้วย ทว่าเพราะเราต้องการความสุข เราจึงพยายามและหาวิธีคัดเอาแต่สิ่งที่พอใจ และขจัดสิ่งที่ไม่พึงพอใจออกไป
กล่าวคือจุดหมายที่แท้จริงของเราคัดเอาความสุข และขจัดความทุกข์ออกไปนั่นเอง
เอพิคคิวรัส นักปรัชญาชาวกรีก กล่าวว่า
“จุดหมายของการกระทำทั้งปวงของเราอยู่ที่การหลุดพ้นจากความทุกข์และความกลัว เมื่อเราได้บรรลุสิ่งนี้แล้วเราก็สบาย ความสุขเป็น ก. ข. ของชีวิตที่สมบุณณ์ ความสุขเป็นสิ่งประเสริฐของเรา
...แต่มิใช่ว่าความสุขอะไรก็ได้ที่เราจะแสวงหา บางทีเราต้องการสิ่งที่ให้ความสุขน้อยกว่าความทุกข์ แต่บางทีเราถือว่าความทุกข์ดีกว่าความสุข ถ้ามีการทุกข์ ๆ สามารถก่อให้เกิดความสุขที่มากกว่าได้ ดังนั้นแม้ว่า ความสุขสบายซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของเราจะเป็นสิ่งดี แต่มิใช่ความสุขทุกอย่างเป็นสิ่งที่ควรแสวงหา...
เราจะต้องรู้จักคิดคำนวณว่าสิ่ง ๆ หนึ่งมันให้ปริมาณความสุขหรือความทุกข์มากกว่ากันในระยะสั้นยาว...”
เราอาจนำคำกล่าวนี้ไปพิจารณากรณีของคนที่เสียสละเพื่อคนอื่นและตัวเองต้องทุกข์ได้ว่า สิ่งที่เขาทำนั้นก็เพราะการเสียสละแม้ให้ความทุกข์แต่เมื่อพ้นมันไปความสุขที่ได้หลังจากนั้นจะมีมหาศาล (ความภูมิใจ)
อิพิวคิวรัส ได้ย้ำกับเราอีกครั้งว่าเราล้วนหนีความทุกข์ และปรารถนความสุข ขณะเดียวกันเราก็สามารถใช้ความทุกข์เป็นเครื่องช่วยเสริมให้ความสุขที่เกิดขึ้นตามมามีปริมาณมากยิ่งขึ้นได้ ในอีกด้านหนึ่งความสุขบางประเภทก็สามารถทำให้ความทุกข์ที่ตามมีปริมาณมากยิ่งขึ้นเช่นกัน

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550

กุหลาบที่มีค่าที่สุดในโลก


เธออาจเป็นดอกกุหลาบที่ไม่สมบูรณ์ทุกกลีบดอก
แต่เพราะ “ความรัก”
ต่อให้รอบ ๆ ตัวเธอรายล้อมด้วยกุหลาบที่พร้อมทุกประการ
ฉันก็จะยังเลือกหยิบเธอขึ้นมา
โดยไม่ลังเล
ไม่ลังเล...
เพราะกุหลาบดอกอื่น แม้จะเหี่ยวเฉาฉันก็ไม่สนใจ
ไม่ลังเล...
เพราะกุหลาบดอกอื่น แม้ใครหยิบไปฉันก็ไม่เสียดาย
แต่สำหรับเธอ...
ฉันเสียใจและเสียดาย
หากมีวันหนึ่งวันใดที่เธอต้องจากไปกับคนอื่น...

ดาวหาง-ใครบางคน


แสงนั่นกรีดผ่านผืนฟ้าในแนวเฉียงแล้วลับหายไปในความมืดของค่ำคืนนี้
มาแล้ว กลับลับหาย
ดาวหางมาเยือนแล้ว กลับลับหาย
ดาวหางที่มาเยือนและลับหายคล้ายคลึงกับใครบางคนนัก

ดาวหางคือ ก้อนน้ำแข็ง ที่ประกอบด้วยก๊าซและฝุ่น ก้อนน้ำแข็งเหล่านี้มีถิ่นกำเนิดอยู่เลย นอกวงโคจรของดาวพลูโตออกไป แถบถิ่นนั้นถูกเรียกว่า หมู่เมฆออร์ต
บางครั้งก้อนน้ำแข็งในแถบนั้นจะถูกแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะดึงดูดให้เข้ามา เมื่อเข้ามาแล้วก้อนน้ำแข็งบางก้อนจะเคลื่อนเข้าหาดวงอาทิตย์ ซึ่งลมสุริยะจากดวงอาทิตย์นี่เองที่ทำให้สสารจาก้อนน้ำแข็งระเหิดออกมาจนเห็นหางยาว
หางของดาวงที่เห็นชัดเจน คือ หางฝุ่นและหางไอออน
หางฝุ่น เกิดจากอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก ที่หลุดออกมาจากหัวของดาวหาง มีลักษณะคล้ายกลุ่มควันดำที่ปล่อยจากรถบรรทุก
หางไอออน มีความยาวมากกว่าหางฝุ่น แต่สว่างน้อยกว่า เกิดจากก๊าซบริเวณหัวของดาวหางสว่างข้น เนื่องจากได้รับพลังงานจากลมสุริยะ
วิถีโคจรของดาวหางมักจะโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีที่รีมาก ๆ การโคจรลักษณะนี้ดาวหางย่อมวนกลับมาอีก แต่...ดาวหางที่มีลักษณะการโคจรเป็นรูปพาลาโบลา หรือไฮเพอร์โบลา การโคจรในสองกรณีนี้ ดาวหางจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์เพียงครั้งเดียว จากนั้นก็จะกลับไปอยู่ในหมู่เมฆออร์ตตามเดิม

แสงนั่นกรีดผ่านผืนฟ้าในแนวเฉียงแล้วลับหายไปนานแล้ว
มาแล้ว และลับหายไปนานแล้ว
ดาวหางที่มาเยือนและลับหาย ทำให้นึกถึงใครบางคนเมื่อแสนนาน
ใครบางคนเมื่อแสนนานก็เช่นดาวหางที่มีวิถีโคจรแบบพาลาโบลา คือผ่านมาเพียงครั้งเดียวแต่จากไปตลอดกาล...
“...ชั่วชีวิตพบกันเพียงครั้ง
หากต้องทรมานจากการคิดถึง
ไม่สู้ไม่เคยพบเลยไม่ดีกว่า...”

กลอนซึ้ง ๆ ครั้งที่ ๑


คืนฝนพรำกลางไพรใจเหน็บหนาว
ฟ้าร้างดาวไร้เดือนเป็นเพื่อนฝัน
กานต์กวีที่เรียงร้อยถ้อยรำพัน
คล้ายโศกศัลย์เศร้าสร้อยในรอยคำ


ริ้วดอกหญ้าแกว่งไกวอาบสายฝน
เบ่งบานตนล้อลองละอองฉ่ำ
ยังจำจดหมดใจในทรงจำ
ห้วงลำนำสวาทรักที่ถักทอ


กระท่อมไพรกลางฝนบนภูเขา
ที่เคยเนาเราสองเป็นห้องหอ
ไยยามนี้เพียงเราที่เฝ้ารอ
จึงอยากขอทวงคำย้ำสัญญา


อย่าลืมเลือนบางใครในไพรถิ่น
อย่าลืมสิ้นรอยรักสิเน่หา
อย่าลืมเลือนรอยคำพร่ำวาจา
อย่าร้างลาโดยมิเอ่ยเฉลยความ


คืนฝนพรำกลางไพรใจเหน็บหนาว
ร้อยเรื่องราวขีดเน้นเป็นคำถาม
สัญญาใจยังมั่นคงไหมนงราม
ฤๅชั่วยามก็ลืมหมดมิจดจำ
(บินเดี่ยวหมื่นลี้ ผู้แต่ง)

สาขาของปรัชญา

ประเภทของปรัชญา แบ่งเป็น 2 สาขาใหญ่ คือ
1.ปรัชญาบริสุทธ์
2.ปรัชญาประยุกต์

ปรัชญาบริสุทธิ์มี 5 สาขา
1.อภิปรัชญา คือ สาขาที่ว่าด้วยการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับความจริงสูงสุด
ก.วัตถุนิยม เป็นกลุ่มที่เชื่อว่าความจริงสูงสุด คือ สสาร หรือพลังงาน
ข.จิตนิยม เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า ความจริงสูงสุด คือ จิต สสารเป็นผลมาจากจิต
ค.ทิวนิยม เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า ความจริงสูงสุดมีทั้งในสสารและจิต

อภิปรัชญายังสามารถแบ่งโดยทั่วไปได้เป็น
ก.ภาวะวิทยา คือ ศึกษาเกี่ยวกับความจริงสากล ความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
ข.เทววิทยา คือ ศึกษาเกี่ยวกับพระเจ้า ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับจักรวาล
ค.จักรวาลวิทยา คือ ศึกษาเกี่ยวกับความจริง บ่อเกิด และโครงสร้างของจักรวาล

2.ญาณวิทยา หรือ ทฤษฏีความรู้
ปรัชญาตะวันตกแบ่งบ่อเกิดความรู้เป็น 3 ทาง คือ
ก. ผัสสาการ คือ ความรู้เกิดจากประสาทสัมผัส
ข. เหตุผล คือ ความรู้เกิดจากคิดตามหลักเหตุผล
ค. อัชญัติญาณ คือ ความรู้เกิดขึ้นในใจโดยตรง เช่น การตรัสรู้ เป็นต้น

ลัทธิความเชื่อเกี่ยวกับราญวิทยา
ก.ลัทธิประสาทสัมผัสนิยม เชื่อว่า ประสาทสัมผัสเป็นมาตการในการตัดสินความจริง
ข.ลัทธิเหตุผลนิยม เชื่อว่า เหตุผลเป็นมาตการในการตัดสินความจริง
ค.ลัทธิอัชญัติญาณนิยม เชื่อว่า อัชญัติญาณเป็นมาตการในการตัดสินความจริง

3.จริยศาสตร์ คือ สาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับความดี
ก. ความดีคืออะไร (ปัญหาเรื่องความมีอยู่ของคุณค่า)
ข.ปัญหาเรื่องเกณฑ์ในการตัดสินความดี
ค.ปัญหาเรื่องอุดมคติของชีวิต การใช้ชีวิตแบบใดคือการใช้ชีวิตที่ดี

4.สนุทรียศาสตร์ คือ สาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับความงาม ศิลปะในธรรมชาติ เป็นต้น
กลุ่มที่ตัดสินความงามในสุนทรียศาสตร์เช่น
ก.กลุ่มอารมณ์นิยม กล่าวว่า ความงามขึ้นอยู่กับอารมณ์
ข.กลุ่มเหตุผล กล่าวว่า ความงามคือการเห็นสิ่งที่ไม่ขัดตา
ค.กลุ่มสร้างสรรค์ กล่าวว่า ความงามเกิดมาจากความสามารถในการสร้างสรรค์

5.ตรรศาสตร์ คือ กฏเกณฑ์การใช้เหตุผล เครื่องมือในการหาคำอธิบายคำตอบอย่างมีเหตุมีผล
มีการเปรียบเปรยว่า คณิตศาสตร์คือเครื่องมือของนักวิทยาศาสตร์เพื่อค้นหาความจริง เช่นใด ตรรกศาสตร์ก็คือเครื่องมือในการค้นหาคำตอบ อธิบายคำตอบของนักปรัชญาเช่นนั้น
ตรรกศาสตร์ไม่ใช่ตัวความจริง แต่คือเครื่องมือในการหาความจริง

ปรัชญาประยุกต์
1.ปรัชญาศาสนา
2.ปรัชญากฎหมาย
3.ปรัชญาการศึกษา
4.ปรัชญาวิทยาศาสตร์
5.ปรัชญาการเมือง
6.ปรัชญาภาษา
7.ปรัชญาจิต
8.ปรัชญาประวัติศาสตร์
9.ปรัชญาคณิตศาสตร์
10.ปรัชญาสังคม